การพัฒนาชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบแข่งขันเป็นทีม (TGT) เรื่อง เลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

พัฒนพงศ์ สมคะเน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบแข่งขันเป็นทีม (TGT) เรื่อง เลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1 / E2ที่กำหนดไว้ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองที่สอนโดยใช้ชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบแข่งขันเป็นทีม (TGT) เรื่อง เลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับกลุ่มควบคุมที่สอนโดยวิธีการสอนแบบปกติ 3) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่สอนโดยใช้ชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบแข่งขันเป็นทีม (TGT) เรื่อง เลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และกลุ่มควบคุมที่สอนโดยวิธีการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/8 และ 1/9 โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 100 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่ม แบบกลุ่ม แบบแผนในการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ Randomized Control Group Pretest Posttest Design ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 14 ชั่วโมง ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบแข่งขันเป็นทีม (TGT) เรื่อง เลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.44/81.80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบแข่งขันเป็นทีม (TGT) เรื่อง เลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปรที่ 1 สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) เจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบแข่งขันเป็นทีม (TGT) เรื่อง เลขยกกำลัง สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

Development of the Mathematics Package on the Exponent Focusing on a Cooperative Learning Process of Team–Games–Tournament Technique (TGT) for Matthayom Suksa One Students

The research aimed to 1) to develop the mathematics package on the exponent focusing on a cooperative learning process of TGT technique for Matthayom Suksa one (Grade 7) according to an 80/80 criterion, 2) to compare a post-learning achievement of the experimental group taught by the package focusing on a cooperative learning process of TGT technique and of the control group taught by a normal teaching method, 3) to study the attitude towards mathematics learning of the experimental group and the control group. The samples used in the research consisted of 100 Matthayom Suksa one (Grade 7) students of Benjamamaharat School in the first semester of the academic year 2013, obtained by a cluster sampling. The research duration was 14 hours. The research findings were as follows. 1) The efficiency of the mathematics package on the exponent focusing on a cooperative learning process called TGT technique for Matthayom Suksa one students was equivalent to 81.44/81.80. 2) A post-learning achievement of the experimental group who learned by the mathematics package based on TGT technique was higher than that of the control group who learned by a conventional teaching method with a statistical significance of .01. 3) The attitude towards mathematics learning of the experimental group who learned by the mathematics package based on TGT technique was higher than that of the control group who learned by a traditional teaching method with a statistical significance of .01.

Article Details

How to Cite
[1]
สมคะเน พ., “การพัฒนาชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบแข่งขันเป็นทีม (TGT) เรื่อง เลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 5, ฉบับที่ 1, น. 113–123, มิ.ย. 2016.
บท
บทความวิจัย