วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/fit-ssru <p>วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทามีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแหล่งรวบรวมและเผยแพร่ บทความวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงนวัตกรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนและรวบรวมผลงานวิจัย องค์ความรู้และวิชาการขั้นสูงให้กับนักศึกษา ครู อาจารย์ นักวิจัย และประชาชนทั่วไปที่สนใจ</p> <p>&nbsp;</p> คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา th-TH วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2351-0811 <div class="item copyright"> <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> </div> การประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของกระบวนการจัดการน้ำเสีย อย่างยั่งยืนในนิคมอุตสาหกรรมพื้นที่ภาคตะวันออก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/fit-ssru/article/view/254952 <p>การจัดการทรัพยากรน้ำในอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ใช้แนวทางการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่โดยเฉพาะยิ่งการจัดการน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดจากระบบบำบัดน้ำเสียแล้ว โดยงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสียชีวภาพภายใต้การดำเนินงานของนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ตระหนักถึงการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ขององค์การสหประชาชาติ เป้าหมายที่ 6 ว่าด้วย สร้างหลักประกันเรื่องน้ำและการสุขาภิบาลให้มีการจัดการอย่างยั่งยืน และมีสภาพพร้อมใช้สำหรับทุกคน จากการบริหารงานที่ยั่งยืน โดยการใช้เครื่องมือด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ มาบูรณาการร่วมกัน นิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงานแห่งนี้ ตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี และได้รับการรับรองเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับ Eco-World Class หนึ่งในการดำเนินงานการจัดการทรัพยากรคือน้ำและน้ำเสีย โดยมีกระบวนนำน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการบำบัดนำกลับมาใช้ใหม่ ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน มุ่งเน้นให้เกิดการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดต่อการลดการใช้ทรัพยากรน้ำและมลพิษน้ำรวมถึงค่าใช้จ่ายในการจัดการ โดยประเมินวัฏจักรผลิตภัณฑ์ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป openLCA เพื่อประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ จากผลการศึกษาจากการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้แก่ ผลต่อสุขภาพ, ผลระบบนิเวศน์ และ ผลต่อทรัพยากร เท่ากับ 3.36E-05 DALY, 9.07E+03 PDF.m<sup>2</sup>.yr และ 2.54E+05 MJ ตามลำดับ ซึ่งดัชนีประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจเท่ากับ 65.23 การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่มีผลให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง 34.08% ซึ่งหมายถึงการใช้น้ำที่บำบัดแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ ส่งผลให้นิคมอุตสาหกรรมสามารถลดค่าใช้จ่าย และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง</p> เพียงใจ หาญวัฒนาวุฒิ กอบเกียรติ ผ่องพุฒิ บุญเลิศ วงค์โพธิ์ วินัย วีระวัฒนานนท์ Copyright (c) 2024 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 12 1 1 11 การประเมินความเสี่ยงและความพร้อมในการป้องกันและระงับอัคคีภัย ของประชาชน ชุมชนบางไส้ไก่ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/fit-ssru/article/view/255346 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความเสี่ยงการเกิดอัคคีภัยของชุมชนบางไส้ไก่ 2) ศึกษาความพร้อมการป้องกันและระงับอัคคีภัยในชุมชนบางไส้ไก่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้นำชุมชนและคณะกรรมการที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านอัคคีภัย จำนวน 10 คน และ ประชาชนที่อาศัยภายในชุมชนบางไส้ไก่ จำนวน 126 คน เป็นการสนทนากลุ่ม (focus group discussion) โดยใช้แบบนำสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า ชุมชนบางไส้ไก่ มีความเสี่ยงด้านอัคคีภัยอยู่ในระดับต่ำ อยู่ที่ 0.64 คะแนน การเตรียมความพร้อมป้องกันและระงับอัคคีภัยเบื้องต้น อยู่ในระดับปานกลาง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 2.34, S.D. = 1.46) การป้องกันอัคคีภัยเบื้องต้น ด้านการจัดระเบียบเรียบร้อยในครัวเรือน อยู่ในระดับสูง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 2.90, S.D. = 1.26) และ ด้านการตรวจตราซ่อมบำรุง อยู่ในระดับสูง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.18, S.D. = 1.17) โดยภาพรวมประชาชนภายในชุมชนบางไส้ไก่ มีพร้อมในการป้องกันและระงับอัคคีภัยในทุกด้าน อยู่ในระดับสูง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 2.85, S.D. = 1.31) ข้อเสนอแนะ คือ 1) การถ่ายทอดความรู้ด้านอัคคีภัยให้กับทุกครัวเรือน โดยส่งตัวแทน 1 คน เข้าร่วม 2) กระตุ้นและสร้างนิสัยการมีระเบียบวินัยและปลูกฝังจิตสำนึกแก่บุตรหลานให้พึงระวังในการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย และ 3) การจัดกิจกรรมให้ประชาชนในชุมชนจัดบ้านเรือนให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย การตรวจตรา และสร้างความมีระเบียบวินัย การร่วมมือของชุมชน เดือนละ 1 ครั้ง</p> เชิดศิริ นิลผาย ฌาน ปัทมะ พลยง ชนพร พลดงนอก อารยา ดำช่วย Copyright (c) 2024 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 12 1 12 20 Study of Factors Affecting Quenching of High-Speed Steel M2 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/fit-ssru/article/view/255988 <p>The objective of this research was to study the factors in the Quenching process that affects the hardness and structure of the metal. With hardening and tempering the material at different temperatures and times. The material used in the experiment was High Speed Steel M2. The agent used to harden the metal were water, oil, and air. The experimental factors consisted of temperature for Quenching which was divided into 7 levels, namely, 1,000 ºC, 1,050 ºC, 1,100 ºC, 1,150 ºC, 1,200 ºC, 1,250 ºC and 1,300 ºC. The time required for quenching was 3 minutes, 3.5 minutes, 4 minutes, 4.5 minutes, 5 minutes, 5.5 minutes and 6 minutes. Based on the experimental study, it was found that temperature and time have a significant effect on the hardness of High-Speed Steel M2 at the significant level