ารศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตน้ำร้อนแสงอาทิตย์แบบผสมผสาน สำหรับอาคารประเภทโรงแรม  

Main Article Content

กฤติเดช ดวงใจบุญ

บทคัดย่อ

 


 


บทคัดย่อ


การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตน้ำร้อนของอาคารธุรกิจประเภทโรงแรมมีอุปสรรคในด้านต้นทุนอุปกรณ์ที่ยังมีราคาสูง ส่งผลให้การคืนทุนช้ากว่าการใช้เทคโนโลยีชนิดอื่น ดังนั้นหากนำระบบผลิตน้ำร้อนแสงอาทิตย์ด้วยระบบผสมผสานที่ใช้แหล่งความร้อนเหลือทิ้งมาใช้ในการผลิตน้ำร้อนควบคู่กับพลังงานแสงอาทิตย์ ก็จะทำให้ระบบฯ มีเสถียรภาพในการผลิตน้ำร้อน รวมทั้งมีผลตอบแทนทางด้านเศรษฐศาสตร์มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการพิจารณาคัดเลือกระบบผลิตน้ำร้อนแสงอาทิตย์ด้วยระบบผสมผสานมาใช้กับอาคารธุรกิจประเภทโรงแรม จำเป็นต้องทำการศึกษาขนาดของระบบให้เหมาะสม ทั้งทางด้านเทคนิคและทางด้านผลตอบแทนทางด้านเศรษฐศาสตร์ เพื่อให้การออกแบบระบบสามารถรองรับการผลิตน้ำร้อนที่เพียงพอต่อลูกค้าที่เข้าพัก รวมทั้งยังให้ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่ดีอีกด้วย โดยการศึกษาความเป็นไปได้ของงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการออกแบบระบบผลิตน้ำร้อนแสงอาทิตย์ด้วยระบบผสมผสานของโรงแรมตัวอย่างในเขตอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมบริการอย่างหนาแน่น


จากการศึกษาพบว่า ระบบผลิตน้ำร้อนแสงอาทิตย์ด้วยระบบผสมผสานที่เหมาะสมกับโรงแรมตัวอย่างเป็นการออกแบบขนาดของระบบที่ 25%ของความต้องการน้ำร้อนทั้งหมด โดยติดตั้งตัวรับรังสีดวงอาทิตย์ขนาด 40 m2 ร่วมกับความร้อนทิ้งจากเครื่องปรับอากาศจำนวน 2 ชุด ผลิตน้ำร้อนรวมได้วันละ 2,987 ลิตร/วัน เป็นปริมาณน้ำร้อนที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ 2,375 ลิตร/วัน และปริมาณน้ำร้อนที่ผลิตได้จากความร้อนเหลือทิ้ง 612 ลิตร/วัน ใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 556,500 บาท ค่าใช้จ่ายรายปี 5,021 บาท/ปี เป็นค่าดูแลรักษาและซ่อมบำรุง โดยมีผลตอบแทนทางการเงินเท่ากับ 15.6% และระยะเวลาคืนทุน 3.85 ปี ผลประโยชน์ตลอดอายุโครงการ 15 ปี มีมูลค่า 2,179,618 บาท แบ่งเป็นผลประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ 1,664,883 บาท ผลประโยชน์จากความร้อนเหลือทิ้ง 451,735 บาท และผลประโยชน์จากการลดการปลดปล่อย CO2 63,000 บาท


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จงจิตร์ หิรัญลาภ. (2543). เครื่องทำน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์อย่างง่ายสำหรับประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนามจธ., 23, 109-119.

จอมภพ แววศักดิ์. (2546). การหาสมรรถนะเชิงความร้อนของตัวรับรังสีอาทิตย์แบบแผ่นเรียบที่ติดตั้งบนหลังคา. การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย, 17, 15-17.

รศ.ดร.ฉัตรนภา พรหมมา. (2560). การพัฒนาระบบบริหารงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์กับสังคม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, ปีที่ 12 ฉบับที่ 1

ณัฐพงษ์ จึงยิ่งเรืองรุ่ง. (2552). การวิเคราะห์ต้นทุนทางด้านการเงินเปรียบเทียบระหว่างการจัดการขยะแบบฝังกลบ (Sanitary Landfill) กับการจัดการขยะแบบเผาโดยใช้เทคโนโลยีก๊าซซิฟิเคชั่น (Gasification). วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 93 หน้า

Duffie, A. D. and W. A. Beckman. (1991). Solar Engineering of Thermal Processes. (2nd). New York : Wiley.

Chaurasia, P.B.L.. (1990). Solar Water Heating from Natural Surfaces. Journal of Energy Heat and Mass Transfer, 12, 31-38.

Van Nickered, W.M.K.. and Scheffler,T.B.. (1993). Measured Performance of a Solar Water Heater with a Parallel Tube Polymer Absorber. Solar Energy, 51, 339-347.