กลุ่มผู้ใช้น้ำในรูปแบบของเครือข่ายกับการรักษาระบบนิเวศน์ในพื้นที่ลุ่มน้ำ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำในเขตภาคเหนือของประเทศไทยมีประชากรตั้งถิ่นฐานตามที่ราบลุ่มน้ำเป็นส่วนใหญ่เพื่ออาศัยน้ำในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพทางการเกษตรมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ลักษณะการตั้งถิ่นฐานรวมกันเป็นกลุ่มๆกระจายตัวครอบคลุมพื้นที่ราบลุ่มน้ำในพื้นที่ตอนบนและในพื้นที่ตอนล่างของลุ่มน้ำ ปัจจุบัน(พ.ศ.2558)ในพื้นที่ชุมชนทุกแห่งมีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและแปรผันโดยตรงต่อการขยายพื้นที่ทางการเกษตรด้วยการขยายพื้นที่เข้าไปในพื้นที่ป่ามากขึ้นทุกปี ส่งผลโดยตรงต่อระบบนิเวศน์ของป่าและน้ำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ปัญหาดังกล่าวนี้มีผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกรทำให้เขามีน้ำต้นทุนลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน กลุ่มผู้ใช้น้ำจึงร่วมกันหาแนวทางที่จะยับยั้งหรือบรรเทาปัญหานี้ให้ลดลงมาอย่างต่อเนื่องนานหลายปีจนเห็นผลในระดับหนึ่ง งานการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อหากลไกการถ่วงดุลระหว่างการรักษาระบบนิเวศน์ของป่าและน้ำที่สัมพันธ์กับระบบการใช้น้ำเพื่อการเกษตรของชุมชน ด้วยวิธีการใช้กรณีศึกษา(Case study) ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ใจ ลุ่มน้ำแม่ขาน-แม่วาง ลุ่มน้ำแม่กลาง ลุ่มน้ำแม่แตง และลุ่มน้ำแม่งัด ของจังหวัดเชียงใหม่ เนื้อหาที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ข้อมูลพื้นฐานจากเครือข่ายผู้ใช้น้ำ การจัดทำเวทีสังเคราะห์เครือข่าย การลงพื้นที่เพื่อดูสภาพความเป็นจริง การเปรียบเทียบภาพถ่ายทางอากาศ และการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้ค้นพบว่าการบริหารจัดการน้ำในรูปแบบของเครือข่ายกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตร เป็นรูปแบบที่สามารถแก้ไขปัญหาได้หลายด้านกล่าวคือ ช่วยแก้ไขปัญหาการจัดสรรน้ำให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น ช่วยลดความขัดแย้งในการจัดสรรน้ำจากพื้นที่ต้นน้ำสู่พื้นที่ปลายน้ำ ช่วยให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการวางแผนเพาะปลูกที่สัมพันธ์กับน้ำต้นทุนได้ ช่วยกำกับดูแลแหล่งน้ำให้มีสภาพที่ปรกติอยู่เสมอ และช่วยกำกับดูแลบำรุงรักษาระบบนิเวศของป่าและน้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนั้นรูปแบบของเครือข่ายกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรจึงเป็นกลไกหนึ่งที่ถูกออกแบบโดยกลุ่มผู้ใช้น้ำกันเองเพื่อเป็นตัวเชื่อมระหว่างกลุ่มผู้ใช้น้ำที่หลากหลายกลุ่มและเป็นการสร้างอำนาจต่อรองให้แก่กลุ่มผู้ใช้น้ำให้มีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะนำไปสู่การทำงานที่เชื่อมต่อกับการทำงานของคณะกรรมการลุ่มน้ำให้เกิดความเป็นรูปธรรมขึ้นมากว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้
Downloads
Article Details
References
ติน ปรัชญพฤทธิ์ และอิสระ สุวรรณบล. 2514, ปทานุกรมการบริหาร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์,
อนุศักดิ์ จันทะฉายาและคณะ. 2552, รายงานศึกษาทบทวนและสรุปรูปแบบโครงการ โครงการชลประทานชุมชน. หัวหน้าหน่วยส่งเสริมกิจกรรมต่อเนื่องเคลื่อนที่ที่ 1 โครงการชลประทานเชียงใหม่ .
อนุศักดิ์ จันทะฉายาและคณะ. 2554, รายงานศึกษาทบทวนและสรุปรูปแบบโครงการ โครงการชลประทานชุมชน. หัวหน้าหน่วยส่งเสริมกิจกรรมต่อเนื่องเคลื่อนที่ที่ 1 โครงการชลประทานเชียงใหม่ .
เชาวลิต สิมสวย. 2557, รูปแบบสถาบันจัดการน้ำชุมชนเพื่อการเกษตรกรณีศึกษาลุ่มน้ำแม่ขานจังหวัดเชียงใหม่. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Ostrom, E. 1990. Governing the Commons: the Evolution of Institutions for Collective Action. Cambridge, UK: Cambridge University Press.
Pogge, T. John Rawls: His Life and Theory of Justice. Oxford: Oxford University Press, 2007.