การพัฒนาเลิร์นนิง ออปเจ็กต์ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Authors

  • พัชริดา ปรีชาคม นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเลิร์นนิง ออปเจ็กต์ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีคุณภาพในระดับดีขึ้นไปจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนจากแบบ ทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดประชาราษฎร์บำรุง จังหวัดนครปฐม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 30 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เลิร์นนิง ออปเจ็กต์ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของ นักเรียนที่มีต่อบทเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และ การวิเคราะห์ค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1) เลิร์นนิง ออปเจ็กต์ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร ด้านเนื้อหาที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญมี คุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 83.33) และด้านเทคนิค มีคุณภาพอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 58.67) 2) คะแนนหลังเรียน สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อเลิร์นนิง ออปเจ็กต์ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร อยู่ในระดับมากที่สุด (ร้อยละ 79.17).

 

Abstract

The objectives of this research were 1) to develop efficient learning object on Digestive System for Prathomsuksa 6 students evaluated by experts at good level, 2) to compare between Pre-test scores and Post-test scores, and 3) to study the students satisfaction on developed learning object. The sample consisted of 30 Prathomsuksa 6 Students of Watpracharathbumrung school in Nakhon Pathom Province, studying in second semester of 2008 academic year. They were selected by cluster sampling. The instruments used were learning object on Digestive System, achievement test, and satisfaction questionnaire on learning object on Digestive System. The data were analyzed by using frequency, percent, and t-test.

The research results revealed that 1) expert’s evaluation on content of learning object on Digestive System was at very good level and technique aspect of learning object on Digestive System were at good level, 2) Post-test scores were significantly higher than Pre-test scores at the .05 level, and 3) The students satisfaction toward learning object on Digestive System were at high level.

Downloads

How to Cite

ปรีชาคม พ. (2013). การพัฒนาเลิร์นนิง ออปเจ็กต์ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. Creative Science, 1(2), 69–76. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/10193