กระบวนการสร้างถนนแอสฟัลติกคอนกรีตเพื่อลดปัญหาขยะพลาสติกในชุมชน

Main Article Content

เวชสวรรค์ หล้ากาศ
วรจิตต์ เศรษฐพรรค์
ไกรสร ลักษณ์ศิริ

บทคัดย่อ

Process of Asphaltic Concrete Pavement Construction to

Reduce Plastic Waste Problems in the Community

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษากระบวนการสร้างถนนแอสฟัลติกคอนกรีตด้วยขยะพลาสติกที่ได้จากการคัดแยกขยะภายในชุมชนมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่และพื้นที่ข้างเคียง แล้วนำเอามาเป็นส่วนผสมเพิ่มค่าความเสถียรภาพให้กับถนนแอสฟัลติกคอนกรีต โดยเอาขยะถุงพลาสติกที่คัดแยกได้มาตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผสมกับวัสดุมวลรวมคละและยางแอสฟัลต์ซีเมนต์โดยใช้ความร้อน แล้วนำไปทำเป็นก้อนตัวอย่างเพื่อทดสอบหาคุณสมบัติทางวิศวกรรมในห้องปฏิบัติการโดยวิธีมาร์แชลล์ (Marshall Test) จากนั้นหาส่วนผสมที่เหมาะสมที่สุดตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมทางหลวงเพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้างถนนต้นแบบภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

จากผลการทดลองพบว่าขยะถุงพลาสติกสามารถเพิ่มค่าความเสถียรภาพของถนนแอสฟัลติกคอนกรีตได้สูงถึง 13.4 kN สูงกว่าถนนแอสฟัลติกคอนกรีตธรรมดาที่มีค่าเสถียรภาพเพียง 10.6 kN และสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของกรมทางหลวงที่กำหนดค่าเสถียรภาพไว้ต้องมากกว่า 8.0 kN และที่สำคัญยังทำให้ชุมชนในพื้นที่เป้าหมายลดปริมาณขยะถุงพลาสติกได้มากถึง 4,775.3 kg  นอกจากนี้ยังได้ขยายผลงานวิจัยไปสู่ชุมชนเป้าหมายที่มีศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์สูงสุดทั้ง 4 ภูมิภาคในประเทศไทย

 

คำสำคัญ: แอสฟัลต์คอนกรีต;ขยะถุงพลาสติก; ยางมะตอย; ออกแบบผิวถนนลาดยาง

Abstract

This research investigates asphaltic concrete pavement construction process using plastic wastes which were collected from Chiang Mai Rajabhat University and its neighborhood as an additive. A Job Mix Formula for a regular mixture was established and used as a basis for the design of modified asphaltic concrete samples in which different amount of plastic wastes were added. Marshall Method was used to determine strength and deformation properties of the samples. The specified requirements of Thailand’s Department of Highways were used as a benchmark. The obtained optimum plastic waste content was selected and implemented on a road construction at the Chiang Mai Rajabhat University.

The study results have shown that adding an appropriate amount of plastic wastes to the mixture is capable of increasing the stability value of the pavement to 13.4 kN compared to those of 10.6 kN from the regular mixture and 8.0 kN from Thailand’s Department of Highways standards. An implementation to construct at Chiang Mai Rajabhat University have also shown that adding plastic wastes to asphaltic concrete mixture was able to reduce plastic wastes in the community by as much as 4,775.3 kg. In addition, the technology has also been transferred to the target communities with most potential in all four regions of Thailand.  

 

Keywords: asphaltic concrete; waste plastic bags; bitumen; pavement design

Article Details

บท
บทความวิจัย