https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/fit-ssru/issue/feed วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2025-06-30T14:57:21+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญเรือน รัศมี fit_journals@ssru.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทามีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแหล่งรวบรวมและเผยแพร่ บทความวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงนวัตกรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนและรวบรวมผลงานวิจัย องค์ความรู้และวิชาการขั้นสูงให้กับนักศึกษา ครู อาจารย์ นักวิจัย และประชาชนทั่วไปที่สนใจ</p> <p>&nbsp;</p> https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/fit-ssru/article/view/257076 โครงข่ายประสาทเทียมเพื่อทำนายพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุ ของพนักงานในกระบวนการผลิตยานยนต์ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย 2024-07-08T16:25:24+07:00 ศศิธร ร่มพา sasithon.rom@dome.tu.ac.th อารุญ เกตุสาคร arroon.k@fph.tu.ac.th <p>ความเสี่ยงต่อการประสบอุบัติเหตุจากการทำงานทำให้เกิดการบาดเจ็บ เสียชีวิต ทุพพลภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง ตลอดจนเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมไปถึงการเกิดความเสียหายทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการเกิดอุบัติเหตุ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลและสร้างตัวแบบสำหรับการทำนายพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุของพนักงานในกระบวนการผลิตยานยนต์ 272 คน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม 2567 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย ทำการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุและสร้าง ตัวแบบโครงข่ายประสาทเทียมเพื่อทำนายพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุ ผลการวิจัยพบว่า 4 ปัจจัยที่มีอิทธิพลกับคะแนนพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุ ได้แก่ การรับรู้อุปสรรคของพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุ (คะแนน) ระดับความดันเสียง (dBA) ดัชนีความร้อน (oC) และการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ (คะแนน) และสร้างโครงข่ายประสาทเทียมที่มีโครงสร้างสถาปัตยกรรม 4-3-2-1 ประกอบด้วย ตัวแปรนำเข้า 4 ตัว โหนดชั้นซ่อน 3 และ 2 โหนด ตัวแปรนำออก 1 ตัว โมเมนตัม 0.05 อัตราการ เรียนรู้ 0.1 และเวลาการเรียนรู้ 100,000 รอบ มีค่ากำลังสองของค่าคลาดเคลื่อนเฉลี่ยน้อยที่สุด ค่าเฉลี่ยของร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ของตัวแบบการพยากรณ์โครงข่ายประสาทเทียมมีค่าเท่ากับร้อย ละ 3.30 แสดงว่าตัวแบบโครงข่ายประสาทเทียมมีความแม่นยำและสามารถใช้ทำนายคะแนนพฤติกรรม การป้องกันอุบัติเหตุแต่ละบุคคลเพื่อวางแผนการแก้ปัญหาตามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการ ป้องกันอุบัติเหตุก่อนเริ่มทำงาน</p> 2025-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/fit-ssru/article/view/258516 การประยุกต์ใช้การจัดการแบบลีนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการบรรจุขวดแก้วในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มของโรงงานเครื่องดื่มแห่งหนึ่ง 2024-10-22T15:17:04+07:00 อรปรียา รัตนาวรุณวงศ์ watcharaparanon_p@silpakorn.edu พีรภพ จอมทอง Watcharaparanon_p@silpakorn.edu พลกฤต วัชรผลานนท์ watcharaparanon_p@silpakorn.edu <p>งานวิจัยนี้มุ่งเน้นที่กระบวนการบรรจุของโรงงานตัวอย่างซึ่งมีการบรรจุเครื่องดื่มประเภทขวดแก้วโดยเครื่องจักรเป็นหลัก ซึ่งมีค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลัก เครื่องจักรในระหว่างการทำการผลิต เนื่องจากโรงงานต้องการเพิ่มค่าประสิทธิผลโดยรวมจึงมีการจัดทำ แผนผังสายธารคุณค่าเพื่อหาสาเหตุของทั้งกระบวนการบรรจุเครื่องดื่มประเภทขวดแก้ว และทำกิจกรรมการค้นหาความสูญเสียโดยการเดินสำรวจ โดยใช้แนวคิดแบบลีน เช่น ความสูญเปล่าของกระบวนการ ผลิต 8 ประการมาช่วยในการระบุปัญหา พบว่ากระบวนการหลักที่มีปัญหาและสามารถแก้ไขได้ก็คือ ปัญหาฝาติดบริเวณทางลงของ Capper จะเป็นปัญหาฝาติดที่มีจุดหลักในการเกิดปัญหาอยู่ที่รางฝาจีบ ก่อนเข้ากระบอกกลับฝา จึงได้นำแผนผังสายธารคุณค่าและ Why-Why analysis เข้ามาใช้หาต้นตอของปัญหาและออกมาตรการป้องกัน เช่น ปัญหาอาการฝาติดที่รางฝาจีบก่อนเข้ากระบอกกลับฝาทำการออกมาตการป้องกันคือ จัดทำแผนทำความสะอาดให้ครอบคลุมเพื่อให้เครื่องจักรทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยสามารถลดปัญหาฝาติดทางลงที่ Capper ลงมาได้จากเดิม 1.45% ลดลงมาเหลือ 0.95% คิดเป็น 34.48 % ส่งผลให้กระบวนการผลิตไหลลื่นขึ้นจากเดิม</p> 2025-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/fit-ssru/article/view/259485 การพัฒนาเครื่องอบแห้งแบบพ่นฝอยสำหรับจิ้งหรีด ด้วยระบบควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติแบบพีไอดี 2024-11-26T11:00:58+07:00 วิสิทธิ์ ลุมชะเนาว์ wisit.lc@bru.ac.th ธนกร ดุจเพ็ญ wisit.lc@bru.ac.th <p>บทความวิจัยนี้ได้นำเสนอตัวควบคุมอุณหภูมิแบบอัตโนมัติโดยใช้ตัวควบคุมแบบพีไอดี โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อออกแบบและสร้างเครื่องอบแห้งพ่นฝอยขนาดเล็ก และเพื่อทดสอบ ประสิทธิภาพของระบบควบคุมสภาวะการอบแห้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยวัสดุและอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิแบบ PID อุปกรณ์ทำความร้อนมีกำลังไฟฟ้าขนาด 2,000 วัตต์ จำนวน 4 ตัว อุปกรณ์เทอร์โมคัปเปิลชนิด PT100 เพื่อวัดค่าอุณหภูมิภายในถังอบแห้ง ขั้นตอนการทดลองโดยกำหนดค่า Set Point (SP) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของตัวควบคุมแบบ PID ตั้งค่าอุณหภูมิทดลอง 4 ระดับคือ 50°C, 70°C, 100°C และ 120°C ผลการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ 1) ผลทดลองด้านตัว ควบคุมอุณหภูมิพบว่าเมื่อกำหนดค่า SP ในแต่ละช่วงระดับอุณหภูมิ พบว่าค่าอุณหภูมิภายในถังอบแห้ง มีค่าเริ่มต้นทดลองที่ใกล้เคียงกัน 30°C-35°C และผลทดลองตัวควบคุมพบว่ามีค่าความร้อนเกินจุด (Overshoot) ช่วงเวลาเข้าสู่จุด SP มีค่าแตกต่างกัน ซึ่งจะอยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่ 6.20-16.10 นาที 2) ผลทดลองด้านการวัดค่าแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าชั่วขณะที่ตัวเหนี่ยวนำความร้อนทำงาน พบว่าเครื่องอบแห้งที่พัฒนาขึ้นกินกระแสไฟฟ้าอยู่ในช่วง 1.8-17.5 แอมแปร์ ซึ่งจะแปรผันตามค่า SP ที่ปรับสูงขึ้น และ 3) ผลทดลองด้านการอบแห้งแบบพ่นฝอยสำหรับจิ้งหรีด ขั้นตอนการทดลองโดยกำหนดค่าอุณหภูมิ 3 ระดับ คือ 80, 100 และ 120 มีค่าน้ำหนักก่อนอบแห้ง 1,000 กรัม พบว่าหลังจากผ่านกระบวนการอบแห้งพ่นฝอยมีค่าความชื้นมาตรฐานตามระดับอุณหภูมิที่กำหนดได้ว่าค่า SP80=51.25%w.b, 33.88%d.b, SP100 =21.23%w.b, 17.51%d.b และ SP120=6.61%w.b, 6.20%d.b ตามลำดับผลการทดลอง</p> 2025-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/fit-ssru/article/view/260909 Design and Development of a Product Database for Brake Lining: A Case Study of a Brake Lining Factory 2025-03-19T08:30:33+07:00 Tongmean Teang