การให้บริการเซิร์ฟเวอร์ข้อมูลของภาครัฐด้วยระบบปฏิบัติการ FreeBSD UNIX การให้บริการเซิร์ฟเวอร์ข้อมูลของภาครัฐด้วยระบบปฏิบัติการ FreeBSD UNIX
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในยุคดิจิทัล 4.0 หรือ ดิจิทัลไทยแลนด์ คนไทยมีชีวิตผูกติดกับดิจิทัลมานาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้อินเทอร์เน็ต ซื้อขายออนไลน์ อีคอมเมิร์ซ ทำธุรกรรมการเงินผ่านแอพพลิเคชั่น การสื่อสาร แม้กระทั่งการติดต่อของรับบริการจากภาครัฐ องค์กรภาครัฐได้มีการต้องปรับตัวเพื่อให้เข้ากับยุคของข้อมูลข่าวสารสารสนเทศ ต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลและการให้บริการในรูปแบบต่างๆ ที่ทันสมัยมาขึ้น และให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป องค์กรภาครัฐมีการนำซอฟต์แวร์ต่างๆ มาประยุกต์ใช้งานในการให้บริการประชาชน พร้อมกับเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ผลทางด้านสถิติการให้บริการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการให้บริการของภาครัฐ เช่นการจัดทำเว็บไซต์สำหรับการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร การบริการ และการติดต่อสื่อสาร โดยมีเครื่องแม่ข่ายคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางในการให้บริการต่างๆ ซึ่งเครื่องแม่ข่ายคอมพิวเตอร์ต้องมีการซอฟต์แวร์สำหรับบริการต่างๆ ซอฟต์แวร์ระบบปฏบัติการ (Operating Software) เช่น Unix Linux หรือ Windows ซอฟต์แวร์ให้บริการเว็บ (Web Server) เช่น Apache Tomcat หรือ Nginx ซอฟต์แวร์ให้บริการฐานข้อมูล (Database Server) เช่น MySQL MS-SQL หรือ PostgreSQL ซอฟต์แวร์สำหรับจัดการและบริหารเว็บไซต์ (Content Management System) เช่น Joomla WordPress หรือ PhpBB เป็นต้น ซึ่งองค์กรภาครัฐได้นำมาใช้งานเพื่อต้องการจะเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายในการทำงาน ในการดำเนินการขององค์ภาครัฐ หากได้มีการกำหนดนโยบาย ให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการนำซอฟต์แวร์ประยุกต์มาใช้เพื่อให้บริการด้านต่างๆ มีเครื่องแม่ข่ายเป็นศูนย์กลางในการให้บริการ เลือกซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานบนเครื่องแม่ข่ายที่มีลักษณะเป็น Open Source Software จะช่วยให้ภาครัฐสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายนการจัดซื้อและบำรุงรักษา เนื่องจากซอฟต์แวร์ประเภท Open Source Software มีการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาต่างๆ ร่วมกัน (Community) และไม่เสี่ยงต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ เหมือนซอฟต์แวร์ประเภทเอกสิทธิ์เฉพาะ (Proprietary Software)
Downloads
Article Details
References
กายรัฐ เจริญราษฎร และชาคริต มณีงาม. (2557). การเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บเซิร์ฟเวอร์ ด้วยระบบคลัสเตอร์สองตัว กระจายงาน. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
สมคิด ทุ่นใจ. (2559). Open Source Software: อิสรภาพแห่งการสร้างคุณค่าและพัฒนางานวิจัย.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ . 11 (2): 2-12.
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (2549). ฉลาดเลือก ฉลาดใช้ Open Source Software & Freeware. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปทุมธานี : งานประชาสัมพันธ์ นิทรรศการและสิ่งพิมพ์.
อรวรรณ วงศ์แก้วโพธิ์ทอง. (2553). การขับเคลื่อนธุรกิจด้วยซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส. [ออนไลน์].แหล่งที่มา : https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/jan_mar_10/pdf/50-54.pdf. (3 กุมภาพันธ์ 2561)
MySQL. MySQL in Government. [Online]. แหล่งที่มา: https://www.mysql.com/industry/government/. (March 3, 2018)
Open Source Initiative. Open Standards Compliance. [Online]. แหล่งที่มา: https://opensource.org/osr-compliance. (February10, 2018)
THE APACHE SOFTWARE FOUNDATION. Apache http server project.
[Online]. แหล่งที่มา: https://www.apache.org/. (February 5,2018)
The FreeBSD Project. FreeBSD Handbook. [Online].แหล่งที่มา: https://www.freebsd.org. (February10, 2018)
W3Techs. World Wide Web Technology Surveys. [Online]. แหล่งที่มา: https://w3techs.com. (May 1,2018)