การเพิ่มประสิทธิภาพคุณภาพยางก้อนถ้วยด้วยช้อนคนยางและกรดฟอร์มิก 7%

Main Article Content

น้องนุช สารภี
ปิยรัตน์ มีแก้ว
ยุพเยาว์ โตคีรี
ชัยพันธุ์ สารภี
กชนิภา อุดมทวี
จุฑามาส อยู่มาก
ดวงตา โนวาเชค

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งของยางก้อนถ้วยและเพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติต่างๆ ของยางก้อนถ้วยที่ใช้ช้อนคนน้ำยางกับกรดฟอร์มิก 7% ในการศึกษาเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งนั้น เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเป็นเกษตรกรชาวสวนยางจำนวน 30 ราย จากนั้น สุ่มเก็บตัวอย่างยางก้อนถ้วยตามสะดวกจากเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างรายละ 10 กิโลกรัม จำนวน 3 ซ้ำ รวมตัวอย่างยางก้อนถ้วยรายละ 30 กิโลกรัม นำยางไปรีดด้วยเครื่องเครพ ผึ่งไว้ในที่ร่มและเข้าเตาอบจนแห้ง ชั่งน้ำหนัก และคำนวณเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง สำหรับการวิเคราะห์คุณสมบัติยางก้อนถ้วยนั้น เก็บตัวอย่างยางก้อนถ้วยจากกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางจาก 6 สถาบันที่ผ่านการฝึกอบรมการทำยางก้อนถ้วยด้วยการใช้ช้อนคนน้ำยางร่วมกับกรดฟอร์มิก 7% จากนั้น สุ่มเก็บตัวอย่างจากเกษตรกรรายละ 3 กิโลกรัม นำตัวอย่างยางก้อนถ้วยทั้งหมดคละรวมกันและเก็บตัวอย่างตามสะดวกให้ได้ 10 กิโลกรัมต่อสถาบัน โดยวิเคราะห์คุณสมบัติยางก้อนถ้วย 7 ด้าน ในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ปริมาณสิ่งสกปรก ปริมาณสิ่งระเหย ปริมาณเถ้า ปริมาณไนโตรเจน ความอ่อนตัวเริ่มแรกของยาง ดัชนีความอ่อนตัวของยาง และความหนืด นำผลการวิเคราะห์ที่ได้ไปเปรียบเทียบคุณสมบัติของเนื้อยางกับค่ามาตรฐานคุณสมบัติของยางแท่งเอสทีอาร์ 10 และเอสทีอาร์ 20 ผลการศึกษา พบว่า ยางก้อนถ้วยมีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง 8.39% (S.D. = 0.25) มีค่าเฉลี่ยรายบุคคลต่ำสุด 8.03% และค่าเฉลี่ยรายบุคคลสูงสุด 8.87% สำหรับผลการวิเคราะห์คุณสมบัติต่างๆ ของยางก้อนถ้วย พบว่า ผลทดสอบของทั้ง 6 สถาบันผ่านเกณฑ์มาตรฐานยางแท่งเอสทีอาร์ 20 ทุกรายการ และมีคุณสมบัติ 2 ประการที่จะต้องพัฒนาเพื่อให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานยางแท่งเอสทีอาร์ 10 คือ ค่าปริมาณสิ่งสกปรกและดัชนีความอ่อนตัวของยาง ผลจากการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่า ถ้าเกษตรกรนำเทคนิคการใช้ช้อนคนน้ำยางร่วมกับการใช้กรดฟอร์มิก 7% อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่สำคัญของหลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม จะทำให้ผลผลิตยางก้อนถ้วยมีคุณภาพดีขึ้น และส่งผลต่อความมั่นคงของราคาและเกิดความยั่งยืนในการประกอบอาชีพต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
สารภี น., มีแก้ว ป., โตคีรี ย., สารภี ช., อุดมทวี ก., อยู่มาก จ., & โนวาเชค ด. (2024). การเพิ่มประสิทธิภาพคุณภาพยางก้อนถ้วยด้วยช้อนคนยางและกรดฟอร์มิก 7%. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 19(2), 43–53. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/255469
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร กองการยาง. (2561). การทดสอบตามมาตรฐานยางแท่งเอสทีอาร์ Testing for Thai Rubber (STR). กรมวิชาการเกษตร.