teang_t@silpakorn.edu Thanathorn Karot teang_t@silpakorn.edu <p> <span class="fontstyle0">The automotive parts manufacturing industry is characterized by intense competition, rapidly changing customer demands, and particular customer requirements. As a result, precise design and rapid development of new products are essential for maintaining competitiveness. Our case study is a lining brake factory with several thousand stock-keeping units. Managing all product-related data, such as engineering of change, bill of material and engineering files is crucial yet challenging due to the complexity of the products, manufacturing processes, and supply chain. This study aims to design and develop a product data brake lining management system to centralize product data within organization. It presents three main modules: the Input Data module, the Query Data module, and the Security module. The system is developed following the Software Development Life Cycle (SDLC). The system is based on web application technology, utilizing PostgreSQL for the database, React.js for the client side, and Express.js for the server side. The key technology used in this study is also discussed. The system evaluated through questionnaires completed using a user satisfaction form. User feedback indicated a satisfaction level of 4.48 out of 5 and a standard deviation 0.53. Moreover, it can reduce working time for all teams to create product data or search and retrieve product data from 131.6 min to 52.6 min, which reduces working time by 60% compared to the traditional method.</span> </p> 2025-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/fit-ssru/article/view/261098 การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการบรรจุหีบห่อขวดน้ำอัดลม: การลดเวลาการ เปลี่ยนอะไหล่และการปรับตั้งค่าเครื่องจักรในสายการผลิต PET5 2025-03-31T10:08:12+07:00 สุพัฒตรา ศรีญาณลักษณ์ suphattra.sr@spu.ac.th ปาริตา ภัยอย่ามี suphattra.sr@spu.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการเปลี่ยนอะไหล่และปรับตั้งค่าเครื่องบรรจุ หีบห่อขวดน้ำอัดลมขนาดใหญ่ในสายการผลิต PET5 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดเวลาสูญเสียกระบวนการวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การศึกษากระบวนการบรรจุหีบห่อ (2) การเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเวลาสูญเสียที่เกิดขึ้น (3) การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาโดยใช้เทคนิค Why Why Analysis และ (4) การดำเนินการปรับปรุง โดยมีการพัฒนาแนวทางสำหรับเครื่องบรรจุหีบห่อที่ 1 และ 2 สำหรับเครื่องบรรจุหีบห่อที่ 1 ได้มีการติดสัญลักษณ์ที่ชิ้นส่วนอะไหล่ ออกแบบอุปกรณ์เสริมเพื่อป้องกันขวดล้ม และจัดทำมาตรฐานการปรับระยะสายพานและชุดเป่าลม ส่วนเครื่องบรรจุหีบห่อที่ 2 ทำการปรับปรุงระยะช่องทางเดินขวด (Guide) หน้าและหลังเครื่องบรรจุ พร้อมออกแบบอุปกรณ์เสริม เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวัดระยะ ผลการวิจัยพบว่าการปรับปรุงสามารถลดเวลาการเปลี่ยนอะไหล่ของเครื่องบรรจุหีบห่อที่ 1 จาก 90 นาที เหลือ 76 นาที (ลดลงร้อยละ 15.5) และเครื่องบรรจุหีบห่อที่ 2 จาก 60 นาที เหลือ 48 นาที (ลดลงร้อยละ 20) ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพในการผลิตและเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ประมาณ 