การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนด ติดตาม และตรวจสอบนโยบายสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบล : กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแป้น อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร
Keywords:
การมีส่วนร่วมของประชาชนนโยบายสาธารณะ, Participation, Public PoliciesAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนด ติดตามและตรวจสอบนโยบายสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแป้น อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร 2) หาแนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนด ติดตามและตรวจสอบนโยบายสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแป้น อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร 3) ติดตามและประเมินผลการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดติดตาม และตรวจสอบนโยบายสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแป้น อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร พื้นที่เป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแป้น อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร จำนวน 10 หมู่บ้าน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ประชาชนทั่วไป 10 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 12 คน รวม 120 คน และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล 20 คน ผู้ใหญ่บ้าน 10 คน ข้าราชการในพื้นที่ตำบลบ้านแป้น 20 คน และนักวิชาการในพื้นที่ 10 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 180 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง แบบสอบถาม แบบบันทึกการดำเนินงาน และแบบวัดความรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การตรวจสอบข้อมูลคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) จัดหมวดหมู่ของเนื้อหา และนำเสนอโดยความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพ ปัญหาและความต้องการของประชาชนในการกำหนด ติดตามและตรวจสอบนโยบายสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแป้น
1.1 สภาพการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่าการกำหนดนโยบายขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแป้น เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในระดับน้อย เพราะประชาชนอ้างว่าไม่มีเวลาเข้าร่วมเนื่องจากต้องประกอบอาชีพ การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วยการการจัดเวทีประชาคมหมู่บ้าน
1.2 ปัญหาการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะและการมีส่วนร่วมไม่มีเวลาเข้าร่วมในกิจกรรม ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประกอบอาชีพส่วนตัว ประชาชนขาดความตระหนัก และเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมประชาชนขาดความมั่นใจไม่กล้าคิด ไม่กล้าทำ หรือนำเสนอปัญหาของชุมชน
1.3 ความต้องการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า ประชาชนมีความต้องการที่จะเข้ามามีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก โดยต้องการเข้าร่วมทุกขั้นตอน มี 5 ขั้นตอน คือ 1) ร่วมศึกษาสภาพปัญหา 2) ร่วมค้นหาสาเหตุปัญหา 3) ร่วมกำหนดแนวทางการแก้ปัญหา 4) ร่วมลงมือปฏิบัติ 5) ร่วมประเมินผลการปฏิบัติงาน
2. แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนด ติดตามและตรวจสอบนโยบายสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแป้น มี 7 แนวทาง คือ 1) จัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในด้านการมีส่วนร่วม 2) ร่วมจัดทำแผนพัฒนาตำบล 3) ร่วมจัดเวทีสนทนากลุ่มย่อย 4) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อหลอมรวมและบูรณาการ 5) ร่วมจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อถอดบทเรียน 6) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำต้นแบบการเรียนรู้ของประชาชน 7) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมให้ความรู้
3. ผลการดำเนินงานการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนด ติดตามและตรวจสอบนโยบายสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแป้น อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร พบว่า ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะตั้งแต่ขั้นวางแผนพัฒนา กำหนดแนวทางการพัฒนา นำเสนอโครงการ กิจกรรมและนโยบายสาธารณะตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน หลอมรวมแผนพัฒนาตำบล จัดเวทีประชาคมตำบล จัดประชุมเพื่อถอดบทเรียน และกำหนดหลักสูตรการฝึกอบรม แต่ยังมีส่วนร่วมในระดับน้อยในขั้นตอนการติดตามและตรวจสอบนโยบายสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแป้น อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร
4. สะท้อนผลการพัฒนา ผลการวิจัยพบว่า
4.1 แนวทางการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนด ติดตามและตรวจสอบนโยบายสาธารณะ ผลการวิจัยพบว่า ควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปของกลุ่ม องค์กร และเครือข่าย
4.2 ช่องทางในการเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ เวทีประชาคมหมู่บ้าน เวทีสาธารณะ ร่วมจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน และแผนพัฒนาตำบล
4.3 ปัจจัย เงื่อนไขที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ ปัจจัยทางตรง มาจากปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในแต่ละหมู่บ้าน ปัญหาทางอ้อม มาจากวัฒนธรรมทางการเมืองของฝ่ายบริหารในองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ต้องการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
