องค์ประกอบและการปลดปล่อยคาร์บอนของการกำจัดขยะมูลฝอย กรณีศึกษาศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี COMPOSITION AND CARBON EMISSION FROM MUNICIPAL SOLID WASTE: A CASE STUDY OF SCIENCE CENTER, VALAYA ALONGKORN RAJABHAT UNIVERSITY UNDER THE ROYAL PATRONAGE, PATHUM THANI PROVINCE

Main Article Content

ณหทัย โชติกลาง
มณทิพย์ จันทร์แก้ว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาองค์ประกอบและประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของขยะมูลฝอย ของศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์จังหวัดปทุมธานี เก็บข้อมูลระหว่างเดือนเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2567 นำมาคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยใช้ค่าสัมประสิทธิของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีหน่วยเป็นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ตามแนวทางของคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และตามแนวทางของหน่วยงานองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ผลการศึกษาพบสัดส่วนขยะประเภทอาหารมีปริมาณมากที่สุดร้อยละ 51.21 รองลงมาคือกระดาษร้อยละ 20.70 และพลาสติกร้อยละ 20.13 พบโฟมมีสัดส่วนน้อยที่สุดคือร้อยละ 0.35 และอื่นๆ ร้อยละ 7.61 ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการกำจัดมูลฝอยรวมมีค่าเท่ากับ 2.118 kgCO2eq ต่อปี เศษอาหารมีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดคือ 1.106 kgCO2eq ต่อปี รองลงมาคือกระดาษ 0.518 kgCO2eq ต่อปี และพลาสติก 0.323 kgCO2eq ต่อปี และขยะประเภทโลหะและอลูมิเนียมมีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยที่สุดเท่ากับ 0.004 kgCO2eq ต่อปี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2565). การศึกษาองค์ประกอบมูลฝอยปี 2564. กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย, กรมควบคุมมลพิษ, กระทรวงทัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรมควบคุมมลพิษ. (2566). รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2566. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568, จาก https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2024/05/pcdnew-2024-05-09_07-53-50_682 275.pdf.

กรมควบคุมมลพิษ. (2561). แผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2563-2573 สาขาการจัดการของเสียชุมชน. กรมควบคุมมลพิษ, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรมควบคุมมลพิษ. (2564). นโยบายการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ (การประชุมเชิงปฏิบัติการชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตาม มาตรการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564). สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2568, จาก https://www.pcd.go.th/garbage/นโยบายการลดและคัดแยก-ขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ/.

นันทพร สุทธิประภา และ สุนิดา ทองโท. (2563). การปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลกระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 14(3), 161-174.

ปวีณา พาณิชยพิเชฐ. (2560). การลดก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะมูลฝอย. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568, จาก http://conference.tgo.or.th/download/tgo_or_th/Article/2017/Waste_GHGs.pdf.

มุกดาวรรณ ชนะวงศ์, โสภณ เบื้องบน, ภัควลัญชญ์ พินิจมนตรี, ศึกษา อุ่นเจริญ, สุวัฒนพงษ์ ศรีบุดดา, และ สุวิมล ดอบุตร (2566). องค์ประกอบของยะมูลฝอยและการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการกำจัดขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลชานุวรรณ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 13(2), 80-87.

ลดาวรรณ สว่างอารมณ์, ปัญจ์ปพัชรภร บุญพร้อม, สดายุ สุทธิมาศ, และ ประภัสสร เพ็ชรพันธ์. (2566). การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากการกำจัดขยะที่เกิดขึ้นของเทศบาลตำบลศาลาด่านจังหวัดกระบี่. วารสารวิชาการเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม, 10(1), 57-65.

สุชานุช ชูสุวรรณ, ศิริอุมา เจาะจิตต์, และ วาริท เจาะจิตต์. (2563). การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของการจัดการขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นจากแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 15(2), 1-12.

Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) (2006). IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories 2006. Retrieved January 14, 2025, from https://www.ipcc-nggip.iges.or.jp/public/2006gl/.

Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC). (2007). IPCC Fourth Assessment Report – Climate Change 2007. Retrieved January 14, 2025, from https://www.ipcc.ch/report/ar4/syr/.

SDG Move. (2567). รายงาน UNEP เตือน ภายในปี 2593 ขยะมูลฝอยชุมชน’ จะเพิ่มขึ้นเป็น 3.8 พันล้านตันหากไม่มีการจัดการอย่างเร่งด่วน. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568, จาก https://www.sdgmove.com/2024/02/29/unep-report-beyond-an-age-of-waste/.