แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนโดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษา สามพันโบก อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผลการศึกษาในส่วนที่ 1 ขั้นที่ 1 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 26-35 ปี ส่วนมากมีสถานภาพสมรส การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว ค้าขาย มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-20,000 บาท โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีภูมิลำ เนาอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พบว่านักท่องเที่ยวใช้เวลาในการท่องเที่ยว 1 วัน ส่วนใหญ่เดินทางท่องเที่ยวกับกลุ่มเพื่อน โดยใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทาง ซึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบมากที่สุด คือ สามพันโบก รองลงมา คือ หาดหงส์ ผาวัดใจ หาดสลึงปากบ้อง และลานหินสี ตามลำดับ นักท่องเที่ยวรับทราบข้อมูลการท่องเที่ยวจาก เพื่อน ญาติ สิ่งดึงดูดใจ ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว คือ ความสวยงามและโดดเด่นของสถานที่ท่องเที่ยวด้านความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจ ด้านคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านสถานที่บริการนักท่องเที่ยว ด้านค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว และด้านส่งเสริมประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ด้านความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่สามพันโบก อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ภาพรวม พบว่านักท่องเที่ยว มีความต้องการให้พัฒนาปัจจัยด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวมากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและปัจจัยด้านสิ่งดึงดูดใจ ขั้นที่ 2 การประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศพื้นที่สามพันโบก อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี โดยประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชนในพื้นที่ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 361 ตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 37-55 ปี สำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพเกษตรกร การประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศพบว่า โดยรวมมีศักยภาพต่อการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านองค์ประกอบด้านพื้นที่มีศักยภาพมากที่สุด รองลงมาองค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมด้านการจัดการ และด้านกิจกรรมและกระบวนการ
ส่วนที่ 2 จัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวทั้งทางด้านธรรมชาติและด้านวัฒนธรรมบริเวณแหล่งท่องเที่ยวสามพันโบก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ผลทางสถิติ ได้แก ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการพัฒนาระบบออกแบบโดยใช้ Google Map API โดยกำหนดส่วนการใช้งานออกเป็น 3 ส่วน คือ ผู้ดูแลระบบ สมาชิก และผู้ใช้งานทั่วไป จากการทดลองใช้ในกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด 65 คน พบว่า มีความพึงพอใจในการใช้งานระบบโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง
ส่วนที่ 3 ศึกษาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่สามพันโบก อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี โดยการจัดเวทีประชาคมในระดับชุมชน ระดมความคิดจากตัวแทนจากภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) ในการกำหนดแนวทางร่วมกันในการพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน ได้ข้อสรุปดังนี้ ภาครัฐ ควรพัฒนาเส้นทางคมนาคมเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวให้สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาคเอกชน ควรจัดให้มีกระบวนการจัดการให้เกิดความสมดุลระหว่างความสามารถในการรองรับของพื้นที่กับปริมาณนักท่องเที่ยว ภาคประชาชน ชุมชน และส่วนที่เกี่ยวข้องควรมีส่วนร่วมในโครงการสงวนรักษา ฟื้นฟู ควบคุมดูแลทรัพยากรในระบบนิเวศให้คงสภาพไว้ให้ดีที่สุด
A Sustainable Participated Ecotourism Development Guidelines by Using Application of Geographic Information System Case Study Sampanboak Amphoe Pho Sai Ubon Ratchathani
The purposes of this study are for studying the guideline to a sustainable participated ecotourism development guidelines by using application of geographic information system case study Sampanboak Amphoe Pho Sai, Ubon Ratchathani. The study were scoped to three parts as follows : Step 1 Evaluate the available ecological travel location in the area of Sampanbok, Amphoe Phosai, Ubon Ratchathani. This evaluation is divided into two steps as follows : 1. Study the satisfaction of the tourist about quality, location, price and travel promotion information. 2. Study the demand of the tourist concerned with ecological travel development upon the three factors of travel location which are the attraction, the comfortable, the arrival. The prospect sample tourists are 400. Step 2 The evaluation of available ecological location which is co-operated from the 361 samples in Amphoe Phosai, Ubon Ratchathani. The study includes the location, the management, the activity, and the participle procedure. The result of the first step in the first part was found that the most of the samples are males, aged between 26-35 yrs., marital status, bachelor degree graduated, most of them are privacy businessmen and merchants, the average incomes are between 10,000-20,000 bht. The questionnaire testers are mostly in the northeastern part. The most behavior of the ecological tourists take one night tour. The most of them take a trip with their friends and travel by their own car. The popular place is Sampanbok, the second ones are Hong Beach, Watjai Cliff, Salung Beach, Pakbong, and Hinsi Field respectively. The tourists get information from their friends and the relatives. The attraction which interested the tourists are the beauty and outstanding point of the place. The satisfaction of the tourists about ecological travel is found that the most are satisfy with the quality of the place, the second ones are the service area, the travelling expense, and the travel promotion information. The important demand for Sampanbok travel developments are the way to the place and the second ones are luxurious and the attractive point. From the second step, the evaluation of the ecological travel, Sampanbok, Amphoe Phosai, Ubon Ratchathani is from 361 samples the in both government and privacy area. It is found that the most of the questionnaire testers are male aged 37-55 yrs., primary education, agriculture career. The development are moderate. The most development is the location. The second one is the participle in management and activity procedure.
Part 2 Run the data about geographical information both natural travel and cultural one in Sampanbok. The data is from the questionnaire and status analysis from average, standard deviation in develop design. The design is from Google Map API, this is divided into three parts :- the system supervisor, members and the general workers. From the test of 65 samples, the satisfaction in system is moderate.
Part 3 Study the guideline in promote and develop the ecological travel locations in Sampanbok, Amphoe Phosai, Ubon Ratchathani. The management is to discuss among the representatives from government, public and concerned people in SWOT Analysis. The guideline is to develop the ecological travel locations. The conclusions are develop the efficiency road to connect all the travel locations, build enough staying places to serve the tourists. The government and public work together to the best preservation and revolution the natural resource.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ท้ังในรูปแบบของรูปเล่มและอิเล็กทรอนิกส์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