การพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์สำหรับการศึกษาระบบแถวคอยบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสะพานตากสินด้วยโปรแกรม PTV Viswalk
คำสำคัญ:
Pedestrian, PTV Viswalk, Queuing, Simulationบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมแถวคอยของผู้ใช้บริการ ณ จุดให้บริการ และวิเคราะห์ปัญหาของระบบการให้บริการบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสะพานตากสิน ด้วยวิธีการสร้างแบบจำลองสถานการณ์ในโปรแกรม PTV Viswalk จากกรณีศึกษาดังกล่าว จุดวิกฤตของการให้บริการ คือ ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารและแลกเหรียญ (Ticket Office) และเครื่องจำหน่ายตัวอัตโนมัติชนิดไม่รับธนบัตร (Ticket Issuing Machine: TIM) ด้วยข้อจำกัดด้านพื้นที่ของสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสะพานตากสินที่มีลักษณะโครงสร้างอาคารแตกต่างจากสถานีทั่วไป การวิจัยจึงได้จำลองสถานการณ์ 2 รูปแบบ เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม โดยงานวิจัยได้ทำการเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์จากแบบจำลองสถานการณ์รูปแบบปัจจุบัน เปรียบเทียบกับรูปแบบที่ 1 และรูปแบบที่ 2 และทำการวัดผลโดยใช้ตัวชี้วัด คือ ผลรวมของเวลาในแถวคอยเฉลี่ย ณ จุดให้บริการ และผลรวมความยาวของแถวคอยเฉลี่ย ณ จุดให้บริการ จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า แบบจำลองสถานการณ์รูปแบบที่ 1 ซึ่งมีแนวทางการปรุบปรุง คือ การเพิ่มจุดให้บริการห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารและแลกเหรียญ (Ticket Office) จำนวน 1 ห้อง และเพิ่มตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติชนิดรับธนบัตร (TVM) จำนวน 2 เครื่อง ทั้ง 2 ฝั่ง ทางเข้าและออก 1-2 และทางเข้าและออก 3-4 มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการปรับปรุงระบบแถวคอยบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสะพานตากสิน ซึ่งมีเวลาในแถวคอยเฉลี่ยน้อยที่สุด มีค่าเท่ากับ 25.54 วินาที และความยาวของแถวคอยเฉลี่ยน้อยที่สุด มีค่าเท่ากับ 0.53 คน
References
Warasak M. Simulation. Bangkok, Thailand: Chulalongkorn University Publishing; 2007. (In Thai).
Kloamjit P, Thongsanit D. Basic simulation. 2nd ed. Bangkok, Thailand: Chulalongkorn University Publishing; 2011. (In Thai).
Helbing D, Molnar P. Social force model for pedestrian dynamics. Physical Review E 1995;51:4282-6.
Jaruensiriwatin T. Queue simulation program [dissertation]. Nakhon Si Thammarat: Walailak University; 2002. (In Thai).
Warasak M. Operations research. Bangkok, Thailand: Chulalongkorn University Publishing; 2009. (In Thai).
Tanaboriboon Y, Guyano JA. Analysis of pedestrian movements in bangkok. Transportation Research Record 1991;1294:52-6.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ห้ามนำข้อความทั้งหมดไปตีพิมพ์ซ้ำ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตแล้ว
ความรับผิดชอบ
หากบทความที่ได้รับการตีพิมพ์นั้นเป็นบทความที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นหรือมีความไม่ถูกต้องในเนื้อหาของบทความ ผู้เขียนบทความนั้นต้องเป็นผู้รับผิดชอบ