การออกแบบและพัฒนาเศษหนังเทียมเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก

Main Article Content

ชัยรัตน์ พิมพบุตร

บทคัดย่อ

งานออกแบบผลิตภัณฑ์จากเศษหนังเทียมจำนวนมากในปัจจุบัน มีการพัฒนาทั้งทางด้านวัสดุ กรรมวิธีการผลิต รูปแบบและลวดลายมาทุกยุคทุกสมัย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละยุคจากรูปแบบผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องใช้ทั่วไปกลายเป็นเครื่องใช้ภายในบ้านที่มีความเหมาะสมสวยงาม แต่ทั้งนี้ก็ยังพบปัญหาทางด้านการใช้วัสดุ กรรมวิธีการผลิต รูปแบบ และลวดลายที่ตรงกับความต้องการในการใช้สอยของผู้บริโภค ดังนั้นการออกแบบผลิตภัณฑ์จากจากเศษหนังเทียมจึงมีวัตถุประสงค์อยู่ 3 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของหนังเทียมเพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากเศษหนังเทียม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจจากรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้ออกแบบไว้

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนางานออกแบบจากวัสดุสังเคราะห์หนังเทียม จำนวน 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้ประกอบการที่ผลิตให้เกิดเศษวัสดุหนังเทียม 2) กลุ่มผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ทำจากหนังเทียมทั้งหมดและผลิตภัณฑ์หนังเทียมที่ร่วมกับวัสดุอื่น 3) กลุ่มผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์จากวัสดุหนังเทียม ซึ่งผลการวิจัยในครั้งนี้แบ่งการสรุปผลออกเป็น 3 ส่วนสำคัญ ดังนี้ 1) ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากแหล่งที่มาของเศษวัสดุหนังเทียม และจำแนกตามลักษณะตามกิจการของผู้ประกอบการนั้น ๆ 2) การศึกษารูปแบบ ลวดลาย กรรมวิธีการผลิตงานผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุหนังเทียม พบว่าทางด้านรูปแบบ ลวดลาย และกรรมวิธีการผลิตมีจุดเด่นและมีรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันตามทางกายภาพและความจำเพาะตามลักษณะของประเภทหนังเทียมแต่ละชนิด แม้ว่าจะมีการปรับปรุงให้มีความสอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร 3) การนำงานออกแบบผลิตภัณฑ์จากวัสดุสังเคราะห์หนังเทียม มาพัฒนาเป็นของที่ระลึก พบว่า ในการออกแบบควรมีการศึกษากลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนและเลือกวัสดุ กรรมวิธีการผลิตให้เหมาะสมกับรูปแบบ ส่วนกรรมวิธีการผลิตเศษหนังเทียมให้สามารถนำมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ได้นั้นสามารถทำได้หลากหลาย แต่ก็สามารถที่จะสรุปได้ว่าประเภทใดเหมาะกับผลิตภัณฑ์ชนิดใด และจากการวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือประกอบการวิจัยในครั้งนี้ก็คือการเย็บ ส่วนวัสดุอย่างอื่นที่นำมาผสมผสาน เพื่อให้เกิดการลงตัวก็มีขอบเขตของการศึกษาและแนวทางร่วมในการสร้างผลิตภัณฑ์ให้เกิดคุณค่า ความน่าสนใจ มีจุดเด่น และสามารถนำผลิตภัณฑ์ที่ได้มาพัฒนาและสามารถเผยแพร่สู่ชุมชนและสังคมเพื่อให้เกิดรายได้อีกทางด้วย

 

Design and Development of Scrap Leather to Product Design Souvenirs

Most of scrap synthetic leather product design works nowadays have developed in many aspects including materials, manufacturing processes, patterns and design from the past to present. The development of works is to fulfill consumer’s needs in each period of time from general appliances to elegant and suitable home appliances. However, designer still face with many problems with materials, manufacturing processes, patterns and design which meet the consumer’s need. Therefore, this research has 3 objectives including 1) studying physical properties of synthetic leather for a purpose of product designing, 2) developing pattern and design of product from synthetic leather and 3) evaluation consumer’s satisfaction in pattern of designed product.

In this research, researcher selected 3 respondents from stakeholder in synthetic leather value chain including 1) scrap producer, 2) merchandisers who sell both one hundred percent synthetic leather products and mix synthetic leather with other materials products, and 3) end users. Results from this research could be summarized to 3 parts including 1) studied and collected information of materials sources and categorized by business type of the sources, 2) the result from studying patterns, designs and manufacturing processes of scrap synthetic leather revealed that all above factors had their own prominent points and various patterns as their physical properties and characteristics of each type of synthetic leather. Although we tried to improve its characteristics to conform with the present circumstance, but it was still not good enough, 3) the result from development of scrap synthetic leather for Souvenir revealed that designing process should be improved by understanding end users as well and matching materials and manufacturing processes with patterns and designs. Moreover, there were a lot of suitable manufacturing processes for scrap synthetic leather but in this research we recommended sawing process. Finally, other materials which be integrated in the design have a limitation but could be further development for reveal to community for increase their income also.

Article Details

How to Cite
[1]
พิมพบุตร ช., “การออกแบบและพัฒนาเศษหนังเทียมเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 5, ฉบับที่ 1, น. 183–192, มิ.ย. 2016.
บท
บทความวิจัย