ปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

จุฑามาศ เมืองมูล
พัชรินทร์ วินยางค์กูล
พิณัฏฐิณีย์ จิตคำ
อนุสรา บุญจิตร
วัชรพงษ์ เรือนคำ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จังหวัดเชียงราย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังในจังหวัดเชียงราย การวิจัยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย ออกเป็น 4 เขต ตามการดำเนินงานด้านสาธารณสุขของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย และทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลากอำเภอในจังหวัดเชียงราย อัตราส่วน 5:1 จากทั้งหมด 18 อำเภอ และจับสลากตำบล อัตราส่วน 5:1 พบว่า ตำบลที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 8 ตำบล ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความเครียดสวนปรุง จำนวน 20 ข้อ แบบวัดความวิตกกังวล จำนวน 20 ข้อ และแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย จำนวน 15 ข้อ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 204 คน คิดเป็นร้อยละ 51.0 อายุเฉลี่ย 68.2 ปี ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 60-69 ปี จำนวน 206 คน ร้อยละ 51.5 การศึกษาส่วนใหญ่จบระดับประถมศึกษา จำนวน 128 คน ร้อยละ 32.0 ระดับความเครียดของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 195 คน ร้อยละ 48.8 ระดับความวิตกกังวลของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง อยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 205 คน ร้อยละ 51.2 ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ส่วนใหญ่มีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย จำนวน 206 คน ร้อยละ 51.5 ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง พบว่าเพศมีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิตทั้งสามด้าน ส่วนความสัมพันธ์ในครอบครัวมีความสัมพันธ์กับความเครียด ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรคัดกรอง เฝ้าระวัง สร้างกิจกรรมพิเศษ กลุ่มผู้ป่วยผู้สูงอายุเรื้อรังในเรื่องเพศและมีประวัติเป็นโรคเรื้อรัง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการดูแลทางด้านสังคมจิตใจของผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิต (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1). (พิมพ์ครั้งที่ 4). ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมกิจการผู้สูงอายุุ. (2566). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565. อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน).

กุลธิดา ดวงเนตร. (2564). ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในหน่วยงานบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 36(1), 13-24.

ขนิษฐา ตลอดภพ, วรรณภา ประทุมโทน, อังคณา เรือนก้อน, และเริงนภรณ์ โม้พวง. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของผู้สูงอายุ ต.บ้านคลอง อ.เมือง จ.พิษณุโลก. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร ฉบับพิเศษ การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5, 174-179.

คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนกาารสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2561). เรียนรู้เข้าใจวัยสูงอายุ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. ผู้แต่ง.

ชนัตต์ โอฬารธนาเศรษฐ์. (2566). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของประชาชนเขตศูนย์แพทย์ชุมชนเมือง 2 โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว, 6(2), 179-188.

ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง, ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย, อ้อยทิพย์ บัวจันทร์, และภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ์. (2564). ความเครียดและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 16(2), 78-89.

ดมิสา เพชรทอง, ดาราวดี รักวงค์, นูไรดา แสสาเหตุ, อาริสา พันธุสะ, สมเกียรติยศ วรเดช, และปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. (2563). การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน: ความเครียดและแนวทางการจัดการความเครียด.วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 6(1), 1-11.

นันทิดา ทองอ้ม. (2565). การศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 37(2), 311-320.

ปิติคุณ เสตะปุระ และณัฐธกูล ไชยสงคราม. (2564). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2564. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 16(3), 1070-1084.

พรทิพย์ สารีโส, ปิยะภร ไพรสนธิ์, อุษาษ์ โถหินัง, วรางคณา อ่ำศรีเวียง, และนารีลักษณ์ ฟองรัตน์. (2560). สถานการณ์ ปัญหาสุขภาพและความต้องการการดูแลของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง: เขตเทศบาลเมืองเชียงราย. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 40(2), 85-95.

มกรารัตน์ หวังเจริญ. (2565). ความชุกและปัจจัยที่มีสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชนเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น, 14(2), 50-66.

มาติกา รัตนะ. (2559). ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

[การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5417030417_2978_3953.pdf

มินตรา สาระรักษ์, ญฌา จันทร์ทรง, และสุพรรษา ชูตระกูลกิจ. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี [การนำเสนอโปสเตอร์]. การประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ. วิจัย ครั้งที่ 16. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. https://www.ubu.ac.th/web/files_up/00008f2022090117360648.pdf

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. (2552). คู่มือมาตรฐานและการดำเนินงาน คลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

สายฝน เอกวรางกูร. (2554). รู้จัก เข้าใจ ดูแลภาวะซึมเศร้า. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักสถิติเศรษฐกิจและสังคม. (2559). การสำรวจสุขภาพจิต (ความสุข) คนไทย พ.ศ. 2558. กลุ่มสถิติแรงงาน สำนักสถิติเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สุชาดา แซ่ลิ่ม. (2562). การศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดระนอง. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 33(1), 193-202.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, และพิมพ์มาศ ตาปัญญา. (2540). การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. วารสารสวนปรุง, 13(3), 1-20.

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute (TGRI). (2016). Situation of the Thai elderly 2014. Amarin printing and publishing. https://www.dop.go.th/download/knowledge/knowledge_th_20161608145327_1.pdf

Park, Jong-ll., Park, T. W., Yang, Jong-Chul., & Chung, Sang-Keun. (2016). Factors associated with depression among elderly Koreans: the role of chronic illness, subjective health status, and cognitive impairment. The official journal of the Japanese Psychogeriatrics Society, 16(1), 62-69. https://doi.org/10.1111/psyg.12160

Prasartkul, P. (2016). Situation of the Thai Elderly 2014. Amarin printing and publishing.

Spielberger, C. D. (1983). Manual for the State-Trait-Anxiety Inventory: STAI (form Y). Consulting Psychologists Press.

Wayne, W. D. (1995). Biostatistics: A Foundation for Analysis in the Health Sciences. Biometrical journal, 37(6), 744. https://doi.org/10.1002/bimj.4710370610