การซื้อสิทธิขายเสียง ในจังหวัดสกลนคร
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและความคิดเห็นที่มีต่อการซื้อสิทธิขายเสียงใน จังหวัดสกลนคร ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในจังหวัดสกลนครกับรูปแบบ และความคิดเห็นที่มีต่อการซื้อสิทธิขายเสียง และศึกษาแนวทางการป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงในจังหวัดสกลนคร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมดสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใน วันที่ 23 ธันวาคม 2550 ของจังหวัดสกลนคร จำนวนทั้งสิ้น 787,670 คน ตัวอย่างที่ใช้ได้จากการสุ่มแบบ แบ่งเป็นชั้นภูมิ (Stratified Sampling) จำนวน 723 คน โดยใช้เขตเลือกตั้งเป็นตัวแปรแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมี 3 ตอน ตอนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบ ตอนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับรูปแบบและความคิดเห็นที่มีต่อการซื้อสิทธิขายเสียงในจังหวัดสกลนคร และตอนที่ 3 เป็นคำถาม เกี่ยวกับแนวทางการป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงในจังหวัดสกลนคร การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ใช้โปรแกรม SPSS / PC+ (Statistical Package for the Social Sciences Personal Computer Plus) และวิเคราะห์โดยใช้ค่า สถิติเบื้องต้น และตัวสถิติทดสอบไคสแควร์ ( X2 - test )
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ดังนี้
1.รูปแบบและความคิดเห็นที่มีต่อการซื้อสิทธิขายเสียงในจังหวัดสกลนครโดยภาพรวมสิ่งที่ผู้มีสิทธิ ออกเสียงเลือกตั้งในเขตจังหวัดสกลนครคำนึงถึงในการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเรียงตามลำดับ ความสำคัญจากมากไปน้อย ได้แก่ 1) พรรค 2) ผู้สมัครเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม 3) หัวหน้าพรรค 4) ผู้สมัครมีผลงาน 5) ผู้สมัครเป็นผู้มีความรู้ดี และในการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนเรียงตามลำดับ ความสำคัญจากมากไปน้อย ได้แก่ 1) ชอบนโยบายพรรค 2) ชอบพรรค 3) ชอบหัวหน้าพรรคลักษณะหรือรูป แบบการซื้อเสียงของผู้สมัครในเขตจังหวัดสกลนครส่วนใหญ่จะใช้วิธีให้สัญญาว่าจะผลักดันงบประมาณเข้า พื้นที่มากที่สุด รองลงมาสัญญาว่าจะพัฒนาสิ่งก่อสร้างในหมู่บ้าน/พื้นที่และสัญญาว่าจะให้สวัสดิการต่างๆ
การเลือกตั้งในเขตจังหวัดสกลนครครั้งนี้ ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งร้อยละ 24.3 ได้รับแจกเงินหรือสิ่งของ จากผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวนครั้งที่ได้รับแจกเงินมากที่สุด 1ครั้งโดยจำนวนเงินที่ได้รับแจกมากที่สุด อยู่ระหว่าง 100 – 200 บาท ส่วนสิ่งของที่ผู้สมัครหรือหัวคะแนนของผู้สมัครแจกให้กับผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ในเขตจังหวัดสกลนครในช่วงหาเสียงเป็นเสื้อหรือเสื้อกันหนาว รองลงมาเป็นของใช้ ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งใน เขตจังหวัดสกลนครได้รับแจกเงินหรือสิ่งของจากการซื้อเสียงของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยส่วนใหญ่ไม่ได้ทำอะไรเลย อยู่เฉย ๆ ก็มีผู้สมัครหรือหัวคะแนนของผู้สมัครนำเงินหรือสิ่งของมาให้ รองลงมา เนื่องจากเป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีของกลุ่มหัวคะแนน
2. ความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในจังหวัดสกลนครกับรูปแบบและความคิดเห็นที่มีต่อการซื้อสิทธิขายเสียง โดยภาพรวมพบว่า เพศ ช่วงอายุ และระดับการศึกษาของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งใน เขตจังหวัดสกลนครไม่มีความสัมพันธ์หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทราบข่าวการเลือกตั้งที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
