การปรับปรุงสมบัติของตัวดูดซับโลหะหนักด้วยวัสดุในท้องถิ่น

Authors

  • กิตติชัย โสพันนา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ธนากร อุทัยดา โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาประสิทธิภาพของตัวดูดซับจากขี้เลื่อยไม้จามจุรี  กะลามะพร้าวและซังข้าวโพดในการกำจัดโลหะหนักเหล็กและตะกั่ว  ทดลองโดยนำวัสดุทั้งสามชนิดมากระตุ้นด้วยโซเดียมคลอไรด์  แล้วนำไปเผาที่อุณหภูมิ 400-900 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง  บดและคัดขนาดอนุภาค  0.840-0.500 มิลลิเมตร(20-40 เมซ)  จากนั้นนำไปวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศ์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด(SEM)  เครื่องเอกซเรย์ดิฟแฟกชัน(XRD) ไอโอดีนนัมเบอร์ ไอโซเทอมการดูดติดผิวและประสิทธิภาพการดูดซับ  จากผลการทดลองพบว่าที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส เหมาะสมในการเตรียมตัวดูดซับ  มากที่สุด เนื่องจากให้ค่าไอโอดีนนัมเบอร์ของขี้เลื่อยไม้จามจุรี  กะลามะพร้าวและซังข้าวโพดสูงสุดเท่ากับ 1236.46, 921.15 และ 932.75   มิลลิกรัมต่อกรัม ตามลำดับ     ซึ่งมีความสอดคล้องกับผล  SEM ส่วนผล XRD แสดงโครงสร้างของตัวดูดซับเป็นคาร์บอนอสัณฐาน  สำหรับไอโซเทอมของการดูดติดผิวมีความสอดคล้องกับแบบฟรุนดลิซ  จากการทดสอบประสิทธิภาพการดูดซับพบว่าประสิทธิภาพการดูดซับเหล็กของขี้เลื่อยไม้จามจุรี  กะลามะพร้าวและซังข้าวโพด  เท่ากับ 99.63, 99.82 และ 99.77 ตามลำดับ ประสิทธิภาพของการดูดซับตะกั่วของขี้เลื่อยไม้จามจุรี กะลามะพร้าวและซังข้าวโพด  มีประสิทธิภาพในการดูดซับคิดเป็นร้อยละ 99.07, 98.54 และ 99.19 ตามลำดับ นอกจากนั้นตัวดูดซับแบบผสมยังแสดงประสิทธิภาพที่ดีในการดูดซับเหล็กและตะกั่ว อีกด้วย

 

Abstract

The adsorbent efficiency from rain tree wood sawdust, corn cob and coconut shell were studied removal of heavy metals lead and iron. The materials were activated with sodium chloride  at a temperature range of 400- 900 oC for 2 hours. They were ground and separated a size range 0.840 - 0.500 mm(20-40 mesh). And then, the adsorbents were characterized by SEM, XRD, Iodine number, adsorption isotherm and the efficiency of adsorption. It was found that the appropriate temperature for preparation adsorbent at 800 oC. Because of the maximun iodine number of rain tree wood sawdust, coconut shell and corn cobs were 1,236.46, 921.15 and 932.75 mg/g, respectively. SEM found that the corresponding with value of iodine number. XRD patterns shown amorphous carbon.  The adsorption isotherms had the corresponding with the Freundlich. The efficiency absorption of iron from rain tree wood sawdust, coconut shell and corn cobs were 99.63 99.82 and 99.77 percentages, respectively. The efficiency absorption of lead from rain tree wood sawdust, coconut shell and corn cobs were  99.07 98.54 and 99.19 percentages, respectively. Besides, the mixture adsorbents shown fine efficiency absorption of iron and lead, as well.

Downloads

How to Cite

โสพันนา ก., & อุทัยดา ธ. (2013). การปรับปรุงสมบัติของตัวดูดซับโลหะหนักด้วยวัสดุในท้องถิ่น. Creative Science, 1(1), 181–196. retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/10251