การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้น

Main Article Content

สมประสงค์ วังหอม
ชาญชัย สุกใส

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนและ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/12 โรงเรียนมัธยมตระการพืชผล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 46 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้น เป็นข้อสอบแบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.34 ถึง 0.36 และค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.66 ถึง 0.72 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.89 และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องระบบสมการเชิงเส้น เป็นข้อสอบแบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อค่าความยากตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.71 และค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.69 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบทีแบบกลุ่มสัมพันธ์ พบว่า 1) ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องระบบสมการเชิงเส้น ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

The Effects of Problem – Based Learning on Mattayomsuksa Thee Students’ Mathematical Reasoning Ability in the Mathematical Linear System

The research aimed to compare Mattayomsuksa 3 students’ (Grade 9) mathematical reasoning ability by using the problem-based learning and to compare the learning achievement of the students who received a problem-based learning. The samples in the research, selected by a cluster random sampling, are 46 students Mattayom3/12of Mattayomtrakanphuetphon School affiliated to the Secondary Educational Service Area 29 in the first semester of the academic year 2014. The research instruments consisted of 1) a problem-based lesson plan on the linear equation system; 2) a subjective test of five items on the students’ the mathematical reasoning ability, having a difficulty value ranging from 0.34 to 0.36, a discrimination value ranging from 0.66 to 0.72 and a confidence value being 0.89; 3) a multiple- choice achievement test of 30 items with a difficulty value from 0.22 to 0.71, a discrimination value from 0.21 to 0.69 and a confidence value equivalent to 0.87. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation and dependent sample t-test. The research findings were as follows. 1) The reasoning ability of the students who studied the linear equation system through the problem-based learning activities was higher than before their learning with a statistical significance of .01.and 2) The learning achievement of the students who studied the linear equation system through the problem-based learning activities was higher than before with a statistical significance of .01.

Article Details

How to Cite
[1]
วังหอม ส. และ สุกใส ช., “การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้น”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 5, ฉบับที่ 1, น. 103–112, มิ.ย. 2016.
บท
บทความวิจัย