ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของ โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม

Authors

  • นำศิลป์ วิเศษ ผู้อำนวยการกองการศึกษา เทศบาลตำบลท่าพระ จังหวัดขอนแก่น
  • วัลนิกา ฉลากบาง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • วาโร เพ็งสวัสดิ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับ ประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม ตามการรับรู้ของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน กลุ่ม ตัวอย่างจำนวน 138 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 26 คน และครูผู้สอนจำนวน 112 คน ได้มาโดย วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าซึ่งมีค่า อำนาจจำแนกระหว่างค่า .50 - .75 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ t–test และ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม ตามการรับรู้ของ ผู้บริหารและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม ตามการรับรู้ของผู้บริหารและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3) ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนสังกัด เทศบาลเมืองนครพนม ตามการรับรู้ของผู้บริหารและครูผู้สอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยผู้บริหารสถานศึกษารับรู้ระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสูงกว่าครูผู้สอน 4) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม ตามการรับรู้ของผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน แตกต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มที่มีประสบการณ์ 10 ปีขึ้นไป มีการรับรู้ ระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสูงกว่ากลุ่มที่มีประสบการณ์ต่ำกว่า 10 ปี 5) ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม ตามการรับรู้ของผู้บริหารและครูผู้สอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้บริหารสถานศึกษารับรู้ประสิทธิผลของโรงเรียนสูงกว่าครูผู้สอน 6) ประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม ตามการรับรู้ของผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มที่มีประสบการณ์ 10 ปีขึ้นไป รับรู้ประสิทธิผลของ โรงเรียนสูงกว่ากลุ่มที่มีประสบการณ์ต่ำกว่า 10 ปี 7) ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองนครพนมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 8) ภาวะผู้นำของ ผู้บริหารโรงเรียน ด้านที่ต้องหาแนวทางพัฒนา ประกอบด้วย การบริหารแบบวางเฉยเชิงรุกและการบริหารแบบ วางเฉยเชิงรับ ประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนมด้านที่ต้องหาแนวทางยกระดับประกอบด้วย ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณและด้านการบริหารงานบุคคล

 

Abstract

This study aimed to study the relationship between school administrators’ leadership and effectiveness of schools under the supervision of Mueang Nakhon Phanom Municipality according to the perception of administrators themselves and teachers. A sample of 138 people comprising 26 school administrators and 12 teachers was selected by multi-stage random sampling. A rating-scale questionnaire whose discrimination power values ranged between .50 and .75 and reliability coefficient was .97 was used as tool for collecting data. Statistics used to analyze data included percentage, mean, standard deviation, t-test and Pearson’ simple correlation coefficient.

The findings were as follow: 1) Leadership of administrators at schools under the supervision of Mueang Nakhon Phanom Municipality as a whole according to the perception of administrators themselves and teachers was at the medium level. 2) The overall effectiveness of schools under the supervision of Mueang Nakhon Phanom Municipality was at the medium level. 3) The leadership of administrators at schools under the supervision of Mueang Nakhon Phanom Municipality as perceived by administrators and teachers was found significantly different at the .05 level. School administrators perceived it higher than teachers. 4) The leadership of administrators at schools under the supervision of Mueang Nakhon Phanom Municipality as perceived by administrators and teachers who had a different work experience was found significantly different at the .05 level. Those who had 10-year work experience or above perceived school administrators’ leadership higher than those who had a work experience lower than 10 years. 5)The effectiveness of schools under the supervision of Mueang Nakhon Phanom Municipality as perceived by administrators and teachers was found significantly different at the .05 level. The school administrators perceived the effectiveness of school under the supervision of Mueang Nakhon Phanom Municipality higher than that perceived by teachers. 6) The school administrators and teachers with a 10-year work experience or above perceived the effectiveness of schools under the supervision of Mueang Nakhon Phanom Municipality at a higher level than that perceived by those with a work experience lower than 10 years. 7) Leadership of school administrators and effectiveness of schools under the supervision of Mueang Nakhon Phanom Municipality were positively correlated at the .01 level of significance. 8) The aspects of school adminitrators’ leadership that should be found a way to develop comprise proactive indifference style and reactive indifference style. The aspects of effectiveness of school under the supervision of Mueang Nakhon Phanom Municipality that should be elevated comprise academic administration, budget administration and personnel administration.

Downloads

How to Cite

วิเศษ น., ฉลากบาง ว., & เพ็งสวัสดิ์ ว. (2013). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของ โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม. Creative Science, 4(7), 75–88. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/9973