รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวที่เหมาะสมสำหรับบ้านท่าวัด อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เพื่อรองรับการท่องเที่ยวในเส้นทางเศรษฐกิจ แนวตะวันออก–ตะวันตก สู่การพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
Abstract
บทคัดย่อ
การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรการท่องเที่ยวด้วยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ สามารถรักษาทรัพยากรนั้นได้นานที่สุด หากชุมชนเจ้าของพื้นที่สามารถดำเนินการได้เอง โดยมีรูปแบบการจัดการ และรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสม จะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ตามยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวสำคัญๆ ได้
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวที่เหมาะสมสำหรับบ้านท่าวัด และ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของชุมชนบ้านท่าวัดให้เป็นชุมชนนำร่องในการจัดการท่องเที่ยวรอบหนองหาร ดำเนินการวิจัยโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหลัก มี 4 ขั้นตอน สำคัญ คือ ศึกษาสภาพทั่วไปและศักยภาพของชุมชน พัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว สร้างและพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยว และสรุปผลคืนพื้นที่แก่ชุมชน กิจกรรมที่ดำเนินการ ได้แก่ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มย่อย การจัดเวทีชาวบ้าน การอบรม การศึกษาดูงาน การทดลองปฏิบัติ และประเมินผลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและบรรยายสรุป
ผลการวิจัย พบว่าชุมชนบ้านท่าวัด มีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่ เป็นจุดเด่นสำคัญ คือ บึงหนองหาร และ มีโบราณวัตถุที่แสดงอารยะธรรมของชุมชนเก่ากว่าสามพันปี มีวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวลุ่มน้ำหนองหาร และยังเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไต้หวันเดินทางมาเพื่อเคารพพระโพธิสัตว์กวนอิม ที่อัญเชิญมาจากประเทศไต้หวันเป็นประจำทุกเดือน ศักยภาพโดยรวมอยู่ในระดับที่พร้อมและสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของหนองหารได้แต่ยังขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรการท่องเที่ยวบางประการและขาดความรู้เกี่ยวกับระบบการจัดการ คณะผู้วิจัยจึงได้ร่วมกับชุมชนดำเนินการวิจัยค้นคว้าองค์ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและดำเนินการพัฒนาศัพยภาพด้านต่างๆ
ผลการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวบ้านท่าวัดเพื่อเป็นหมู่บ้านเพื่อการท่องเที่ยว ทำให้ชุมชนได้ข้อมูลองค์ความรู้ของชุมชนในรูปสื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ได้แก่ โปสเตอร์ หนังสือ แผ่นพับ เป็นต้น มีการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจัดการท่องเที่ยวของชุมชน บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนเพิ่มขึ้นและสามารถบริหารจัดการการท่องเที่ยวได้เอง มีมัคคุเทศก์เพื่อบริการนำเที่ยว มีสินค้าส่งเสริมการท่องเที่ยว และมีการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวโดยทดลองท่องเที่ยวและทำพิธีเปิดแหล่งท่องเที่ยวตามรูปแบบที่กำหนด นักท่องเที่ยวและชาวชุมชนมีความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย ส่วนราชการให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้ชุมชนบ้านท่าวัดเป็นชุมชนหลักในการท่องเที่ยวรอบหนองหาร เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในจังหวัดกลุ่มสนุก และการท่องเที่ยวในเส้นทางเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก
รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวที่เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของชุมชนบ้านท่าวัด คือ รูปแบบ “ความร่วมมือระหว่างชุมชนกับรัฐ” มีการจัดตั้งคณะกรรมการจัดการท่องเที่ยวโดยบุคลากรของชุมชนเป็นหลักและมีภาครัฐเป็นที่ปรึกษา ส่วนรูปแบบการท่องเที่ยวเป็น “แบบโฮมสเตย์” ที่เน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สามารถจัดกิจกรรมนำเที่ยวได้หลากหลายตามความต้องการของนักท่องเที่ยว กิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ นั่งเรือชมทัศนียภาพหนองหาร เดินป่าศึกษาธรรมชาติ ศึกษาโบราณวัตถุ และวิถีชีวิตชาวลุ่มน้ำหนองหาร เป็นต้น
Abstract
Sustainable tourism is to make use of tourism resources effectively by its own community members to maintain those resources as long as possible. This requires both proper management and activity aspects that can be linked to other tourism sites according to provincial vital tourism strategies.
This qualitative research is aimed to form proper tourism aspects for Ban Ta Wat community to support and develop its potentials to be the model community of Nong Harn basin tourism. This study allowed local residents to take part in 4 main stages 1) study community context and its tourism potentials 2) develop the potentials 3) form and develop tourism aspects and 4) summarise the research. The important studying activities including interviewing, groups discussions, public learning, room training, study tour, practicing and assessing by participations observation. Content Analysis and Description are employed to gain the result of study .
This study reveals that Ban Ta Wat community has 3 tourism resources which are Nong Harn basin, historical objects that have been expressing civilisation of the residents in its old days and the community unique ways of life. It has the goddess of mercy (Guan Yim) image which has been brought from Taiwan locates in the Ban Ta Wat temple. The images attracts a lot interest to a tour group from Taiwan to make monthly tour to the community. Ban Ta Wat community can be developed to be the main tourism site around the Nong Harn basin and linked to other sites of Sakhon Nakhon Province and its environs according to The East – West Economic Corridor Tourism Route Strategy.
The community, however, lacked of tourism resource body knowledge and managerial system, the research team there for cooperated with community members to study some appropriate ways to solve the problems in order to enhance the community potentials. The results of study beneficial to the community are as follows :
1) advertising media such as poster, booklet and folder
2) an tourism administration board
3) local tour guides
4) corporations form the residents and some public organizations.
The suitable tourism managerial is the co-operative tourism between community members and local public sectors. The vital tourism aspect is that of eco-conservative home-stay style. Tourism activities can be classified to meet tourists demands such as Nong Harn sight seeing, tracking, studying historical objects, sites and local ways of life.