การวิเคราะห์ผลกระทบจากการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาพร้อมระบบแบตเตอรี่ในโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์
คำสำคัญ:
พลังงานทดแทน, พลังงานแสงอาทิตย์, พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา, พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาและแบตเตอรี่บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์ผลกระทบของระบบจำหน่ายแรงดันไฟฟ้าต่ำในการเชื่อมต่อระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ใช้ระบบจำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ในระบบจำหน่าย 24000-416/240 V ขนาดหม้อแปลงไฟฟ้า 2500 kVA มีภาระโหลดแบบกระจายอยู่สามส่วนหลักที่ 85%, 3% และ 12% ตามลำดับ โดยมีความต้องการพลังงานไฟฟ้าในแต่ละวัน (Load Profile) ที่แตกต่างกัน คือโรงงานและสำนักงาน อ้างอิงตามตารางการทำงานในปัจจุบันเพื่อออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา โดยใช้โปรแกรม PVWatts Calculator ในการพยากรณ์กำลังผลิตติดตั้งของระบบ และใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (DIgSILENT PowerFactory) เพื่อจำลองและวิเคราะห์การไหลของระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำ เสถียรภาพแรงดันไฟฟ้า และค่าตัวประกอบกำลังที่ส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้า ตลอดจนพิจารณาศึกษาในกรณีที่มีและไม่มีการติดตั้งแบตเตอรี่ในระบบ สำหรับผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้จะสร้างข้อเสนอแนะที่น่าสนใจต่อการนำไปพิจารณาใช้งานจริงในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจศึกษานำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
References
Greenpeace. Climate system [Internet]. 2021 [cited 2021 Jun 28]. Available from: https://www.greenpeace.org/thailand/explore/%20protect/climate/climate-change/
The Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC). IPCC fifth assessment synthesis report summary for policymakers. 2014. (In Thai).
Energy Policy and Planning Office. Fuel cost [Internet]. 2021 [cited 2021 Jun 28]. Available from: http://www.eppo.go.th/index.php/en/component/k2/item/16150-news-170963
Electricity Generating Authority of Thailand. Maximum electric power demand [Internet]. 2021 [cited 2021 Jun 28]. Available from: https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content
&view=article&id=348&Itemid=116
Energy Policy and Planning Office. Solar radiation maps of Thailand [Internet]. 2021 [cited 2021 Jun 28]. Available from: https://www.dede.go.th/ewt_news.php?nid= 47736&filename=index
Fupol P. A study of electrical losses in distribution system from installing distribution generation [Thesis]. Bangkok, Thailand: Srinakharinwirot University; 2010. (In Thai).
Growatt New Energy Technology Co., LTD. Residential energy storage solution [Internet]. 2020 [cited 2020 Jan 10]. Available from: http://www.ginverter.com/ Residential-storage-solution.html
Wongsawatsuriyha N. Impact of solar photovoltaic rooftop penetration on voltage profiles and power losses in electrical distribution system [Thesis]. Chiang Mai, Thailand: Chiang Mai University; 2018. (In Thai).
Srivorakul T. Impact of grid-connected solar rooftop system on low voltage distribution system [Thesis]. Pathum Tani, Thailand: Rajamangala of Technology Thanyaburi University; 2018. (In Thai).
Suechoey B, Siriporananon S, Boonprasert P. The discharge time analysis of the battery energy storage system to reduce the peak demand. Kasem Bundit Engineering Journal 2021;11:22-37. (In Thai).
Manmit T, Damrongkulkamjorn P. Optimal battery energy storage system for PV grid connector for customer with time-of-use tariff [Thesis]. Bangkok, Thailand: Kasetsart University; 2015. (In Thai).
Thongprasri P. Analysis of the relationship between solar power and rated load for installation of stand-alone PV system [Thesis]. Bangkok, Thailand: Kasetsart University; 2018. (In Thai).
Maeraekache H, Sirisumrannukul S. Impact of high solar rooftop photovoltaic penetrationon voltage and energy loss in distribution systems. In Proceeding of The National and International Graduate Research Conference 2017 (NIGRC2017). Khon Kaen, Thailand: Khon Kaen University; 2017. p. 362-73. (In Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ห้ามนำข้อความทั้งหมดไปตีพิมพ์ซ้ำ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตแล้ว
ความรับผิดชอบ
หากบทความที่ได้รับการตีพิมพ์นั้นเป็นบทความที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นหรือมีความไม่ถูกต้องในเนื้อหาของบทความ ผู้เขียนบทความนั้นต้องเป็นผู้รับผิดชอบ