การพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับชุดกับดักผีเสื้อกลางคืน ในสวนทุเรียนอำเภอลับแล

Main Article Content

วีระพล คงนุ่น

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ปัญหาการแพร่ระบาดของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ทำให้ผลผลิตทุเรียนในพื้นที่ไม่มีคุณภาพ ส่งผลกระทบต่อรายได้และความน่าเชื่อถือของเกษตรกรเป็นอย่างมาก โครงการวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาและวิจัยเพื่อช่วยกำจัดวงจรชีวิตของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนในสวนทุเรียนที่มีลักษณะเป็นเนินเขาสูง โดยมีการออกแบบการทดลองตามระดับความสูงของเนินเขาจำนวน 3 ระดับคือ ระดับบน ระดับกลาง และระดับล่างของสวนทุเรียน และกำหนดตำแหน่งการติดตั้งชุดกับดักผีเสื้อกลางคืนไว้ระดับละ 2 ตำแหน่ง รวมเป็น 6 ตำแหน่ง


ผลการทดสอบความเป็นไปได้ในการติดตั้งชุดกับดักผีเสื้อกลางคืนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์พบว่า ในระดับบนสุดของสวนทุเรียนมีค่าพลังงานแสงอาทิตย์โดยเฉลี่ยได้มากที่สุดคือ 463.58 W/m2 ทำให้สามารถสะสมปริมาณทางไฟฟ้าได้ 0.779 kWh ต่อวัน ส่วนในระดับล่างสุดของสวนทุเรียนมีค่าพลังงานแสงอาทิตย์โดยเฉลี่ยได้น้อยที่สุดคือ 198.44 W/m2 ทำให้สามารถสะสมปริมาณทางไฟฟ้าได้ 0.421 kWh ต่อวัน ซึ่งเพียงพอสำหรับชุดกับดักผีเสื้อกลางคืนที่มีความต้องการใช้กำลังไฟฟ้า 0.42 kWh ต่อวัน


ผลการเก็บข้อมูลปริมาณและชนิดของแมลงที่พบในถุงกับดักพบว่า ระดับบนสุดของสวนทุเรียนเป็นจุดที่พบปริมาณแมลงมากที่สุด และระดับล่างสุดของสวนทุเรียนเป็นจุดที่พบปริมาณแมลงน้อยที่สุด ช่วงเวลาที่พบปริมาณผีเสื้อกลางคืนจำนวนมากที่สุดคือ 20.00 - 22.00 น. ในสภาพอุณหภูมิอากาศ 28°C ความชื้นอากาศ 70% อุณหภูมิดิน 26°C และความชื้นดิน 30%


 


คำสำคัญ : กับดักผีเสื้อกลางคืน; พลังงานแสงอาทิตย์ ;หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน


Abstract


          During the past few years ago, the epidemic of durian seed borers in Lablae Uttaradit caused durian production in the area have no quality. It affected a lot on farmer’s income and credibility. This research project was aimed to eliminate the life cycle of the durian seed borers in high hillside durian orchard. The experimental design based on the height of the hill with 3 levels; top, middle and lower levels of durian orchard. Then the researcher determine where to install 2 moth trap sets on each levels, in total 6 positions.


          The test result of the possibility of the installing moth trap sets by using electricity from solar cells is found that the most average solar energy at the top level was 463.58 W/m2 which was possible to accumulate the amount of electricity at 0.779 kWh per day. The minimum average solar energy at the lower level was 198.44 W/m2 which was possible to accumulate the amount of electricity at 0.421 kWh per day. These results showed that there was enough energy for the moth trap set which need electric power at 0.42 kWh per day.


The results of the data collection of the insects were found the most in the moth traps at the top level and the least in the moth traps at the lower level. The amount of time a lot of moths is 20:00 to 22:00 hrs. In the air temperature at 28 ° C, 70% humidity, soil temperature of 26 ° C and 30% soil moisture.


 


Keywords: moth trap; solar energy; durian seed borer

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกศล เจริญสม สาวิตรี มาลัยพันธุ์ สุขสวัสดิ์ พลพินิจ กัลยา กลั่นสอน. (2549). ผีเสื้อ. พิพิธภัณฑ์แมลง ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 204 หน้า.

มนัส ดาเกลี้ยง. (2545). พันธุ์ทุเรียนเมืองลับแล. คณะเกษตรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์. โรงพิมพ์ตระกูลไทย, อุตรดิตถ์. 17 หน้า.

ศรุต สุทธิอารมณ์ และมานิตา คงชื่นสิน. (2558). แมลงและศัตรูพืชทุเรียน. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.doa.go.th/hrc/chantaburi/images/files/insect_du.pdf. (21 มกราคม 2558)

วีระพล คงนุ่น สถิต วงศ์แสนศรี และศุภสิน ดีมี. (2557). การออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับโคมไฟถนนแบบ LED กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ วิทยาเขตแพร่.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

kok, L.B. (1996). Seasonal Occurance of the Durian Fruit Borer, Mudaria magniplaga Walker (Lepidoptera: Noctuidae). M.S. Thesis of Agricultural Science, University Pertanian Malaysia, Malasia. 88 p.

Sutrisno, H. (2005). Moth diversity at Sebangau peat swamp and Busang river secondary rain forest, Central kalimantan. Hayati 12(3): 121-126.