คมศักดิ์ หารไชย และเกียรติพงษ์ อ่อนบัตร. (2556, 6-7 ธันวาคม). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ค่าเปอร์เซ็นต์

DRC กับความแข็ง ของยางก้อนถ้วย [การนำเสนอบทความ]. การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 10. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

ฉัตรชัย สังข์ผุด, สุจารี แก้วคง, วรรณชัย พรหมเกิด, และกฤษฎา ธารพงศ์ทรัพย์. (2564). ผลของการใช้น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้และวัสดุเศษเหลือผลไม้ในท้องถิ่นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการจับตัวของยางก้อนถ้วย. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 40(2), 82-96.

น้องนุช สารภี, ปิยรัตน์ มีแก้ว, ยุพเยาว์ โตคีรี, และชัยพันธุ สารภี. (2562). คู่มือการทำยางก้อนถ้วยเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตอย่างยั่งยืน. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

น้องนุช สารภี, ปิยรัตน์ มีแก้ว, ยุพเยาว์ โตคีรี, ชัยพันธุ สารภี, ดวงตา โนวาเชค, กชนิภา อุดมทวี และจุฑามาส

อยู่มาก. (2565). การพัฒนาการผลิตยางก้อนถ้วยด้วยนวัตกรรมช้อนคนน้ำยางเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ

ฐานรากของเกษตรกรชาวสวนยาง. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับยางพารา เล่ม 2 : การผลิตยางก้อนถ้วยตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551. (2563, 27 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 197 ง. หน้า 2-6.

ปรีดาวรรณ ไชยศรีชลธาร, ชูศักดิ์ ชวประดิษฐ์, จิรวัสส์ เจียตระกูล, พงษ์รวี นามวงศ์, และเกษตร แนบสนิท. (2560, 7-9 กันยายน). การศึกษาหัววัดเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในยางก้อนถ้วยโดยค่าทางไฟฟ้า [การนำเสนอบทความ]. การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยระดับชาติ ครั้งที่ 18 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปี 2560. สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย.

ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล และธมลวรรณ โทนุสิน. (2561). จาก GAP สู่ GMP ตอนที่ 1: การผลิตยางก้อนถ้วยมาตรฐาน GAP. วารสารยางพารา, 33 (2), 16-25.

ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล, พิศิษฐ์ พิมพ์รัตน์, และบัญชา สมบูรณ์สุข. (2566). ผลกระทบของยางแท่งที่ใช้สารปลอมปนในการจับตัวยางก้อนถ้วย. วารสารแก่นเกษตร, 51(2), 309-318.

ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล. (2555). มหันตภัยร้ายของเกลือแคลเซียมในการผลิตยางก้อนถ้วย. วารสารยางพารา, 33(2), 23-27.

ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล. (2560, 12 ธันวาคม). เอกสารแนะนำสำหรับชาวสวนยาง คู่มือการทำยางก้อนถ้วยคุณภาพดี. การยางแห่งประเทศไทย. https://www.raot.co.th/ewt_dl_link.php?nid=4911

ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล. (2566, 18 เมษายน). ยกระดับการผลิตยางก้อนถ้วยเข้าสูมาตรฐาน GAP. การยางแห่งประเทศไทย. https://www.raot.co.th/ewt_dl_link.php?nid=6676&filename=index

พิศิษฐ์ พิมพ์รัตน์, วรพงษ์ พูลสวัสดิ์ และกรรณิการ์ สหกะโร. (2564). องค์ประกอบทางเคมีของสารจับตัวยาง

ก้อนถ้วยเกรดทางการค้า และผลที่มีต่อสมบัติยางแท่งเอสทีอาร์ 20. วารสารยางพารา, 42(2), 2-10.

สหกรณ์สวนยาง ละหานทราย. (2566, 24 พฤศจิกายน). พบกันนะคะ 26-11-66 เปิดรับยางปกติกับยางคุณภาพบวก 2 บาท. [Status Update]. Facebook. https://www.facebook.com/share/p/bSqHkiZQMRo6CDsj/

Tassanakul, P., & Somboonsuke, B. (2022). The impact on properties of block rubber of using adulterated coagulants in cup lumps of natural rubber. ASEAN J. Sci. Tech. Report., 25(2), 31-38.