คำสำคัญ : การมีส่วนร่วมของประชาชนนโยบายสาธารณะ
Abstract
This study aimed at 1) exploring the state ans problems on the participation of the people in designating, monitoring and reviewing the public pokicies of Tambon Ban Paen Administration Organization, 2) finding out the ways to develop the people's participation in designating, following up and reviewing the public policies of Tambon Ban Paen Administration Organization, and 3) monitoring and evaluating the participation of the people on designating, following up the public policies of Tambon Ban Paen Administration Organization. The targeted area used in this study referred to Tambon Ban Paen Administration Organization covering 10 villages in Amphoe Phon Na Kaeo, Sakon Nakhon. The target group consisted of the people in those 10 villages with 12 from each totaling 120 , 20 members of Tambon Administration Organization,20 heads of \villages,20 government officials within the area of Tambon Ban Paen along with 10 academics in the area- a total of 180 participants.
Instruments applied to collect data included a form of observation, a structured form of interview, a set of questionnaires, a form of operation notes and a form of knowledge test. Qualitative data were analyzed using mean, percentage and standard deviation. Content analysis and content classification were employed to present qualitative data in forms of descriptive analysis.
The findings of this study were as follows:
1. The state, problems and needs of the people in designating, following up and reviewing the public policies of Tambon Ban Paen indicated that:
1.1 The state of the people's participation showed that the designation of the policies of Tambon Ban Paen Administration Organization revealed that the people were provided less opportunities in participating since the people claimed that they had to earn a living. The people participated in forms of village public forum.
1.2 Regarding the people's problems on participation, it was found that the people lacked opportunities for activity participation since they spent most of their time in earning a living. The people faced a lack of awareness and importance perception of participation. In some villages, the people lacked self-confidence, dared not to think of and presented the community problems.
1.3 The needs of the people's participation indicated that the people were eager to participate in the activities at the high level. The people needed to participate in every step comprising 5 steps:1 ) identification of the problem state, 2) a search for the problem causes, 3) designation of problem-solving guidelines, 4) participation in action, and 5) participation in performance evaluation.
2. The guidelines of participation development of the people in designating,monitoring and reviewing the public policies of Tambon Ban Paen Administration Organization were composed of 7 ways: workshops to provide knowledge for the people's participation, 2) participation in drafting plans for the Tambon, 3) participation in organizing small panel discussion, 4) operation of workshops to mix and integrate, 5) operation of workshops to extract the lessons 6) conduct of workshops to build a prototype of learning for the people, and 7) conduct workshops to make training curriculum to provide knowledge.
3. The effects of the operation of the people's participation development in designating,following up and reviewing the public policies of Tambon Ban Paen Administration Organization revealed that the people joined the activities of public policy designation at the step of planning of development guidelines, designation of the guidelines, presentation of the guidelines as well as activities and public policies at the level of villages. In addition, mixture of Tambon development plans,operation of meetings to extract the lessons and designation of training courses but these were at the low level in terms of monitoring and reviewing of the public policies of Tambon Ban Paen Administration Organization, Amphoe Phon Na Kaeo, Sakon Nakhon.
4. In case of the development reflection, it was determined that:
4.1 The means to promote the people's participation in designating, following up and reviewing the public policies showed that the promotion of the people's participation should be in forms of groups, organizations and networks.
4.2 The channels of participating of the people included village people forum, public forum, participation in making village development plans and Tambon development plans as well.
4.3 The factors and conditions concerning the people's participation comprised direct factors originating from the hardships of the people in each village. Besides, indirect factors originating from political culture of the executive branch in Tambon Administration Organization were also required for the participation of the people.
Keywords : Participation, Public Policies