of 0.05. The most suitable factor is the use of an oil-based Coolant at a temperature of 1,150 ºC for 4.5 minutes which gives the highest hardness than other Coolant with the hardness of 55.62 HRC and a martensite interior structure</p> Banyat Panprasitvech Patipat Hongsuwan Thammawit Prasert Copyright (c) 2024 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 12 1 21 32 การประยุกต์แผนภูมิต้นไม้แห่งความล้มเหลวเพื่อประเมินความเสี่ยง ระบบวัดคุมนิรภัยในระบบหม้อไอน้ำของโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/fit-ssru/article/view/255995 <p>หม้อไอน้ำจำนวนมากมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดเพลิงไหม้และการระเบิดเนื่องจากลักษณะของงานและอาจเกิดข้อผิดพลาดที่ทำให้ระบบวัดคุมนิรภัยทำงานล้มเหลว การศึกษาครั้งนี้เพื่อประยุกต์แผนภูมิต้นไม้แห่งความล้มเหลวสำหรับประเมินความเสี่ยงในระบบวัดคุมนิรภัยและคำนวณหาค่าเฉลี่ยความผิดพลาดอันตรายสำหรับจัดระดับความปลอดภัยของระบบควบคุมหม้อไอน้ำของโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย แผนภูมิต้นไม้แห่งความล้มเหลวถูกนำมาใช้เพื่อระบุความล้มเหลวของระบบวัดคุมนิรภัยในการประเมิน ความเสี่ยงและเพื่อคำนวณความน่าจะเป็นโดยเฉลี่ยของความผิดพลาดอันตรายสำหรับจำแนกระดับความปลอดภัยของหม้อไอน้ำ การศึกษานี้ดำเนินการตั้งแต่เดือนเมษายนถึงสิงหาคม พ.ศ. 2566 ที่โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศไทย การรวบรวมข้อมูลใช้แผนภูมิต้นไม้แห่งความล้มเหลวโดยแผนภูมิต้นไม้แห่งความล้มเหลวประกอบด้วย Feed water pump, Level indicator transmitter 1, และ Level indicator transmitter 2 แผนภูมิต้นไม้แห่งความล้มเหลวทั้ง 3 แผนภูมิมีความน่าจะเป็นความผิดพลาดอันตรายสูงสุด ระบบควบคุมทั้ง 3 ระบบแสดงความน่าจะเป็นโดยเฉลี่ยที่จะเกิดความผิดพลาดอันตรายเท่ากับ 8.5x10<sup>-1</sup> และค่าระดับความปลอดภัยของระบบวัดคุมนิรภัยระดับ 1 ดังนั้น ควรมีความพยายามในการกำกับดูแลความเสี่ยงเหล่านั้นโดยจัดทำแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกันที่เหมาะสมเพื่อลดสภาวะที่ไม่พึงประสงค์จากความล้มเหลวของระบบวัดคุมนิรภัย</p> คณัศวรรณ มากสุข อารุญ เกตุสาคร Copyright (c) 2024 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 12 1 33 42 การพัฒนาห้องปฏิบัติการบนแผ่นชิปสำหรับผสมหยดของเหลวขนาดเล็ก โดยใช้อุปกรณ์ EWOD https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/fit-ssru/article/view/256017 <p>การควบคุมหยดของเหลวขนาดเล็กถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการห้องปฏิบัติการบนแผ่นชิป (Lab on a chip) ซึ่งเป็นการย่อส่วนห้องปฏิบัติการ และกระบวนการทดสอบต่างๆ ให้มาอยู่บนแผ่นชิปขนาดเล็ก ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอเกี่ยวกับการพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับการผสมหยดของเหลวในระดับไมโครลิตรสำหรับกระบวนการวัดค่าไฟฟ้าเคมี โดยใช้อุปกรณ์ Electro-wetting on dielectric (EWOD) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนที่ของหยดของเหลวในระดับไมโครลิตรถึงระดับนาโนลิตรโดยใช้สนามไฟฟ้า ความแม่นยำในการควบคุมของเหลวของอุปกรณ์ EWOD ขึ้นอยู่กับรูปแบบขั้วไฟฟ้าที่เหมาะสมซึ่งหมายถึงการออกแบบขั้วไฟฟ้าทั้งขนาด และรูปร่างจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยในกระบวนการวิจัยผู้วิจัยได้ทำการทดสอบอุปกรณ์ EWOD โดยใช้ค่าความต่างศักย์ระหว่าง 300 – 700 โวลต์ ค่าความถี่ 1,000 เฮิรตซ์ เพื่อหาค่าความต่างศักย์ที่เหมาะสมสำหรับการควบคุมการเคลื่อนที่ของหยดของน้ำปริมาตร 8 ไมโครลิตร ด้วยอุปกรณ์ EWOD จากการวิจัยพบว่าการแยกของเหลวออกจากแหล่งจ่ายต้องใช้ขั้วไฟฟ้าอย่างน้อย 3 ขั้ว และการผสมหยดของเหลวต้องใช้ขั้วไฟฟ้าอย่างน้อย 2 ขั้ว ผลของการทดสอบอุปกรณ์ทำให้ทราบถึงค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าต่ำสุดที่เริ่มทำให้อุปกรณ์ใช้งานได้มีค่าเท่ากับ 300 โวลต์ ค่าความต่างศักย์สูงสุดที่สามารถจ่ายให้กับอุปกรณ์คือ 700 โวลต์ โดยส่งผลให้หยดของเหลวสามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยความเร็วเฉลี่ยเท่ากับ 10 มิลลิเมตรต่อวินาที ซึ่งเป็นค่าที่เหมาะสมของอุปกรณ์</p> ชาญชัย วิรุณฤทธิชัย สมบัติ หิรัญวรรณพงษ์ สุพจน์ สุดกรยุทธ์ รัตนะ เลหวนิช อรรถพร สกุลสม พรหมพักตร์ บุญรักษา กรีฑา สุขทั่ง Copyright (c) 2024 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 12 1 43 50 การพัฒนาต้นแบบตู้เพาะชำและดูแลต้นกล้าผักควบคุมผ่านเว็บแอปพลิเคชัน https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/fit-ssru/article/view/256071 <p>งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ออกแบบ สร้าง และประเมินประสิทธิภาพตู้เพาะชำและดูแลต้นกล้าผักแบบอัตโนมัติ ซึ่งสามารถควบคุมได้จากระยะไกลผ่านเว็บแอปพลิเคชัน ตู้มีขนาดความกว้าง ความยาว และความสูงเท่ากับ 80,120 และ150 เซนติเมตร มีการควบคุมปัจจัยสภาพแวดล้อม ได้แก่ อุณหภูมิ, ความชื้น, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และแสง มีการใช้บอร์ด ESP32 เชื่อมต่อกับเซนเซอร์และวัดค่าสถานะเพื่อส่งไปเก็บที่ฐานข้อมูลไฟร์เบส ซึ่งเป็นฐานข้อมูลแบบเรียลไทม์ จากนั้นนำข้อมูลไปแสดงผลในเว็บแอปพลิเคชันซึ่งพัฒนาโดยรีแอคเฟรมเวิร์ก มีคำสั่งในการปรับค่าอุณหภูมิ ความชื้น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การตั้งเวลารดน้ำ การเปิดปิดไฟ การเปิดปิดพัดลมระบายอากาศ บันทึกข้อมูล รวมทั้งยังติดตั้งกล้องแสดงภาพวิดีโอแบบเรียลไทม์ในการสังเกตุลักษณะของต้นพืช สามารถทำงานได้ทั้งแบบอัตโนมัติหรือตามความต้องการของผู้ใช้งาน โดยผู้วิจัยดำเนินการประเมินประสิทธิภาพทั้งหมด 3 ส่วน คือ 1) การทำงานของเว็บแอปพลิเคชัน 2) การทำงานของตู้ต้นแบบ และ 3) การเพาะชำและดูแลต้นกล้าผัก พบว่า ทั้ง 3 ส่วนนี้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมให้ต้นกล้าผักที่เพาะชำและดูแลภายในตู้มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วกว่า 12.22% เมื่อเทียบกับการเพาะชำและดูแลภายนอกตู้</p> วิวรรณรัตน์ สารมาตย์ พิมพกานต์ คิดอ่าน รวิ อุตตมธนินทร์ วรณัน วรมงคล Copyright (c) 2024 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 12 1 51 61 การพัฒนาต้นแบบระบบสารสนเทศบริการข้อมูลด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ในจังหวัดเพชรบูรณ์ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/fit-ssru/article/view/256172 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบระบบสารสนเทศบริการข้อมูลด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และเพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบ คณะผู้วิจัยได้พัฒนาระบบสารสนเทศตามกระบวนการวัฏจักรชีวิตการพัฒนาระบบ ซึ่งมีขั้นตอนการวางแผนงาน ศึกษาความต้องการของผู้ใช้งานโดยลงพื้นที่ศึกษารวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบ พัฒนาระบบสารสนเทศในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชันด้วยภาษาพีเอชพีและเอชทีเอ็มแอล จัดเก็บข้อมูลลงบนฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล ทำการทดสอบและปรับปรุงแก้จุดบกพร่องก่อนนำไปใช้งาน ฟังก์ชันการทำงานหลักของระบบคือ สามารถบันทึกข้อมูลด้านพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ การประเมินความเสี่ยงของโรค และสรุปผลการตรวจสุขภาพจากการบันทึกข้อมูลสุขภาพโดยแพทย์ สามารถค้นหาหรือเรียกดูรายงานสุขภาพและแสดงผลข้อมูลบนแดชบอร์ด ใช้งานได้ทั้งบนคอมพิวเตอร์และสมาร์ตโฟน การประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศโดยผู้เชี่ยวชาญในด้านความสามารถการทำงานได้ตามหน้าที่ ด้านการใช้งาน และด้านความปลอดภัยของข้อมูล มีค่าเฉลี่ยรวม 4.67 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.44 อยู่ในระดับมากที่สุด</p> วาสนา วงศ์ษา ชัยสิทธิ์ วันน้อย วรชัย ศรีเมือง นฤมล วันน้อย ศรัญญา ตรีทศ Copyright (c) 2024 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 12 1 62 70 การออกแบบและพัฒนาตู้อบแห้งแบบใช้พลังงานร่วม เพื่อควบคุมอุณหภูมิในทุกสภาวะอากาศ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/fit-ssru/article/view/256609 <p>งานวิจัยนี้ผู้วิจัยมีแนวคิดที่จะพัฒนาตู้อบแห้งโดยใช้การนำพลังงานความร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบการถ่ายเทให้เป็นพลังงานความร้อน สามารถใช้ได้ในสภาวะแปรปรวนไม่มีแสงอาทิตย์ หรือในสภาวะอากาศฝนตกมีลมแรง มีอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิโดยอัตโนมัติ กรณีในสภาวะอากาศปกติมีแสงอาทิตย์และอุณหภูมิภายในตู้อบแห้งคงที่ระบบชุดควบคุมพลังงานจะทำการจัดเก็บพลังงานไฟฟ้าผ่านแผงโซล่าเซลล์ (พลังงานแสงอาทิตย์) ไว้ในแบตเตอรี่ กรณีสภาวะอากาศแปรปรวนไม่มีแสงอาทิตย์ ฝนตก อากาศเย็นชุดควบคุมอุณหภูมิจะทำงานโดยดึงพลังงานจากแบตเตอรี่ให้ความร้อนผ่านหัวเผาไปยังท่อทองแดงถ่ายเทกระจายรังสีความร้อนภายในตู้อบแห้ง โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานคือ ทำการออกแบบโครงสร้างของตู้อบแห้งที่มีขนาด1,500x1,500x1,850 ลูกบาศก์มิลลิเมตร วิธีการทดสอบมีวิธีการดังนี้ การควบคุมอุณหภูมิภายในตู้อบแห้งให้คงที่ โดยกำหนดอุณหภูมิอยู่ที่ 35 - 40 °C ทำการทดสอบทั้งหมด 3 ครั้ง พบว่าการควบคุมอุณหภูมิภายในตู้อบสามารถคุมอุณหภูมิได้คงที่ตามที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> เอกราช นาคนวล แม้นวาด รชนีกรไกรลาศ Copyright (c) 2024 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 12 1 71 78 การพัฒนาและออกแบบเครื่องอบแห้งพลังงานชีวมวลและขดลวดไฟฟ้า สำหรับการอบแห้ง https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/fit-ssru/article/view/256774 <p>งานวิจัยนี้เป็นการออกแบบและพัฒนาเครื่องอบแห้งพลังงานชีวมวลและขดลวดไฟฟ้า โดยมีเตาชีวมวลเป็นแหล่งผลิตความร้อน อบให้ความร้อนแก่อากาศในถังใส่ท่อแลกเปลี่ยนความร้อนเพื่อทำให้อากาศร้อนและถูกนำไปใช้ในการอบแห้งผลิตภัณฑ์โดยพัดลมดูดอากาศ สามารถระเหยน้ำออกจากผลิตภัณฑ์ที่อบแห้ง พลังงานความร้อนที่ใช้คิดเป็น เมกะจูล/แบทช์ ความสามารถในการอบคิดเป็นกิโลกรัม/ครั้ง โดยเวลาอบแห้งคิดเป็นชั่วโมง โดยขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่ใช้อบ สามารถผลิตผลิตภัณฑ์อบแห้งเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่ขึ้นกับสภาวะดินฟ้า อากาศ หรือในกรณีที่ความร้อนจากเตาชีวมวลมีไม่เพียงพอจะใช้พลังงานเสริมด้วยขดลวดไฟฟ้า ส่วนประกอบของเครื่องอบแห้งพลังงานชีวมวลและขดลวดไฟฟ้ามีขนาดของเครื่องดังนี้ ตู้อบแห้งแบบขดลวดไฟฟ้ามีความกว้าง 0.55 เมตร ความยาว 0.7 เมตร ความสูง 1.4 เมตร และมีความจุห้องอบแห้ง 0.42 ลูกบาศก์เมตร โดยประมาณใช้ขดลวดไฟฟ้าขนาด 3,000 วัตต์ จำนวน 1 หัว เป็นแหล่งกำเนิดความร้อน มีเตาชีวมวลแบบไหลขึ้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.585 เมตร ความสูงรวมปล่อง 2 เมตร โดยประมาณ มีเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบท่อติดครีบ จำนวน 4 ท่อวางขนานกัน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อ 40 มิลลิเมตร ความยาวท่อรวม 1,760 มิลลิเมตร เมื่อทดลองอบแห้งด้วยพลังงานชีวมวลเพียงแบบเดียวพบว่าอัตราการอบแห้งเฉลี่ยเป็น 68.89 water/kg d.s/min m<sup>2</sup> ซึ่งเป็นค่าที่ต่ำที่สุดและใช้เวลา 30 นาที ใช้เชื้อเพลิง 3.2 กิโลกรัม ดังนั้นควรเลือกใช้เครื่องอบแห้งพลังงานผสมผสานนี้ให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานจริง จะเป็นการใช้พลังงานได้มีประสิทธิภาพสูงที่สุดและเหมาะสม สำหรับการใช้ ขดลวดไฟฟ้านั้นใช้เพื่อช่วยให้การอบลดความชื้นเป็นอย่างต่อเนื่อง สามารถใช้ชีวมวลเป็นพลังงานเสริมได้ หรือช่วยเพิ่มช่วยเพิ่มอุณหภูมิในตู้อบเพื่อลดระยะเวลาในการอบผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร</p> กฤษฎางค์ ศุกระมูล จารุนันท์ ไชยนาม สุภณิดา พัฒธร ศักย บุญชูวิทย์ อุชา โพธิ์สุวรรณ์ ณัฏฐิรา ศุขไพบูลย์ Copyright (c) 2024 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 12 1 79 92 การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารที่ระดับการพัฒนาต่างกันเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการคำนวณปริมาณวัสดุสำหรับผนังก่ออิฐฉาบปูน https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/fit-ssru/article/view/257132 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและเปรียบเทียบแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) ที่ระดับการพัฒนา (Level of Development: LOD) LOD300 และ LOD400 ของอาคารพักอาศัยกึ่งสำนักงาน 7 ชั้น โดยใช้โปรแกรม Autodesk Revit และถอดปริมาณวัสดุของผนังก่ออิฐฉาบปูน เพื่อเปรียบเทียบกับปริมาณวัสดุที่ถอดจากแบบก่อสร้าง 2 มิติ ที่ผู้รับเหมาได้คำนวณไว้ ผลการวิจัยพบว่า ค่าความคลาดเคลื่อนของปริมาณวัสดุจาก BOQ (Bill of Quantities) กับแบบจำลอง LOD300 ของปริมาณงานก่อผนังหนา 100 มม. เท่ากับ 3.98% ปริมาณงานก่อผนังหนา 200 มม. เท่ากับ 11.24% ปริมาณงานฉาบผนัง เท่ากับ 38.85% และที่ระดับ LOD400 ของปริมาณงานก่อผนังหนา 100 มม. เท่ากับ 10.54% ปริมาณงานก่อผนังหนา 200 มม. เท่ากับ 19.18% ปริมาณงานฉาบผนัง เท่ากับ 38.85% และปริมาณงานเสาเอ็น-คานทับหลัง เท่ากับ 0.95% นอกจากนี้ยังพบว่าสมการถดถอยเชิงเส้นที่สร้างขึ้นสามารถทำนายปริมาณวัสดุได้อย่างแม่นยำ โดยมี R<sup>2</sup> อยู่ระหว่าง 0.9942 ถึง 1 ซึ่งจะช่วยลดความคลาดเคลื่อนในการคำนวณปริมาณวัสดุได้อย่างมีนัยสำคัญ</p> ไพจิตร ผาวัน วริสรา เลิศไพฑูรย์พันธ์ Copyright (c) 2024 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 12 1 93 103