ผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองต่อความรู้ เจตคติ และทักษะ การตรวจเต้านมด้วยตนเองของนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง โดยเปรียบเทียบความรู้ เจตคติเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม และทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองของนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ประชากรคือนักศึกษาหญิงสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 114 คน วิจัยนี้มีลักษณะเป็นแบบกึ่งทดลองที่นำนักศึกษามาเข้าร่วมโปรแกรมฯ ซึ่งแบ่งตามกลุ่มเรียนโดยมีจำนวนนักศึกษาจำนวน 30 คนต่อกลุ่ม โปรแกรมมีระยะเวลาทั้งหมด 4 ครั้งโดยแต่ละครั้งมีระยะเวลา 2 ชั่วโมง โดยโปรแกรมฯ ประกอบด้วยการบรรยายเชิงกลุ่ม การสาธิตและการฝึกปฏิบัติการตรวจเต้านมด้วยตนเอง โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อนำเสนอข้อมูลทั่วไปโดยใช้การแจกแจงความถี่
ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบค่าที (Paired sample t-test) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ เจตคติ เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม และทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ นักศึกษามีความรู้ เจตคติ และทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ที่ระดับ 0.05 (µ =15.5, 16.5 µ = 47.2, 50.4 และ µ = 1.8, 4.0 ตามลำดับ) ผลการศึกษานี้เป็นแนวทางที่มีความสำคัญในการนำโปรแกรมฯ ไปใช้ในการสอนการตรวจเต้านมด้วยตนเองและการพัฒนาทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองให้กับนักศึกษาในหลักสูตรอื่นๆ และบุคลากรทางด้านสุขภาพ เพื่อให้พัฒนาทักษะของตนเองและสามารถสอนการตรวจเต้านมด้วยตนเองให้กับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการแพทย์. (2565, 27 มีนาคม). กรมการแพทย์เผยภัยของมะเร็งเต้านมพบมากเป็นอันดับ 1 ของมะเร็งในผู้หญิงไทย. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. https://www.hfocus.org/content/2022/03/24791
กันยา นันต๊ะแก้ว, แววดาว คำเขียว, ประกายดาว สุทธิ, และอุไรวรรณ สาสังข์. (2559). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้และพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองในนิสิตพยาบาลมหาวิทยาลัยพะ-เยา. วารสารสภาการพยาบาล, 31(2), 69-80.
ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล. (2559). ประสิทธิผลของการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอร่วมกับการใช้สมุดบันทึกการตรวจเต้านมด้วยตนเองในการคัดกรองมะเร็งเต้านมในประเทศไทย: การศึกษาไปข้างหน้า (รายงานการวิจัย). ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล. (2565, 20 มกราคม). ภาพรวมของสถานการณ์ และยุทธศาสตร์ในการควบคุมมะเร็งเต้านม. โครงการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จย่าต้านภัยมะเร็งเต้านม.https://doh.hpc.go.th/bse/issueDisplay.php?id=631&category=C10&issue=Breast%20Cancer.
ณัฐธยาน์ ชาบัวคำ, สุภารัตน์ พิสัยพันธุ์, และภาวิณี หาระสาร. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองและพฤติกรรมเกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยผู้ใหญ่ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานีจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(3), 166-176.
น้ำอ้อย ภักดีวงศ์ และนวรัตน์ โกมลวิภาต. (2561). ความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพ การรับรู้ความสามารถตนเองและพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของนักศึกษาหญิงที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกาเอกชนแห่งประเทศไทย, 7(1), 57-70.
วรรณี ศักดิ์ศิริ. (2557). ความรู้ เจตคติเกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนคา (รายงานวิจัย). โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนคา อำเภอทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช.
วราพร วิริยะอลงกรณ์, กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์, วีรศักดิ์ เมืองไพศาล, และสืบวงศ์ จุฑาภิสิทธิ์. (2558). ผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองต่อความรู้เจตคติ และความถูกต้องในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ของสตรีอาสาสมัครสาธารณสุข อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 15(2), 282-290.
วัชรีวงค์ หวังมั่น, ดวงกมล ปนเฉลียว, และทิพย์ฆัมพร เกษโกมล. (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน ในการตรวจเต้านมด้วยตนเองร่วมกับแอปพลิเคชันไลน์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดสุรินทร์. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 11(1), 1–14.
ศรัญญา งามนิมิตร. (2565). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเองต่อทักษะการตรวจเต้านมและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเต้านมของสตรีกลุ่มเสี่ยง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 49(1), 148-159.
ศุภรัตน์ แจ่มแจ้ง, วิรดา อรรถเมธากุล, และศิวะพร ประยูรเทพ. (2562). ผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ต่อความรู้ เจตคติและทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 13(4), 77–91.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติและศูนย์มะเร็งภูมิภาค. (2565). การตรวจเต้านมด้วยตนเอง. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. https://www.nci.go.th/th/Knowledge/downloads/ตรวจเต้านม.pdf.
สุวลักษณ์ วงศ์จรรโลงศิล และบัวหลวง สำแดงฤทธิ์. (2562). สาเหตุของการเข้ารับการรักษาล่าช้าใน สตรีไทยที่เป็นมะเร็งเต้านม ในโรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(3), 201-210.
Best, J. W. (1977). Research in education. (3rd ed.). Prentice Hall.
Bloom, B. S., Engelhart, M. D., Furst, E. J., Hill, W. H., & Krathwohl, D. R. (1956). Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals, handbook 1: Cognitive Domain. David Mckay.
Dadzi, R., & Adam, A. (2019). Assessment of knowledge and practice of breast self- examination among reproductive age women in Akatsi South district of Volta region of Ghana. PloS One, 14(12). https://doi.org/10.1371/journal.pone.0226925
Zejda, J. E., & Kaleta, A. (2020). Modes of early detection of breast cancer in Katowice Region, Poland. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17(8), 2-7. https://doi.org/10.3390/ijerph17082642