การพัฒนาระบบการผลิตผลิตภัณฑ์กะปิของชุมชนบ้านเกาะเหลา จังหวัดระนอง
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบการผลิต, ผลิตภัณฑ์กะปิ, มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน, ชุมชนบ้านเกาะเหลา, จังหวัดระนองบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการผลิตผลิตภัณฑ์กะปิ และเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการผลิตและผลิตภัณฑ์กะปิของชุมชนบ้านเกาะเหลา จังหวัดระนอง โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมจากผู้ผลิตและชุมชนมอแกน ผลการวิจัยพบว่า การผลิตกะปิของชุมชนบ้านเกาะเหลา จังหวัดระนอง มีประสิทธิภาพด้านต้นทุนร้อยละ 118.64 ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้านต้นทุนได้โดยการลดต้นทุนของวัตถุดิบด้วยการจับตัวกุ้งเคยด้วยตนเอง การเพิ่มประสิทธิภาพด้านกระบวนการผลิตได้โดยการลดข้อจำกัดของการผลิตได้แก่ (1) เพิ่มกำลังการผลิตเพื่อเพิ่มสัดส่วนของรายได้ต่อต้นทุนต่อการผลิตแต่ละครั้ง (2) สร้างตราสินค้า (3) มุ่งการผลิตตามมาตรฐานคุณภาพ และ (4) สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ผลิตอื่นเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตตอบสนองผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ ผลการทดสอบและประเมินการผลิตและผลิตภัณฑ์กะปิของชุมชนบ้านเกาะเหลา จังหวัดระนอง ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.61/2561) พบปัญหาด้านสุขลักษณะในการควบคุมกระบวนการผลิต การสุขาภิบาล การบำรุงรักษา รวมทั้งสุขลักษณะของผู้ผลิต ไม่มีเครื่องหมายและฉลาก สำหรับด้านคุณลักษณะที่ต้องการ และด้านวัตถุเจือปนอาหาร จุลินทรีย์ และสารปนเปื้อน ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทุกรายการ การพัฒนากระบวนการผลิตทำได้โดยการปรับปรุงโรงเรือนผลิต ควบคุมกระบวนการผลิต รวมทั้งการพัฒนาเครื่องหมายและฉลากผลิตภัณฑ์
References
Rewadee Ungpho, Moken music and the way of regeneration, Institute of Culture and Arts Journal Srinakharinwirot University, 18(1), 106-113, 2017.
Sajee Kongsuwon, Natural resource uses before and after Tsunami of Morgan tribe in Koh Lao, Mueang district, Ranong province, Dissertation of Resource Management Program, Graduate School, Kasetsart University, 2007.
Teerasak Sukhsantikomol, The impact of development after the 2004 Isunami on the changing ethnic identity of the Moken’s at Ban Kawlao-Nakok, Ranong province, Dissertation of Department of Anthropology, Graduate School, Silpakorn University, 2010.
Pariwat Changkid, The action to create a sufficiency community of Moken ethnic group, Koh Lao, Ranong province, Area Based Development Research Journal, 11(5), 434-451, 2019.
Lanchakon Chanudom, Jutamat Auysyl, Nurarsekin Yanabaneng, Mareeda Sansina, and Retree Jehlah, Quality of Kapi products at the lower south area, Proceedings of the 3rd National Conference on Network Science and Technology in the Southern Region, Yala Rajabhat University, 2018.
Palita Pimsalee, and Kuntida janglek, The development of shrimp paste from plant-based for the elderly, Bangkok, Food Science and Nutrition, Faculty of Agricultural Product Innovation and Technology, Srinakharinwirot University, 2021.
Jenjira Youpaniad, Shrimp Paste Briquettes.. A new choice for consumers, Journal of the Department of Science Service, 69(212), 11-13, 2020.
Sunisa Siripongvutikorn, and Chanonkarn Rujirapong, Development of reduced sodium shrimp paste from shrimp head, Songkla, Faculty of Agro-Industry (Food Technology), Prince of Songkla University, 2022.
Thanachon Sommao, Guide line for the community product development of shrimp past in Ban Khlong Chak, Khlong Yai district. Chonburi: Graduate School of Public Administration, Burapha University, 2019.
Yanisa Koythong, Thadtaporn Khamnoot, and Grerkiat Korbuakaew, Improvement of shrimp paste production process by ECRS principle, Case study of community enterprise of Koey Ta Dam making shrimp paste group, Khlong Khon subdistrict, Samut Songkhram province, Proceedings of The 13th Rajamangala Surin National Conference (13th RSNC); Research and Innovation for BCG Development, Rajamangala University of Technology Isan, Surin Campus, 2022.
Thai Industrial Standards Institute, Community product standard of shrimp paste (61/2561), Bangkok, Ministry of Industry, 2018.
Food and Drug Administration, Notification of the Ministry of Public Health (Number 420) of B.E. 2563 Issued by the Virtue of the Food Act of B.E. 2522 Title: Food Production Processes, Processing Equipment/ Utensils and Storage Practices, Bangkok, Food Division, 2020.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว