คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นกับการ นำมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม กรณีศึกษากลุ่มทอผ้าพื้นเมือง จังหวัดสกลนคร

Authors

  • จินตนา ลินโพธิ์ศาล นักวิชาการศึกษา สถาบันภาษาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

Keywords:

คุณค่า, อัตลักษณ์, ผ้าทอ, ผ้าพื้นเมือง, ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น, Value, Identity Fabric, Indigenous Textile, Local Product

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัย คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นกับการนำมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม กรณีศึกษากลุ่มทอผ้าพื้นเมือง จังหวัดสกลนคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ค้นหาคุณค่าอัตลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นประเภทผ้าทอมือของชุมชนในท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร ที่นำมาต่อยอดส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม 2) ศึกษาแนวทางการนำผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือมาเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่ชุมชนการสร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิตงานและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร  3) จัดทำเส้นทางการศึกษาวัฒนธรรมเชิงท่องเที่ยวของผ้าพื้นเมืองที่สำคัญทั้ง 4 ประเภทของจังหวัดสกลนครคือ ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าฝ้ายผสมใยสังเคราะห์ ผ้าฝ้ายผสมไหม  กับเครือข่ายการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมด้าน อื่น ๆ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  โดยการเลือกแบบเจาะจงจากกลุ่มผู้ผลิตผ้าทอมือในเขตจังหวัดสกลนคร ที่มีอัตลักษณ์โดดเด่นด้านการทอผ้า ด้านวัฒนธรรม และด้านการท่องเที่ยว จำนวน 12 อำเภอ อำเภอละ 1 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูลจาก ผู้ประกอบการผลิตผ้าทอพื้นเมือง ผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง ผู้เคยเป็นช่างทอผ้า ร้านค้าผ้าทอพื้นเมือง เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พัฒนากร และครู วิเคราะห์ข้อมูลจากกระบวนการ SWOT Analysis (จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค) โดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า

1. คุณค่าอัตลักษณ์ผ้าทอมือในจังหวัดสกลนครที่นำมาต่อยอดส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม ของอำเภอโคกศรีสุพรรณ ผ้าไหมมัดหมี่ บ้านหนองแข้ ตำบลตองโขบ อำเภออากาศอำนวย ผ้าฝ้ายย้อมคราม ผ้ามัดหมี่ ผ้าคลุ่มไหล่ บ้านสามัคคี ตำบลสามัคคีพัฒนา อำเภอพรรณานิคม ผ้าฝ้ายย้อมครามสำหรับแต่งกาย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ กระเป๋า บ้านตอเรือ  ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพังโคน ผ้าฝ้ายสำหรับเป็นผ้าแต่งกาย  ผ้าพันคอ  ผ้าปูโต๊ะ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าถุง เสื้อพื้นเมืองสำเร็จ ผ้าขาวม้า หมอนอิง ผ้าม่าน กระเป๋าถือสตรี บ้านสงเปลือย ตำบลไฮหย่อง อำเภอกุสุมาลย์  ผ้าฝ้ายใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม  ผ้าขาวม้า ผ้าสไบ  ผ้าพันคอ ผ้าห่ม ผ้าคลุมไหล่ บ้านนาเพียงใหม่ ตำบลนาเพียง  อำเภอโพนนาแก้ว ผ้าลายมุก บ้านวังปลาเซือม ตำบลบ้านโพน  อำเภอกุดบาก ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ ผ้าทอสำหรับแต่งกาย ผ้าคลุมไหล่ ผ้าปูโต๊ะ ผ้าอเนกประสงค์ บ้านกลาง  ตำบลกุดไห  อำเภอวานรนิวาส  ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมลายสร้างสรรค์ บ้านห้วยหิน ตำบลหนองแวง  อำเภอสว่างแดนดิน  ผ้าฝ้ายมัดหมี่  ผ้าคลุมไหล่  บ้านพันนา ตำบลพันนา อำเภอคำตากล้า  ผ้าฝ้าย สำหรับแต่งกาย ผ้าห่มนวม ผ้าขาวม้า ผ้าย้อมคราม บ้านกุดจาน ตำบลแพด อำเภอวาริชภูมิ  ผ้าไหมมัดหมี่ลายสร้างสรรค์ บ้านดอนยาวน้อย ตำบลหนองลาด อำเภอภูพาน ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติและผ้าฝ้ายย้อมคราม ผ้ามัดหมี่  ผ้าพื้น บ้านโคกภูใหม่  ตำบลโคกภู

2. แนวทางการนำผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือมาเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่ชุมชนการสร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิตงานและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดสกลนคร แหล่งผลิตผ้าไหมมัดหมี่  ผ้าไหมพื้นเรียบ ผ้าไหมลายสร้างสรรค์ ผ้าไหมย้อมสี ได้แก่ แหล่งทอผ้าไหม  อำเภอโคกศรีสุพรรณ อำเภอวานรนิวาส อำเภอวาริชภูมิ แหล่งผลิตผ้าฝ้ายย้อมคราม ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ  ผ้าฝ้ายย้อมสีเคมี ได้แก่ แหล่งทอผ้าฝ้ายอำเภออากาศอำนวย  อำเภอพรรณานิคม อำเภอพังโคน  อำเภอกุสุมาลย์  อำเภอโพนนาแก้ว  อำเภอกุดบาก  อำเภอสว่างแดนดิน  อำเภอคำตากล้า อำเภอภูพาน

3. การจัดทำเส้นทางการศึกษาวัฒนธรรมเชิงท่องเที่ยวของผ้าพื้นเมืองที่สำคัญ มี 4 ชนิด  คือ  (ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าฝ้ายผสมใยสังเคราะห์ ผ้าฝ้ายผสมไหม) สามารถจัดทำได้ 2 เส้นทาง คือ ผ้าไหมและผ้าฝ้าย อำเภอโคกศรีสุพรรณ อำเภอวานรนิวาส อำเภอวาริชภูมิ เป็นแหล่งผลิตผ้าไหม สามารถเดินทางไปศึกษาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโบราณสถาน โบราณวัตถุบ้านท่าวัด วัดพระธาตุดุม วัดป่าสุทธาวาส วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง วัดพระธาตุภูเพ็ก วัดถ้ำขาม วัดคำประมง วัดป่าอุดมสมพร วัดพระธาตุศรีมงคล วัดถ้ำพระพุทธไสยาสน์ อำเภออากาศอำนวย อำเภอพรรณานิคม อำเภอพังโคน อำเภอกุสุมาลย์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอกุดบาก อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอคำตากล้า  อำเภอภูพาน  เป็นแหล่งทอผ้าฝ้าย สามารถเดินทางไปศึกษาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมไทโส้ ถ้ำเสรีไทย ผานางเมิน  ลานสาวเอ้ ทางผีผ่าน ถ้ำผาลาย วัดพระธาตุภูเพ็ก วัดถ้ำขาม วัดคำประมง วัดป่าอุดมสมพร  ปราสาทบ้านพันนา ผาผักหวาน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม

คำสำคัญ : คุณค่า, อัตลักษณ์, ผ้าทอ, ผ้าพื้นเมือง, ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น

 

Abstract

Research of value of local cultural identity and art contributed to apply it into local products for economic and cultural tourism value added of the local textile in Sakon Nakhon province.  Case study of this research were assessed by a quality research as follows; 1) the determination of value and identity of local culture and community of local art textile in Sakon Nakhon province, leading to enhance concrete economic and cultural tourism value added; 2) the study of the ways to bring economic value added about an income of their community, producing and promoting local cultural tourism in Sakon Nakhon province; 3) the establishing the ways for cultural study and the important community of local textile tourism.  This study classified the local textile in Sakon Nakhon province to four kinds including of silk, cotton, polyester cotton blend, and silk cotton blend which it incorporation with Cultural Tourism Network.

Case study was specifically selected from local people who located in the community of textile groups, in Sakon Nakhon province and the identity of cultural tourism from twelve Amphurs.  Each one group from 12 Amphurs was studied by using the study instructions involving in interview, collecting data concerning local trader, designer, weaver, local shops, local personnel administration, developer and teachers.  Then, the data were assessed by using SWOT Analysis to evaluate the related factors (i. e. weakness, strength, opportunity and obstacle). The SWOT analysis showed as description analysis and the results exhibited as follows;

1.The identity of textile of each group in Sakon NaKhon province led it to enhance the increasing of concrete economic which in this following case study were classifications; 1) Amphur Khok Sri Supun (Ban Nhong-Khae, Tambon Tong-khob) is identities of  Mud-Mee Silk, 2) Amphur Ar-Kad Um Nuay (Ban Samakkee Tambon Samakkee-Pattana) is identities of indigo cotton fabric, Mud-Mee Silk, shawl, 3) Amphur Punnanikhom (Ban Tor Rua Tambon Na hua boa) is identities of indigo cotton fabric, cotton for dress, scarf, shawl, bag;  4) Amphur Pungkon (Ban Songpluay, Tambon Haiyong) is identities of cotton for dress, scarf, tablecloth, shawl, sarong, local clothes, loincloth,  backrest pillow, drapery, bag; 5) Amphur Ku Su Mal (Ban Na Peang Mia, Tambon Na Pheang) is specifically of cotton for clothes, loincloth, shawl, scarf, blanket; 6) Amphur Phon Na Kaew (Ban Wang Pla Suam, Tambon Ban Pho) Pearl drill’s cotton; 7) Amphur Kud Bak (Ban Klang Tambon Kud Hi) is individually of cotton for dress, shawl,  tablecloth, clothes; 8) Amphur Wa Non Ni Was (Ban Huay Hin Tambon Nhong Wang) is identity of Mud-Mee silk, The Creation of silk; 9) Amphur Sawang Dan Din (Ban Pun Na, Tambon Pun Na) is individually of Mud-Mee silk, shawl; 10) Amphur Kham Ta Kla (Ban Kud Jan, Tambon Pad) is specifically of cotton for dress, blanket, loincloth and indigo cotton fabric; 11) Amphur Waris Cha Phum (Ban Don Yow Noy, Tambon Nhong Lad) is individually of The Creation of Mud-Mee silk and 12) Amphur Phu Pan (Ban Kok Phu Mai, Tambon Kok Phu) is identity of cotton and indigo cotton fabric, Mud-Mee silk and Plain silk.

2. The way to lead local textile products to local community economic added. The increasing of income to producer and enhancement the local cultural tourism in Sakon Nakhon province was evaluated and presented. The results found that the sources of Mud-Mee silk, Plain silk, The Creation of silk and Dyeing Silk with Dye were found in Amphur Kok Sri Su pan, Amphur Wa Norn Ni Vas and Amphur Waris Cha Phum. Source of indigo cotton fabric, 100% cotton and dylon cotton dye from Amphur Arkad Um Nuay, Amphur Pan Na Ni Kom, Amphur Pang Kon, Amphur Ku Su Mal, Amphur Pon Na Kaew, Amphur Kud Bak, Amphur Sawang Dan Din ,Amphur Kam Ta Kla, Amphur Phu Pan.

3. The establishment of the cultural and tourism ways to study the local textile was importantly divided into 4 kinds; silk, cotton, polyester cotton blend and silk cotton blends. This research established for 2 ways, there are 1) the way for study silk and 2) the ways for study cotton.  Amphur Kok Sri Supan, Amphur Wa Norn Ni Vas and Amphur Waris Cha Phum are source of  silk, these source of cultural textile clothes can be used to study cultural tourism and historic site (ancient monument), Ban Tha Wad Antiques, Pra That Dum Temple, Wad Pha Sutha Was, Pra That Cheng Chum Worawiharn Temple, Pra That Na Ray Jang Vang Temple, Pra Phud Si Yard Temple. Amphur Ar Kas Um Nuay, Amphur Punnanikhom, Amphur Pang Kon, Amphur Ku Su Mal, Amphur Pon Na Kaew, Amphur Kud Bak, Amphur Sawang Dan Din ,Amphur Kam Ta Kla, Amphur Phu Pan is source of cotton which can be used to study cultural tourism at Thai-Zo art and cultural centre, Seri Thai Cave, Pha Nang Mern, Lan, Lan Sao E, Tang Pee Phan, Pha Lai Cave, Pha That Phu Phek Temple,  Tam Kham Temple, Kham Pra Mong Temple, Wat Pah Udomsomporn, Pra Sat Ban Pan Na, Phak Whan Cliff and A-Phai-Dam Rong Tham Temple.

This study valuable to enhance economic value added of local products and promotes the ways of source of identity culture and art, including of operation of cultural tourism places by using the specifically local textile ways.  This research has therefore proposed towards ensuring that visitors understand the history, significance and the faith that result in creating an understanding of the local identity culture, importance and beliefs behind these aspect that have been in existence for so long. This can be an entertaining way for tourists to learn more about the place and giving them a lasting impression on the cultural tourism places in the future.

Keyword : Value, Identity  Fabric, Indigenous  Textile, Local  Product

Downloads

How to Cite

ลินโพธิ์ศาล จ. (2013). คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นกับการ นำมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม กรณีศึกษากลุ่มทอผ้าพื้นเมือง จังหวัดสกลนคร. Creative Science, 5(9), 1–16. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/9896