5,832,000 บาทต่อปี นอกจากนี้แนวทางการปรับปรุงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสายการผลิตอื่นที่ใช้เครื่องจักรประเภทเดียวกัน</p> 2025-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/fit-ssru/article/view/261262 การศึกษาประสิทธิภาพเชิงเปรียบเทียบของระบบการตรวจจับวัตถุ: กรณีศึกษาการตรวจจับรอยตำหนิบนตัวถังรถยนต์จำลองหลังการพ่นสี 2025-04-21T14:24:25+07:00 อนันตา สินไชย ananta.sin@kmitl.ac.th ทรงวุฒิ พานิชย์ 64125019@kmitl.ac.th สุทธิดา ยอดอาษา 64125061@kmitl.ac.th <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของแบบจำลอง โยโลรุ่นสิบสองเอส ใน การตรวจจับรอยตำหนิบนพื้นผิวตัวถังรถยนต์หลังการพ่นสี โดยรอยตำหนิที่ใช้ในการศึกษาอ้างอิงจากลักษณะที่เกิดขึ้นจริงในกระบวนการผลิต และจำลองขึ้นในระดับห้องปฏิบัติการจำนวน 75 ชิ้น จากนั้นถ่ายภาพทั้ง 75 ชิ้น และปรับเปลี่ยนรูปร่างหรือการจัดวางเพื่อเพิ่มจำนวนภาพเป็น 150 ภาพ ภาพทั้งหมดถูกทำป้ายกำกับและนำมาใช้สำหรับการฝึกสอนและทดสอบแบบจำลอง โยโลรุ่นสิบสองเอส ซึ่งให้ค่าเฉลี่ยของความเที่ยงที่ 0.886 นอกจากนี้ การศึกษานี้เปรียบเทียบประสิทธิภาพของ โยโลรุ่นสิบ สองเอส กับ โยโลรุ่นห้าเอส และซอฟต์แวร์การเรียนรู้เชิงลึกเชิงพาณิชย์ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ซีร่า และซอฟต์แวร์ซีบร้าโอโรร่าวิชั่น การประเมินผลดำเนินการภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน โดยใช้ตัวชี้วัดความแม่น ความเที่ยง ความสามารถในการตอบถูก และ F1-score ผลการทดลองพบว่า โยโลรุ่นสิบสองเอส ให้ค่าความสามารถในการตอบถูก สูงสุดที่ร้อยละ 95.2 และค่า F1-score ที่ร้อยละ 88.9 ซึ่งเป็นค่าที่ดีที่สุดในกลุ่มโอเพ่นซอร์ส และมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับซอฟต์แวร์ซีร่า ขณะที่ซอฟต์แวร์ซีบร้าโอโรร่าวิชั่น แสดงประสิทธิภาพโดยรวมที่น่าสนใจด้วยค่า F1-score เท่ากับร้อยละ 95.8 อย่างไรก็ตามแบบจำลอง ทั้งหมดยังมีข้อจำกัดในการตรวจจับรอยตำหนิที่มีขนาดเล็กหรือถูกบดบังด้วยชั้นสีเคลือบและสีไม่สม่ำเสมอ การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าโยโลรุ่นสิบสองเอส มีศักยภาพในการเป็นทางเลือกที่มีต้นทุนต่ำและมีประสิทธิภาพสำหรับการตรวจสอบรอยตำหนิบนพื้นผิวตัวถัง และควรมีการพัฒนาต่อยอดเพื่อรองรับการใช้ในแบบเวลาจริงในสายการผลิต</p> 2025-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/fit-ssru/article/view/261418 การศึกษาความรอบรู้สุขภาพด้านอาชีวอนามัย และพฤติกรรมความปลอดภัย ในการทำงานของพนักงานเก็บขยะ ในเขตจังหวัดเชียงราย 2025-04-17T09:15:02+07:00 พีรชญา ไขปัญญา pkvansssss@gmail.com น้ำเงิน จันทรมณี namngern.ch@up.ac.th ศศิวิมล บุตรสีเขียว sasivimol.bo@up.ac.th <p>การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล ความรอบรู้สุขภาพด้านอาชีวอนามัย พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเก็บขยะ และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล ความรอบรู้สุขภาพด้านอาชีวอนามัยกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเก็บขยะ ในเขตจังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 241 คน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคล ความรอบรู้สุขภาพด้านอาชีวอนามัย และพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเก็บขยะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติไคสแควร์ (Chi-Square) และสถิติฟิชเชอร์ (Fisher’s exact test)<br />ผลการศึกษาพบว่า พนักงานเก็บขยะส่วนใหญ่ร้อยละ 55.60 มีระดับความรอบรู้สุขภาพด้านอาชีวอนามัยอยู่ในระดับพอใช้ และส่วนใหญ่ ร้อยละ 83.40 มีระดับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานอยู่ในระดับดี ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน ได้แก่ การได้รับการบาดเจ็บจากการทำงาน (p-value &lt; 0.05) นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้สุขภาพด้านอาชีวอนามัยและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน ได้แก่ ความรอบรู้สุขภาพ ด้านการอ่านและทำความเข้าใจ ด้านทักษะการสื่อสาร ด้านการตัดสินใจและนำไปใช้ด้านการรู้เท่าทันสื่อ และด้านการจัดการสุขภาพของตนเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเก็บขยะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.001) ดังนั้น จึงควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาความรอบรู้สุขภาพด้านอาชีวอนามัยให้กับพนักงานเก็บขยะ และจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้านอาชีวอนามัย เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงระดับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเก็บขยะให้ดียิ่งขึ้น</p> 2025-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/fit-ssru/article/view/261773 การประเมินการใช้พลังงานตลอดวัฎจักรชีวิตในภาคการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย 2025-04-24T13:07:37+07:00 สุชิน ฉวีวงษ์ suchin.chawee@gmail.com สุพรรณนิกา วัฒนะ supannika.w@msu.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการใช้พลังงาน ตลอดวัฏจักรชีวิตในการผลิตสาขาไฟฟ้าของประเทศไทยในอนาคต ตามเป้าหมายการพัฒนาประเทศไทยให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการสร้างแบบจำลอง Long-Structural Equation modeling based on latent growth model (LSEM-LG model) เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการนำไปใช้ในการ บริหารประเทศให้เกิดประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่กำหนดเรื่อง net zero emission ใน พ. ศ. 2608 ผลการวิจัยพบว่า ตั้งแต่อดีต (2535-2568) มีการเติบโตเฉพาะด้านเศรษฐกิจ (economic sector) และสังคม (social sector) เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีอัตราการเติบโตที่สูงอย่างต่อเนื่อง และในขณะเดียวกันได้ส่งผลเสียให้กับด้านสิ่งแวดล้อมให้เสื่อมโทรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากผลการวิจัยในครั้งนี้ ทำให้ผู้วิจัยค้นพบว่า CO2 emission จากอันเนื่องจากการใช้พลังงานในสาขาไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นกว่าเกณฑ์ความสามารถในการรองรับได้ (เกณฑ์กำหนดไว้ไม่เกิน 65.05 Mt CO2 Eq. (2025-2034) ซึ่งมีอัตราการเติบโต (2034/2025) เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 31.52% ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นเป็น 75.79 Mt CO2 Eq. (2025-2034) ดังนั้น สำหรับงานวิจัยนี้ได้ค้นพบ new scenario policy คือ อัตราการใช้เชื้อเพลิงไบโอดีเซล และอัตราการใช้เชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์ ช่วยลดอัตราการเพิ่มของ CO2 emission เพิ่มขึ้นแค่เพียง 52.31Mt CO2 Eq. (2025-2034) ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่าแบบจำลองในงานวิจัยนี้มีความเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้ในการตัดสินใจบริหารประเทศสู่เป้าหมาย green industrial ในอนาคตได้</p> 2025-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/fit-ssru/article/view/261629 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับสมรรถภาพการทำงานของปอดของผู้ประกอบอาชีพการทำหมอนขิดจากการรับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็ก ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร ประเทศไทย 2025-04-30T13:10:47+07:00 กัณฐิกา สามารถ kantika.sama@gmail.com อารุญ เกตุสาคร arroon.k@fph.tu.ac.th <p>กระบวนการทำหมอนขิดทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพการทำงาน ของปอด การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสมรรถภาพการทำงานของปอดจากการรับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กของแรงงานนอกระบบ กลุ่มอาชีพทำหมอนขิด ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร จำนวน 172 คน ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์การเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก เครื่องมือตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน และเครื่องตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด ทำการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสมรรถภาพการทำงานของปอด โดยใช้สถิติ Spearman’s rank correlation และ Chi-square test ผลการศึกษา พบว่า มี 6 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสมรรถภาพการทำงานของปอด ได้แก่ อายุ ความถี่ของการสูบบุหรี่ ผลการตรวจสุขภาพประจำปี การแนะนำความปลอดภัยในการทำงาน ความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กในสภาพแวดล้อมการทำงาน (µg/m3) และคะแนนความรู้เกี่ยวกับเรื่องการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก ผลการศึกษานี้สามารถนำไปสู่การกำหนดมาตรการป้องกันทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ลดผลกระทบต่อสมรรถภาพการทำงานของปอดในแรงงานนอกระบบ กลุ่มอาชีพทำหมอนขิด</p> 2025-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/fit-ssru/article/view/262101 การผลิตถ่านไบโอชาร์จากเศษกะลามะพร้าวในกระบวนการทำมะพร้าวขาว ด้วยเตาปฏิกรณ์เชื้อเพลิงความร้อนร่วม 2025-05-29T15:57:50+07:00 อรัญ ขวัญปาน aran.kw@ssru.ac.th สุภัสสร ฉิมเฉิด aran.kw@ssru.ac.th รุจิพรรณ แฝงจันดา aran.kw@ssru.ac.th <p><span class="fontstyle0">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของเตาปฏิกรณ์เชื้อเพลิงความร้อนร่วม และทดสอบคุณภาพของถ่านกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมช (มผช.657/2547) ใช้เศษกะลาจากมะพร้าวแก่จากผู้ประกอบการล้งมะพร้าวขาว นำมาเผาโดยเตาปฏิกรณ์ที่ออกแบบการจ่ายเชื้อเพลิงความร้อนร่วมที่ได้รับการพัฒนา ประกอบด้วยเชื้อเพลิงชีวมวลและเชื้อเพลิงจากน้ำมันเครื่องเก่า แล้ววิเคราะห์คุณสมบัติของถ่าน<br />ผลการศึกษา พบว่า ถ่านไบโอชาร์จากเตาปฏิกรณ์เชื้อเพลิงความร้อนร่วม อุณภูมิเตาเฉลี่ยสูงสุด 665 องศาเซลเซียส ใช้เวลาเผา 310 นาที คุณสมบัติของถ่านอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.657/2547) มีค่าความร้อน 6,518.25 แคลอรี่ต่อกรัม ปริมาณเถ้าร้อยละ 4.57 ปริมาณสารระเหยร้อยละ 11 และปริมาณความชื้นร้อยละ 3.82 ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (N=20) ค่าความร้อนสูงกว่าค่ามาตรฐาน (6000 แคลอรี่ต่อกรัม) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001 (p =.000), (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 6518.25)<br />ดังนั้น เตาปฏิกรณ์เชื้อเพลิงความร้อนร่วมมีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับสลายน้ำมันดิน (Tar) ทำให้ถ่านบริสุทธิ์ และถ่านไบโอชาร์ที่ได้มีคุณสมบัติสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงประกอบอาหารในครัวเรือน และสามารถพัฒนาเป็นถ่านอัดแท่งได้ <br /><br /></span></p> 2025-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา