การศึกษาการแปรรูปเปลือกหอยเชลล์ฝาแดงเพื่อพัฒนาเป็นของที่ระลึกชุมชน

Main Article Content

ภัทรา ศรีสุโข
กิตติรัตน์ รุ่งรัตนาอุบล
นฤมล เลิศคำฟู
ภัทรบดี พิมพ์กิ
สุรพงษ์ ปัญญาทา
วรฉัตร อังคะหิรัญ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแปรรูปเปลือกหอยเซลล์ฝาแดงบดเป็นดินปั้นที่เหมาะสมในการขึ้นรูป เพื่อศึกษาลักษณะการขึ้นรูปและค่าสีของดินปั้นจากเปลือกหอยเชลล์ และเพื่อถ่ายทอดกระบวนการทำและผลิตภัณฑ์ต้นแบบของที่ระลึกจากเปลือกหอยเชลล์สู่ชุมชน งานวิจัยแบบทดลองมีวิธีดำเนินการวิจัยศึกษาอัตราส่วนสูตรเปลือกหอยเชลล์ฝาแดงบด ร้อยละ  50, 60, 70, 80, 90 และ100 แต่ละสูตรมีการเพิ่มลดปริมาณระหว่างแป้งข้าวเหนียวกับแป้งข้าวโพดร้อยละ 10 รวมทั้งหมด 23 สูตร ทุกสูตรใส่สารกันบูด สารกันรา เบบี้ออยล์ กาวลาเท็กซ์ นวดผสมเป็นเนื้อเดียวกัน ศึกษาการขึ้นรูปและวัดค่าสีของดินปั้นจากเปลือกหอยเชลล์ฝาแดงที่สามารถปั้นเป็นเส้นม้วนเป็นรูปก้นหอยได้ ขณะปั้นขึ้นรูป ปั้นง่าย ไม่ติดมือ เมื่อแห้งคงรูป ไม่มีรอยแตกร้าว มีเฉดสีที่ชัดเจนโดยวัดค่าสี จากนั้นถ่ายทอดกระบวนการทำและผลิตภัณฑ์ต้นแบบของที่ระลึกประเภทพวงกุญแจสู่ตัวแทนวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยวชุมชนจำนวน 10 คน ผลการศึกษาสูตรเหมาะสมที่สุด คือ เปลือกหอยเชลล์ฝาแดงบดร้อยละ 80 แป้งข้าวโพดร้อยละ 10 แป้งข้าวเหนียวร้อยละ 10 เมื่อแห้งสนิทได้สีโทนชมพูมีค่าสี L*=79.04±1.92, a*=9.65±0.07, b*=3.69±0.15 ผลจากการขึ้นรูป พบว่า ทุกสูตรดินปั้นจากเปลือกหอยเชลล์ฝาแดงสามารถปั้นเป็นเส้นและขดเป็นรูปก้นหอยได้ เมื่อแห้งสนิทไม่เกิดรอยแตกร้าว รูปทรงตามแบบแต่มีความยากง่ายขณะปั้นขึ้นรูปและความสมบูรณ์ของชิ้นงานแตกต่างกันแป้งข้าวโพดทำให้เนื้อดินขณะปั้นมีความนิ่ม ผิวเรียบเนียน แป้งข้าวเหนียวทำให้มีความยืดหยุ่น ถ้าใส่ปริมาณมากขณะปั้นจัดรูปทรงจับแล้วยุบตัวง่าย แต่ถ้ามีเปลือกหอยเชลล์ฝาแดงบดปริมาณมากทำให้ความเหนียวลดขณะปั้นเป็นเส้นขาดง่าย และผลการถ่ายทอดกระบวนการทำนี้นำมาสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบพวงกุญแจประดับดินปั้นจากเปลือกหอยเชลล์รูปทรงต่างๆ เพื่อจำหน่ายเป็นของที่ระลึกของวิสาหกิจชุมชน อีกทั้งองค์ความรู้นี้ไปต่อยอดในการทำเป็นอาชีพเสริมเพิ่มมูลค่า สร้างรายได้เพิ่ม และสร้างกิจกรรมใหม่สำหรับการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนตำบลน้ำเชี่ยว

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติกรณ์ บำรุงบุญ และปิยลักษณ์ โพธิวรรณ. (2564), การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคาม เพื่อยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจ, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 40(2), 7-24.

ชลิต เฉียบพิมาย, เฉลิมเกียรติ เฟื่องแก้ว, และสุเมษย์ หนกหลัง. (2564). กระบวนการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 4(2), 151-165.

ภัทรา ศรีสุโข , กิตติรัตน์ รุ่งรัตนาอุบล, นฤมล เลิศคำฟู, ภัทรบดี พิมพ์กิ, และสุรพงษ์ ปัญญาทา. (2565). ศึกษาและทดลองการแปรรูปเปลือกหอยแมลงภู่บดเหลือทิ้งเพื่อการผลิตดินปั้นสำหรับงานเครื่องประดับเพื่อชุมชน (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ภัทรา ศรีสุโข, กิตติรัตน์ รุ่งรัตนาอุบล, นฤมล เลิศคำฟู, ภัทรบดี พิมพ์กิ, และสุรพงษ์ ปัญญาทา. (2566). การพัฒนาดินปั้นงานเครื่องประดับจากเปลือกหอยแมลงภู่บดเหลือทิ้ง สำหรับวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด, วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 18(2), 75-84.

เมธินี ทะนงกิจ, ฐาศุกร์ จันประเสริฐ, และศยามล เอกะกุลานันต์. (2561). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 14(1), 77–109.

วันทนา อยู่สุข และธีระพงศ์ ด้วงดี. (2552). หอยในทะเลไทย. ใน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ (เล่ม 34, หน้า 173-174). มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. https://www.saranukromthai.or.th/sub/ book/book.php?book=34&chap=5&page=t34-5-infodetail05.html

สาทินี วัฒนกิจ และวรสุดา ขวัญสุวรรณ. (2564). การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือทิ้งสู่ผลิตภัณฑ์ออกแบบตกแต่ง: ชุมชนต้นแบบเทศบาลเมืองเขารูปช้าง. วาสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง, 3(2), 13–27.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดตราด. (2565, 1 มีนาคม). พช. ตราด ร่วมต้อนรับอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ. https://trat.cdd.go.th/2022/03/01

โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล, อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์, และสริดา จารุศรีกมล. (2562, 26 เมษายน). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดินปั้นจากกากมะตูม [การนำเสนอบทความ]. งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต. https://rsucon.rsu.ac.th/files/proceedings/nation2019/NA19-073.pdf

Cabacaba, Nonita S., Boiser, Ed-Marie B., Badocdoc, Kimberly A., & Campo, Cristan Joy M. (2020). Breeding and larval rearing of Asian moon scallop Amusium pleuronectes in eastern samar, Phillippined. The Philippine Journal of Fisheries, 27(1), 104-120. https://doi.org/10.31398/tpjf/27.1.2019A0008

Zhang, C., & Zhang, R. (2006). Matrix proteins in the outer shells of molluscs. Marine Biotechnology, 8, 572-586. https://doi.org/10.1007/s10126-005-6029-6