การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ เจตคติ และการมีส่วนร่วม ทางการเมืองแบบประชาธิปไตย สำหรับผู้นำท้องถิ่น

Authors

  • ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ เจตคติและการมีส่วนร่วมทางการเมือง แบบประชาธิปไตย สำหรับผู้นำท้องถิ่น 2) เพื่อประเมินผลรูปแบบการฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นที่มีต่อความรู้ เจตคติและการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของผู้นำท้องถิ่น 3) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ เจตคติและการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยก่อนและหลังการฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัย เป็นผู้นำท้องถิ่นในเขตจังหวัดสกลนคร ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล รวม 60 คน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผู้นำท้องถิ่นที่ได้รับการอบรมด้วยรูปแบบการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ เจตคติและการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย มีคะแนนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองแบบประชาธิปไตย คิดเป็นร้อยละ 88.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองแบบประชาธิปไตยหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. ผู้นำท้องถิ่นที่ได้รับการอบรมตามรูปแบบการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ เจตคติและการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย มีเจตคติต่อการเมืองแบบประชาธิปไตยหลังการอบรม คิดเป็นร้อยละ 85.31 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และมีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติต่อการเมืองแบบประชาธิปไตยหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ผู้นำท้องถิ่นที่เข้ารับการอบรมโดยใช้รูปแบบการอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ เจตคติและการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย มีคะแนนการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย คิดเป็นร้อยละ 86.41 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และมีค่าเฉลี่ยคะแนนการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

Abstract

The purposes of this research were ; 1) to develop a training model for enhancing political knowledge, political attitude and political participation of local leaders. 2) to evaluate the training model for enhancing political knowledge, political attitude and political participation of local leaders. 3) to compare political knowledge, political attitude and political participation between before and after used the training model. The samples used 60 local leaders in Sakon Nakhon Province.

The results of this research were as follows :

1. The training model consisted of 5 elements: principles, objectives, contents, training processes, and evaluation. The training process involved 2 phases spending 3 days of theoretical training and one month of extension training.

2. The posttest average scores of political knowledge were 88.11 percent or over the criterion set and higher than those of their pretest at the level of significance.

3. The posttest average scores of political attitude were 85.31 percent or over the criterion set and higher than those of their pretest at the level of significance.

4. The posttest average scores of political participation were 86.41 percent or over the criterion set and higher than those of their pretest at the level of significances

Downloads

How to Cite

จอมหงษ์พิพัฒน์ ภ. (2013). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ เจตคติ และการมีส่วนร่วม ทางการเมืองแบบประชาธิปไตย สำหรับผู้นำท้องถิ่น. Creative Science, 1(1), 87–96. retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/10242