การพัฒนาระบบบริหารงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์กับสังคม

Main Article Content

รศ.ดร.ฉัตรนภา พรหมมา

บทคัดย่อ

บทนำ

        มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์มีพัฒนาการขับเคลื่อนพันธกิจแบบบูรณาการที่สนองปรัชญาสถาบันอุดมศึกษาเพื่อท้องถิ่นมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยความมุ่งมั่นให้มีวัฒนธรรมองค์กรและมีทักษะแห่งการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่นที่มีกลไกเชิงระบบ ในการสืบสานและพัฒนานวัตกรรม องค์ความรู้ที่ยกระดับคุณภาพต่อเนื่องร่วมกับชุมชนท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก 

         

         จุดเปลี่ยนสำคัญ ปี 2540 – 2550 คือ มหาวิทยาลัยได้ทุนวิจัยเชิงกลยุทธ์เพื่อประเมินสถานภาพองค์ความรู้และพัฒนาชุดโจทย์วิจัยที่สนองต่อเป้าหมายวิสัยทัศน์การพัฒนาพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์จาก สกว.                 ทำให้เกิดการพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัยและเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคีทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง ปี 2551- 2554 มหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนจาก สสส.ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ร่วมกับภาคีเครือข่าย มีการออกแบบการทำงานเพื่อสร้างกลไกเชิงระบบที่เชื่อมงานประกันคุณภาพองค์กรกับการพัฒนาพื้นที่โดยกระบวนการจัดการความรู้อย่างมีส่วนร่วม เป็นการลดช่องว่างที่เคยมีและได้เชื่อมต่อสิ่งดีจากประสบการณ์คนรุ่นเก่า สานพลังทุกคณะร่วมกับองค์กรภาคี  โดยมีการพัฒนากระบวนการคิด  วิธีทำงานของมหาวิทยาลัยกับองค์กรภาคีส่งผลให้เกิดการสานพลังทำงานสู่เป้าหมายร่วมกันทั้งระดับตำบลและจังหวัด  มหาวิทยาลัยได้พัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาพื้นที่โดยความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรภาคีอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงหน่วยจัดการงานวิจัยของทุกคณะ (RMU) กับงานพัฒนาตำบลซึ่งมีหน่วยจัดการความรู้และวิจัยชุมชนของตำบล (TRMU) ทำหน้าที่เชื่อมสถานการณ์ปัญหาจากพื้นที่เพื่อการวิจัยและปฏิบัติพันธกิจแบบบูรณาการอย่างมีส่วนร่วมโดยมีองค์ประกอบหลักของรูปแบบการบริหารจัดการที่เรียกว่า อุตรดิตถ์โมเดล หรือ RICN Model ได้แก่ 1) การสร้างองค์ความรู้และการจัดการความรู้ควบคู่กับการทำงาน (Research : R) 2) การบูรณาการพันธกิจและศาสตร์ทุกสาขากับปัญหาในพื้นที่  (Integration : I) 3) การสื่อสารโดยฐานข้อมูลที่ทันต่อความเปลี่ยนแปลงเพื่อใช้ประโยชน์  (Communication : C)  และ 4) เครือข่ายการเรียนรู้และการทำงานทั้งภายในและภายนอกสู่เป้าหมายร่วมพัฒนา  (Network : N) 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความรับเชิญ