ประเด็นความไม่ปลอดภัยที่พบบ่อยบริเวณทางแยกอันตรายในประเทศไทย

Main Article Content

ภาณุพงศ์ นาสุริวงศ์
กริสน์ ชัยมูล
วิชุดา เสถียรนาม

บทคัดย่อ

สถิติการชนแสดงให้เห็นว่าปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในเขตเมืองเป็นปัญหาที่มีความสำคัญและต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ดังนั้น บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเด็นความไม่ปลอดภัยที่พบบ่อยบริเวณทางแยกอันตรายในเขตเมืองและเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาพื้นฐาน การศึกษานี้พัฒนาและใช้รายการตรวจสอบซึ่งครอบคลุม 6 หัวข้อหลัก ได้แก่ 1) ลักษณะทั่วไปของทางแยก 2) การมองเห็น 3) ป้ายสัญญาณไฟจราจรและเครื่องหมายจราจร 4) ความสามารถในการใช้งานได้ตามที่ออกแบบไว้ 5) ผิวทาง และ 6) คนเดินเท้า คนเดินข้ามถนน และคนขี่จักรยาน เป็นเครื่องมือในการศึกษาทางแยกอันตราย 20 ทางแยก ใน 7  เมืองภูมิภาค ผลการศึกษาสามารถสรุปประเด็นความไม่ปลอดภัยที่พบบ่อย 8 อันดับแรก ได้แก่
1) เครื่องหมายจราจรและเครื่องหมายนำทางไม่สม่ำเสมอ 2) เครื่องหมายจราจรบนผิวทางขาดการบำรุงรักษา 3) ความเร็วรถเข้าสู่ทางแยกสูง 4) ขาดป้ายจราจรที่จำเป็น 5) เครื่องหมายจราจรและเครื่องหมายนำทางไม่อยู่ในสภาพใช้งานได้ในทุกสภาวะ 6) ระบบระบายน้ำไม่สามารถทำงานใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 7) มีวัตถุอันตรายบริเวณทางแยก และ 8) ป้ายจราจรไม่อยู่ในสภาพที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนในทุกสภาวะ การศึกษา ได้เสนอแนวทางแก้ไขประเด็นปัญหาพื้นฐานที่พบบ่อย เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสนับสนุน การดำเนินงานแก่ผู้ปฏิบัติ ซึ่งไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในการดำเนินการปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยบริเวณทางแยก ในเขตเมือง

Article Details

How to Cite
[1]
นาสุริวงศ์ ภ., ชัยมูล ก., และ เสถียรนาม ว., “ประเด็นความไม่ปลอดภัยที่พบบ่อยบริเวณทางแยกอันตรายในประเทศไทย”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 7, ฉบับที่ 2, น. 49–66, ธ.ค. 2017.
บท
บทความวิจัย