เพศและระดับการศึกษาของผ้มู ีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในเขตจังหวัดสกลนครไม่มีความสัมพันธ์หรือมีส่วน เกี่ยวข้องกับการจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ส่วนช่วงอายุของผู้มีสิทธิออกเสียง เลือกตั้งในเขตจังหวัดสกลนครมีความสัมพันธ์หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ยังพบว่าผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในเขตจังหวัด สกลนครทั้งชายและหญิง ทุกช่วงอายุ ทุกระดับการศึกษา และทุกอาชีพกว่าร้อยละ 90 จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร
เพศ ช่วงอายุและอาชีพของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในเขตจังหวัดสกลนครมีความสัมพันธ์หรือมีส่วน เกี่ยวข้องกับการรับเงินหรือสิ่งของถ้ามีการแจกจากผู้สมัครหรือหัวคะแนนของผู้สมัคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนระดับการศึกษาของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในเขตจังหวัดสกลนครไม่มีความสัมพันธ์หรือมีส่วนเกี่ยวข้อง กับการรับเงินหรือสิ่งของถ้ามีการแจกจากผู้สมัครหรือหัวคะแนนของผู้สมัคร ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
3. แนวทางการป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงในจังหวัดสกลนคร ตามความคิดเห็นของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง จำแนกได้ 3 ด้าน ดังนี้ด้านพรรคและตัวผู้สมัครประกอบด้วยได้แก่ 1) พรรคต้องมีนโยบายที่ดี จะต้องปฏิบัติตามนโยบาย ที่หาเสียงไว้กับประชาชนให้ได้พอสมควร ในกรณีเป็นพรรคเก่าก็ต้องพิจารณาจากผลงานของแต่ละพรรคในแต่ละยุค/ แต่ละสมัย 2) ผู้สมัครต้องเป็นคนดี มีความรู้ความสามารถ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ 3) สร้างจิตสำนึกในตัวผู้สมัคร เองโดยเฉพาะด้านความซื่อสัตย์ ด้านภาครัฐ ประกอบด้วย ระดับ 1) ควรประชาสัมพันธ์หรือรณรงค์ปลูกจิตสำนึก ให้ประชาชนตระหนักและเห็นถึงผลเสียที่เกิดขึ้นจากการขายเสียง โดยเน้นกลุ่มผู้นำท้องถิ่น ได้แก่ หมู่บ้าน เป็นลำดับ แรก 2) ควรมีการกำหนดเพิ่มโทษ นอกจากการตัดสิทธิ์ทางการเมือง หากพบว่ามีการซื้อสิทธิขายเสียงจริง ควรมีบทลง โทษทางกฎหมายเพื่อเป็นแบบอย่างจะได้ไม่กล้าปฏิบัติอีก 3) รัฐโดยเฉพาะกรรมการการเลือกตั้งควรมีการตรวจสอบ และเข้มงวดในการป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงอย่างจริงจังทั้งผู้สมัครและหัวคะแนนของผู้สมัคร โดยอาจส่งเจ้าหน้าที่ ของรัฐสอดส่องดูแลเมื่อใกล้ถึงวันเลือกตั้ง 4) ในระหว่างการหาเสียงควรจัดให้มีตำรวจหรือทหารไปควบคุมดูแลด้วย 5) ก่อนการเลือกตั้ง ควรให้องค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดหาวิทยากร (อาจเป็นกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน) ให้ความรู้ คำแนะนำแก่ประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้งการซื้อสิทธิขายเสียง และประชาธิปไตย โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนและกลุ่ม ผู้สูงอายุที่มีการศึกษาน้อย 6) ควรจัดให้คนในพื้นที่คอยสอดส่องดูแลการซื้อสิทธิขายเสียงและรายงานให้รัฐทราบ 7) ควรจัดให้มีกรรมการการเลือกตั้ง หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐลงพื้นที่มากกว่านี้หรือทุกหมู่บ้านโดยเริ่มตั้งแต่วันหาเสียง จนถึงวันเลือกตั้ง เพื่อดูแลและตรวจสอบได้ง่ายและชัดเจน ด้านภาคประชาชนประกอบด้วย ได้แก่ 1) ควรรับเงินหรือ สิ่งของที่ผู้สมัครเสนอให้ แต่ไม่ต้องเลือก 2) ประชาชนควรเพิ่มความเชื่อมั่นให้ตนเอง เป็นตัวของตัวเองไม่หลงเชื่อ คนอื่นหรือขายเสียง คิดถึงผลจากการเลือกคนไม่ดีเข้าไปในสภา