ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1

Authors

  • เชี่ยวชาญ ภาระวงค์ ครู โรงเรียนวังกระแสวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
  • อนันต์ ปานศุภวัชร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • วาโร เพ็งสวัสดิ์ คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 ประชากร จำนวน 1,390 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารจำนวน 70 คน ครูจำนวน 924 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 396 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 396 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารจำนวน 66 คน ครู จำนวน 282 คน และคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 48 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็น แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 และด้านประสิทธิผลด้านการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีการทดสอบเอฟ และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครพนม เขต 1 อยู่ในระดับมาก ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 อยู่ในระดับปานกลาง

2. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของ โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนขนาดแตกต่างกัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01

3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของ โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน กับประสิทธิผลการบริหารวิชาการของโรงเรียน มัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกในระดับสูงอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน ด้านการคำนึงถึงเอกบุคคล ด้านการกระตุ้นเชาว์ ปัญญา ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านการให้รางวัลตามสถานการณ์มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการ บริหารวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 71.40 และค่าความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ .314

6. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนที่ควรได้รับการส่งเสริมมี 3 ด้าน ได้แก่ด้านการ สร้างแรงบันดาลใจ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และด้านการกระตุ้นเชาว์ปัญญา

 

Abstract

The purpose of this research was to investigate the transformational leadership and the effectiveness in academic administration in secondary schools under the Office of Nakhon Phanon Educational Service Area 1.The populations of the study were 70 school administrators, 924 teachers and 396 basic education school board members. Samples of the study were total 396 : 66 school administrators, 282 teachers and 48 school board members, selected by multistage sampling. The tool used to collect the data was a rating scale questionnaire whose the reliability of the transformational leadership aspect was.97 whereas the reliability of the effectiveness in academic administration was .94. The statistics for the analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, and F-test. Pearson’s Coefficient of Correlation and multiple regression analysis were also conducted.

The results of this research were as follows;

1. The secondary school administrators’ transformational leadership and the effectiveness in academic administration of secondary schools under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1 was found at the high level and the moderate level respectively.

2. The opinions of the administrators, teachers and basic education school board members about administrators’ transformational leadership and the effectiveness in academic administration in secondary schools under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1 were statistically different at the .01 level.

3. The opinions of the administrators, teachers and basic education school board members who had different status about administrators’ transformational leadership and the effectiveness in academic administration in secondary schools under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1 were statistically different at the .01 level.

4. School administrators’ transformational leadership as perceived by the school administrators, teachers and basic education school board members, had positive relation with the effectiveness in academic administration of the schools at high level at the .01 level of significance.

5. School administrators’ transformational leadership in the aspects of perspective on Individualized consideration, Intellectual stimulation, Inspirational motivation and contingent reward had the ability to predict the effectiveness in academic administration at the .01 level of significance. The predicting power was 71.40 percent with the error of .314.

6. This research suggested some guidelines to promote and improve school administrators’ transformational leadership in three aspects; perspective on inspirational motivation, Individualized consideration, and intellectual stimulation.

Downloads

How to Cite

ภาระวงค์ เ., ปานศุภวัชร อ., & เพ็งสวัสดิ์ ว. (2013). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1. Creative Science, 4(7), 103–116. retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/9975