การวิจัยการอบแห่งเปลือกมังคุดโดยใช้อากาศร้อนเวียนกลับ

Main Article Content

สุรพงษ์ โซ่ทอง
ไกรสร รวยป้อม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออบแห่งเปลือกมังคุดด้วยเทคนิคฟลูอิไดซ์เบด โดยใช้อากาศร้อนเวียนกลับ ในการอบแห่งที่อุณหภูมิ 60, 70 และ 80 องศาเซลเซียส ที่ความสูงของเบด 0.15 เมตร ความเร็วของอากาศ ร้อน 3.54, 3.91 และ 4.03 เมตรต่อวินาทีใช้ระยะเวลาในการอบแห่ง 40, 35 และ 30 นาที ตามลําดับ  จาก ผลการศึกษาพบว่าที่อุณหภูมิอบแห่ง 60, 70 และ 80 องศาเซลเซียส สามารถลดความชื้นของเปลือกมังคุด จาก 75เปอร์เซ็นต์ (มาตรฐานเปียก) ลงเหลือ 15.67, 14.70 และ 13.58 เปอร์เซ็นต์ (มาตรฐานเปียก) ตามลําดับในด้านสัดส่วนที่อากาศร้อนเวียนกลับเท่ากับ 70.89, 69.55 และ 70.23 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับเมื่อ พิจารณาอัตราการระเหยน้ําจะมีค่าเพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าพบว่าที่อุณหภูมิ อบแห่ง 80 องศาเซลเซียส มีค่าสูงสุดคือ 11 กิโลวัตต์ชั่วโมงที่ 70 องศาเซลเซียส มีค่า 10.76 กิโลวัตตชั่วโมง และ 60 องศาเซลเซียส มีค่าต่ําสุดคือ 10.55 กิโลวัตต์ชั่วโมงส่วนค่าการใช้พลังงานรวม พบว่าที่อุณหภูมิ อบแห่ง 80 องศาเซลเซียส มีค่าสูงสุดคือ 39.60 เมกกะจูลต่อชั่วโมง ที่ 70 องศาเซลเซียส มีค่า 38.74 เมกกะจูลต่อชั่วโมง และ60องศาเซลเซียส มีค่าต่ําสุดคือ 37.98 เมกกะจูลต่อชั่วโมง พลังงานจําเพาะของการอบแห่งมีค่า ลดลงตามอุณหภูมิการอบแห่งที่เพิ่มสูงขึ้น โดยมีค่าเท่ากับ 12.62, 10.97 และ 9.47 เมกกะจูลต่อกิโลกรัม-น้ํา ที่การอบแห่งที่อุณหภูมิ 60, 70 และ 80 องศาเซลเซียส ตามลําดับ เครื่องอบแห่งเปลือกมังคุดด้วยเทคนิค ฟลูอิไดซ์เบด โดยใช้อากาศร้อนเวียนกลับมีต้นทุนการสร้างประมาณ 100,000 บาท จุดคุ้มทุนในการทํางานอยู่ที่ 2 เดือน

Article Details

How to Cite
[1]
โซ่ทอง ส. และ รวยป้อม ไ., “การวิจัยการอบแห่งเปลือกมังคุดโดยใช้อากาศร้อนเวียนกลับ”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 6, ฉบับที่ 2, น. 197–213, ม.ค. 2017.
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สุรพงษ์ โซ่ทอง

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร  มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

ไกรสร รวยป้อม

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร  มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก