การพัฒนาเนื้อดินและเคลือบสังคโลกจากส่วนผสมขวดแก้วสีสำหรับผลิตกระเบื้องตกแต่งอาคาร สู่การจำหน่ายเชิงพาณิชย์โดยการต่อยอดภูมิปัญญาเครื่องสังคโลก จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

สนิท ปิ่นสกุล
ชาติชาย จันทร์ประทีป

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดลองส่วนผสมและทดสอบสมบัติทางกายภาพของเนื้อดินและเคลือบสังคโลกจากส่วนผสมของขวดแก้วสี เพื่อผลิตกระเบื้องตกแต่งอาคารที่มีส่วนผสมของขวดแก้วสี และเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคจำนวน 50 คนที่มีต่อผลิตภัณฑ์กระเบื้องตกแต่งอาคาร วัตถุดิบที่ใช้ทดลองเนื้อดิน คือ ดินเขาสี่ล้าน ดินหน้านา และขวดแก้วสีเขียว ส่วนวัตถุดิบที่ใช้ทดลองเคลือบ คือ ดินเขาสี่ล้าน หินฟันม้า หินปูน และขวดแก้วสีเขียว โดยเนื้อดินและเคลือบทุกสูตร ถูกเผาที่อุณหภูมิ 1,220 องศาเซลเซียส บรรยากาศการเผาไหม้แบบสมบูรณ์ ลวดลายกระเบื้องออกแบบร่วมกับผู้ประกอบการโดยการนำอัตลักษณ์สังคโลกมาเป็นแนวคิดในการออกแบบ แล้วคัดเลือกต้นแบบจำนวน 10 แบบ นำมาขึ้นรูปเป็นแผ่นกระเบื้องและนำไปประเมินความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่าเนื้อดินและเคลือบสูตรที่มีสมบัติทางกายภาพเหมาะสม สำหรับผลิตกระเบื้อง คือ เนื้อดินสูตรที่ 3 และเคลือบสูตรที่ 1 โดยเนื้อดินสูตรที่ 3 มีส่วนผสมของดินเขาสี่ล้านร้อยละ 70 ดินหน้านาร้อยละ 20 และขวดแก้วสีเขียวร้อยละ 10 หลังเผามีความหดตัวเฉลี่ยร้อยละ 7.79 ความแข็งแรงเฉลี่ย 184.14 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร การดูดซึมน้ำเฉลี่ยร้อยละ 1.34 เนื้อดินทนความร้อนที่อุณหภูมิ 1,220 องศาเซลเซียสได้และมีสีน้ำตาล ส่วนเคลือบสูตรที่ 1 มีส่วนผสมของขวดแก้วสีเขียวร้อยละ 75 หินปูนร้อยละ 5 หินฟันม้าร้อยละ 20 และเพิ่มเติมดินเขาสี่ล้านร้อยละ 3 เคลือบมันแวววาว ผิวราน มีสีเขียวใสและมีการไหลตัวที่ 4.67 เซนติเมตร การออกแบบลวดลายกระเบื้องได้นำอัตลักษณ์ลายปลา ลายพรรณพฤกษาของสังคโลกมาประยุกต์เป็นลวดลายบนผิวกระเบื้องทั้ง 10 แบบ ผลการประเมินความพึงพอใจโดยรวมของกระเบื้องทั้งหมด มีค่ามากกว่า 4.22±0.19 อยู่ในระดับมาก ผู้วิจัยได้ถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้ประโยชน์จากขยะขวดแก้วสีเขียวในชุมชนนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสังคโลกให้กับผู้ประกอบการผลิตสังคโลกในจังหวัดสุโขทัย งานวิจัยนี้สามารถลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ปิ่นสกุล ส., & จันทร์ประทีป ช. (2024). การพัฒนาเนื้อดินและเคลือบสังคโลกจากส่วนผสมขวดแก้วสีสำหรับผลิตกระเบื้องตกแต่งอาคาร สู่การจำหน่ายเชิงพาณิชย์โดยการต่อยอดภูมิปัญญาเครื่องสังคโลก จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 19(2), 66–81. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/254811
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิทยาศาสตร์บริการ. (2563). ความรู้ทั่วไปด้านแก้ว. http://otop.dss.go.th/index.php/en/knowledge/

interesting- articles /136-2017-05-31-06-33-45

โกมล รักษ์วงศ์. (2531). วัตถุดิบที่ใช้ในงานเครื่องปั้นดินเผาและเนื้อดินปั้น. วิทยาลัยครูพระนคร.

ธนสิทธิ์ จันทะรี. (2552). เครื่องปั้นดินเผาขั้นพื้นฐาน. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิดดา หงษ์วิวัฒน์. (2554). เครื่องปั้นดินเผา. คติ.

ปรีดา พิมพ์ขาวขำ. (2539). เซรามิกส์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์. (2538). เครื่องเคลือบดินเผาเทคนิคและวิธีการสร้างสรรค์. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2541). เนื้อดินเซรามิก. โอเดียนสโตร์.

ไพบูลย์ หน้าสมศรี. (2552). เคลือบสีแดงของทองแดง. โอเดียนสโตร์.

ภุชชงค์ จันทวิช. (2551). เครื่องถ้วยในประเทศไทย “เครื่องถ้วยเบญจรงค์”. เมืองโบราณ.

สุขุมาล เล็กสวัสดิ์. (2548). เครื่องปั้นดินเผา พื้นฐานการออกแบบและปฏิบัติงาน. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรศักดิ์ โกสิยพันธ์. (2534). น้ำเคลือบเครื่องปั้นดินเผา. ไทยวัฒนาพานิช.

ปวิตา ลิขิตเดชาโรจน์. (2565, 18 กุมภาพันธ์). แก้ว. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ. https://www.nsm.or.th/nsm/th/node/9948

Andrews, A. I. (1928). Ceramic test and calculation. John Milley and Sons.

Rhodes, Danial. (1973). Clay and Glazes for the Potter. Chilton Book.