การพัฒนาระบบการสร้างความรู้แบบ SECI Model บนสภาพแวดล้อม แบบ U-Learning

Main Article Content

ภาณุพงศ์ บุญรมย์

บทคัดย่อ

 


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบการสร้างความรู้แบบ SECI Model บนสภาพแวดล้อมแบบ U-Learning 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของระบบที่พัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญ 3) เพื่อหาประสิทธิภาพของระบบที่พัฒนาขึ้น ตามเกณฑ์มาตรฐานของเมกุยแกนส์ 4) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบการสร้างความรู้แบบ SECI Model 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบการสร้างความรู้แบบ SECI Model ขอบเขตการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และ 2) ผู้เรียนกลุ่มทดลอง เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาระบบฐานข้อมูลทางธุรกิจ ในภาคเรียนที่ 2/58 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ระบบการสร้างความรู้แบบ SECI Model แบบสอบถามประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ t-test Dependent ผลการวิจัยพบว่า ระบบการสร้างความรู้แบบ SECI Model ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบคือ 1) กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2)กระบวนการเผยแพร่ความรู้ 3) กระบวนการเก็บรวบรวมความรู้ และ 4) กระบวนการนำความรู้มาปฏิบัติ ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบการสร้างความรู้แบบ SECI Model โดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมาก ระบบการสร้างความรู้แบบ SECI Model ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของเมกุยแกนส์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนกลุ่มทดลองคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 ความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบการสร้างความรู้แบบ SECI Model ที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
[1]
บุญรมย์ ภ., “การพัฒนาระบบการสร้างความรู้แบบ SECI Model บนสภาพแวดล้อม แบบ U-Learning”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 7, ฉบับที่ 2, น. 216–233, ธ.ค. 2017.
บท
บทความวิจัย