รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนภาคปฏิบัติในคลินิกของอาจารย์ใหม่ วิทยาลัยพยาบาลในเขตภาคเหนือ สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

Main Article Content

นิศารัตน์ นาคทั่ง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ   

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนภาคปฏิบัติในคลินิกสำหรับอาจารย์ใหม่ของวิทยาลัยพยาบาลในเขตภาคเหนือ  สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก   ผู้วิจัยดำเนินการตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา  แบ่งออกเป็น  3  ขั้นตอน  คือ 1)   การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะการสอนภาคปฏิบัติในคลินิกของอาจารย์ใหม่ วิทยาลัยพยาบาลในเขตภาคเหนือ  สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก  ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ของวิทยาลัยพยาบาล  สนทนากลุ่มกับอาจารย์ใหม่ของวิทยาลัยพยาบาล  และวิจัยเชิงปริมาณโดยเก็บข้อมูลจากผู้บริหารและอาจารย์ใหม่ของวิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก พบปัญหาในสมรรถนะทั้ง  3  ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้  ด้านทักษะ  และด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล  2) การสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนภาคปฏิบัติในคลินิกสำหรับอาจารย์ใหม่ของวิทยาลัยพยาบาลในเขตภาคเหนือ    สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก    ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 4  ส่วน คือ 1. ปัจจัยนำเข้า (Input) ได้แก่ อาจารย์ใหม่ 2. ปัจจัยกระบวนการ (Process)  ได้แก่  การจัดให้เข้ารับการอบรมต่างๆ  การให้อาจารย์ใหม่ได้รับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น  การพัฒนาสมรรถนะในระหว่างการปฏิบัติการสอนภาคปฏิบัติในคลินิก 3. ปัจจัยผลผลิต (Output) คือ สมรรถนะการสอนภาคปฏิบัติในคลินิกอันเป็นผลจากปัจจัยนำเข้า  และปัจจัยกระบวนการ  และ  4. ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อนำไปพิจารณาในส่วนของปัจจัยกระบวนการและปัจจัยนำเข้าต่อไป 3)  การประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนภาคปฏิบัติในคลินิกสำหรับอาจารย์ใหม่ของวิทยาลัยพยาบาลในเขตภาคเหนือ  สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก พบว่ามีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้และมีประโยชน์  โดยสถานศึกษาควรกำหนดนโยบายและกระบวนการพัฒนาสมรรถสมรรถนะการสอนภาคปฏิบัติในคลินิกของอาจารย์พยาบาลที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม และมีความต่อเนื่องสม่ำเสมอ รวมถึงควรมีการสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอาจารย์พยาบาลเพื่อผลิตอาจารย์พยาบาลที่มีคุณภาพอันนำไปสู่บัณฑิตพยาบาลที่มีคุณภาพออกไปปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขเพื่อสังคมต่อไป

คำสำคัญ สมรรถนะ  การสอนภาคปฏิบัติ  อาจารย์พยาบาล

Abstract

The main purpose of this study was to construct a model for developing the clinical practice teaching competencies for the new nursing instructors in Nursing Colleges in the North under Praboromarajchanok institution. The research and development processes followed 3 steps which were: 1) Studying problems and needs concerning the development of clinical practice teaching competencies of the new nursing instructors. The qualitative research included in depth interview with scholars working on the nursing instructor development, and focus group discussion with the new nursing instructors. The qualitative research was conducted by collecting data from both the executives and the new nursing instructors. 2 ) Constructing a development model of the clinical practice teaching competencies for the new nursing instructors in the Nursing Colleges. The development model of clinical practice teaching competency consisted of four main factors which were : 1. Input referring to the new nursing instructors  2. Process providing training, higher education and development of clinical practice teaching competency during teaching practice; 3. Output including clinical practice teaching competency resulting from the input and the process; and 4. Feedback was opinions about clinical practice teaching competency of the new nursing instructors which were under consideration of experts. The accuracy and propriety evaluation of this model was at the high level. 3 ) Evaluating the development model of clinical practice teaching competency in terms of usefulness and practicable implementation. This model existed to be evaluated as being useful and practicable for implementation.

Keywords: Competency ,  Clinical  practice , Nursing Instructors

Article Details

บท
บทความวิจัย