การออกแบบและสร้างเครื่องยิงลูกฟุตบอลเพื่อการฝึกซ้อมแบบอัตโนมัติที่ควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์

Main Article Content

อนุชา ดีผาง
ชัยพร อัดโดดดร
วิชาญ ศรีสุวรรณ์

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการออกแบบและสร้างเครื่องยิงลูกฟุตบอลโดยอาศัยทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ โดยฟุตบอลเป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่รู้จักกันดี ได้รับความนิยมสูงที่สุดและแพร่หลายมากที่สุดในโลก ซึ่งนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้กับเครื่องยิงลูกฟุตบอล เพื่อแก้ไขปัญหาการฝึกซ้อมโดยไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากกีฬาฟุตบอลเป็นกีฬาที่ต้องฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาทักษะจึงต้องใช้อุปกรณ์ช่วยในการฝึกซ้อมซึ่งมีราคาที่สูง ส่งผลให้ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อจัดซื้อ งานวิจัยนี้จึงคิดค้นเครื่องยิงลูกฟุตบอลสำหรับการฝึกซ้อมที่มีราคาไม่สูงมากนัก พร้อมทั้งยังมีระบบต่าง ๆ แต่ละส่วนทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป เช่น ระบบควบคุมความเร็วสามารถปรับความเร็วได้ 5 ระดับ ระบบควบคุมองศาการยิงสามารถปรับได้ตั้งแต่ 15 ถึง 55 องศา และระบบลำเลียงลูกฟุตบอลส่งไปยังมอเตอร์ยิง การควบคุมทั้งหมดเกี่ยวกับการยิงลูกฟุตบอลจะดำเนินการผ่านไมโครคอนโทรลเลอร์ และยังเป็นตัวอย่างในการคิดค้นอุปกรณ์อำนวยความสะดวก โดยนำความรู้ด้านวิศวกรรมไฟฟ้ามาประยุกต์ใช้ในกีฬาฟุตบอล จากการทดสอบ จะพบว่า ความเร็วเฉลี่ยสูงสุดที่มุมยิง 30 องศา จะมีความเร็วเฉลี่ยประมาณ 32.05 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และที่มุมยิง 55 องศา จะมีระยะทางที่ยิงได้ไกลที่สุดเฉลี่ยประมาณ 14.88 เมตร ทำให้อำนวยความสะดวก สบายในการฝึกซ้อมและยังเพิ่มศักยภาพและทักษะในด้านการเล่นฟุตบอลให้กับผู้ฝึกฝนได้เป็นอย่างมากอีกด้วย

Article Details

How to Cite
[1]
ดีผาง อ., อัดโดดดร ช., และ ศรีสุวรรณ์ ว., “การออกแบบและสร้างเครื่องยิงลูกฟุตบอลเพื่อการฝึกซ้อมแบบอัตโนมัติที่ควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 14, ฉบับที่ 2, น. 43–56, ก.ย. 2024.
บท
บทความวิจัย

References

C. Arslan, M Arslan, G. Yalçın, T. Kaplan and H. Kahramanlı, “Ball Throwing Machine Design to Develop Footballers’Technical Attributes,” European Mechanical Science, vol. 5, no. 1, pp. 39–43, Mar. 2021, doi: 10.26701/ems.777400.

V. Gautam, J. Wankhade, S. Wakshe, P. Pawar and P. Sawai, “Cost Effective and Long Range Football Launcher,” International Journal of Innovative Research in Science, Engineering and Technology, vol. 9, no. 5, pp. 3013–3017, May. 2020.

A. Marquette, “Design and Construction of an Omni-Directional Soccer Ball Thrower,” M.S. thesis, Dept. Mechanical & Aerospace Eng., Utah State University, Logan, UT, USA, 2013.

A. Prashant, D. Pachchinavar, M. Uddin, S. Shabber, M. Khaleel and M. Haq, “Fabrication of Foot Ball Launcher Machine,” International Journal of Scientific Research & Engineering Trends, vol. 6, no. 3, pp. 1736–1742, Jun. 2020.

U. Aravind and A. Sathiyaseelan, “Design and Fabrication of Soccer Shooting Machine,” International Research Journal of Engineering and Technology, vol. 8, no. 7, pp. 2996–2999, Jul, 2021.

M. Hassan, Z. Taha, M. Hanafiah and L. Wee, “Development of a Soccer Ball Launching Device,” in Intelligent Manufacturing & Mechatronics: Proceedings of Symposium, Pahang, Malaysia, Jan. 29, 2018, pp. 591–598.

A. Deephang and C. Addoddorn, “The Design and Construction of Automated 3 Speed Level Solar Panel Cleaning Machine Controlled by Microcontroller,” Journal of Energy and Environment Technology, vol. 9, no. 1, pp. 56–69, Jan. – Jun. 2022. (in Thai)

N. Hyamwilai, L. Panyakaew and K. Rangubhet, “Innovation model of Volleyball Shooting Machine,” PTU Journal of Science and Technology, vol. 2, no. 2, pp. 9–21, Dec, 2021. (in Thai)