การประยุกต์ใช้อนุกรมของวอลเตอร์รากับระบบระดับความเสรีหลายขั้นแบบไม่เชิงเส้น

ผู้แต่ง

  • ปริญญา บุญมาเลิศ อาจารย์, สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 1761 ถนนพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
  • ธนู ฉุยฉาย อาจารย์, สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 1761 ถนนพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

คำสำคัญ:

อนุกรมของวอลเตอร์รา, ระดับความเสรีหลายขั้นแบบ, ความถี่ซับฮาโมนิค, ความถี่มูลฐาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธีการใช้อนุกรมของวอลเตอร์รากับระบบระดับความเสรีหลายขั้นแบบไม่เชิงเส้น โดยได้แสดงผลในรูปแบบของเมตริกซ์เพื่อลดความซับซ้อนในการนำเสนอ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนในการใช้อนุกรมของวอลเตอร์รากับระบบระดับความเสรีหลายขั้น ในงานวิจัยนี้ได้แสดงตัวอย่างการประยุกต์ใช้อนุกรมของวอลเตอร์รากับระบบระดับความเสรีสองขั้นที่ไม่เชิงเส้นแบบหนึ่งสัญญาณเข้าหลายสัญญาณออก โดยฟังก์ชันถ่ายโอนอันดับที่หนึ่งและอันดับที่สองที่ได้จากการคำนวณได้นำเสนอในรูปแบบของกราฟ จากกราฟของฟังก์ชันถ่ายโอนอันดับที่สองนำเสนอที่ความถี่ gif.latex?\omega&space;_{r1}=\omega&space;_{r2}  พบว่าความถี่ซับฮาโมนิคที่ความถี่ต่ำกว่าความถี่มูลฐานครึ่งหนึ่ง  ในส่วนของฟังก์ชันถ่ายโอนอันดับที่สามได้นำเสนอฟังก์ชันถ่ายโอนในแนวเส้นทแยงมุมที่ gif.latex?\omega&space;_{r1}=\omega&space;_{r2}=\omega&space;_{r3}  จากกราฟจะสามารถมองเห็นความถี่ซับฮาโมนิคที่ความถี่ต่ำกว่าความถี่มูลฐานโดยมีค่าเป็นหนึ่งในสามของความถี่มูลฐานและพบว่าบางความถี่เข้าไปแทรกแซงความถี่มูลฐานด้วย  ซึ่งความถี่แบบนี้จะไม่สามารถเห็นได้ในฟังก์ชันถ่ายโอนอันดับที่หนึ่ง และในทางปฏิบัติความถี่ซับฮาโมนิค เหล่านี้อาจปรากฏในฟังก์ชันถ่ายโอนที่ได้จากการวัดสัญญาณได้

References

Schetzen M. The Volterra & Wiener theory of nonlinear systems. New York: John Wiley & Sons; 1980.

Boonmalert P, Chouychai T. The first and second order transfer function of hysteresis damping non-linear system. Kasem Bundit Engineering Journal 2019;9(1):152-65.

Boonmalert P, Chouychai T. Nonlinear parameter extraction of SDOF viscous damping system. Kasem Bundit Engineering Journal 2020;10(1):81-92.

Peng Z K, Lang Z Q, Billings S A. Analysis of multi-degree of freedom nonlinear systems using nonlinear output frequency response functions. Research Report. ACSE Research Report 2006; no.927.

Worden K and Tomlinson GR. Nonlinearity in structural dynamics detection, identification and modelling. Florida: CRC Press; 2019.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-24

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)