การอบแห้งดอกบัวด้วยเทคนิคสุญญากาศแบบพัลส์และอินฟราเรดร่วมกับการฝังในซิลิกาทราย

ผู้แต่ง

  • วรวุฒิ มานะงาน นักศึกษา, หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีพลังงาน) สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, 43 ม.6 ต. บางพระ อ. ศรีราชา จ. ชลบุรี 2110
  • กิตติศักดิ์ วิธินันทกิตต์ อาจารย์, หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีพลังงาน) สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, 43 ม.6 ต. บางพระ อ. ศรีราชา จ. ชลบุรี 2110

คำสำคัญ:

Specific energy consumption, Water lily, Pulsed vacuum, Infrared

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการอบแห้งดอกบัวอุบลชาติยืนต้น (พิ้ง บิวตี้) ด้วยเทคนิคสุญญากาศแบบพัลส์และอินฟราเรดร่วมกับการฝังดอกบัวในซิลิกาทราย ที่อุณหภูมิอบแห้ง 40°C ความดันสัมบูรณ์ 5 และ 15 kPa และอัตราส่วนพัลส์ 12:2 และ 15:4 เพื่อศึกษาจลนพลศาสตร์การอบแห้ง ความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะ และความแตกต่างของสีดอกบัวก่อนและหลังอบแห้ง จากการศึกษาพบว่า เมื่อความดันสัมบูรณ์ในห้องอบแห้งลดลงจาก 15 kPa เป็น 5 kPa และอัตราส่วนพัลส์ลดลงจาก 12:2 เป็น 15:4 ส่งผลให้ความชื้นของดอกบัวลดลงได้เร็วขึ้น ทำให้ใช้เวลาในการอบแห้งน้อยลง และการลดความดันสมบูรณ์ในห้องอบแห้งจาก 15 kPa เป็น 5 kPa มีแนวโน้มทำให้ความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะและความแตกต่างของสีดอกบัวก่อนและหลังอบแห้งลดลง นอกจากนี้การอบแห้งด้วยเทคนิคสุญญากาศแบบพัลส์ที่ความดันสัมบูรณ์ 5 kPa อัตราส่วนพัลส์ 15:4 ใช้เวลาในการอบแห้งน้อยที่สุด 8 ชั่วโมง ความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะต่ำที่สุด 0.74 MJ/gwater evap. และมีความแตกต่างของสีดอกบัวก่อนและหลังอบแห้งน้อยที่สุด (gif.latex?\DeltaE=2.68)

References

Kitsanachandee R. Comparison of hardy waterlily cultivars and new hybrid lines in 3 seasons. Agricultural Science Journal 2016;47(2)(Suppl.):321-4. (In Thai)

Sriyong M, Buanong M, Chansilpa N, AkaraKhunthon P, Wongs-Aree C. Petal quality of Mangkala Ubon waterlily dried by microwave combined with silica gel embedding. Academic Conference of the 9th Development of the Lotus into the Economic Crop; 2011 December 21-23; Chiangmai, Thailand; 2011. p. 28-33. (In Thai)

Chantasang K, Sitranon J, Jaekhom S, Saeyang N, Witinantakit K. Kinetics of water lily drying using vacuum-infrared techniques and desiccant. Proceeding of the 8th Conference National University Chombueng Research; 2020 March 01; Ratchaburi, Thailand; 2020. p. 1800-9. (In Thai)

Luampon R, Supakarn S, Theerakulisut S. Heat and moisture transfer equations for a vacuum drying. KKU Research Journal 2016;16(2):1-14. (In Thai)

Jaekhom S, Witinantakit K. Mathematical modeling of combined infrared and vacuum drying of galangals. Kasem Bundit Engineering Journal 2019;9(3):29-43. (In Thai)

Keeratiyadathanapat N, Toomthong P. Hang-rice drying using infrared vacuum technique. Proceeding of National Academic Conference Innovation and Technology; 2017 December 25-10; Surin, Thailand; 2017. p. 983-6. (In Thai)

Rungsawang S, Jaekhom S, Uengkimbuan N, Witinantakit K. Shiitake mushroom drying using vacuum and infrared radiation technique. Proceedings of the 12th Conference on Energy Network of Thailand; 2016 June 8-10; Phitsanulok, Thailand; 2016. p. 1591-6. (In Thai)

Chang C, Hongwei X, Weipeng Z, Zhenjiang G, Zhian Z, Zhongli P. Pulsed vacuum drying (PVD) technology improves drying efficiency and quality of Poria cubes. Drying Technology Journal 2018;36(8):908-21.

AOAC (Association of Official Analytical Chemists). Official Methods of Analysis. 17th ed. Association of Official Analytical Chemists. Maryland: Gaithersburg; 2000.

Tirawanichakul S, Chanchiew S, Tirawanichakul Y. Pennywort drying using infrared radiation drying kinetics, energy consumption and quality aspect. KKU Research Journal 2013;18(2):311-24. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)