กระถางเพาะชำจากเศษหญ้า NURSERY POTS FROM GRASS SCRAPS
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษากระถางเพาะชำจากเศษหญ้า โดยนำเศษหญ้าที่เหลือจากการปรับปรุงภูมิทัศน์สถานที่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี มาทำเป็นกระถางเพาะชำที่ย่อยสลายได้จากหญ้าที่ผลิตขึ้นจากวัสดุธรรมชาติ โดยนำกาวลาเท็กซ์ขนาด 10 กรัม ผสมน้ำเปล่า 300 มิลลิลิตร แล้วนำเศษหญ้าที่ผ่านคัดแยกสิ่งปนเปื้อนออกมาผสมกับกาวลาเท็กซ์ในอัตราส่วน 9 : 1, 8 : 2, 7 : 3 แล 6 : 4 โดยมวล ใช้แรงอัดจากแม่แรง 1 ตัน และให้ความร้อนที่แบบอัดกระถางที่ 120 องศาเซลเซียสในการขึ้นรูปกระถาง เป็นเวลา 3 นาที แล้วศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของกระถางเพาะชำจากเศษหญ้า โดยศึกษาอัตราส่วนผสมของเศษหญ้ากับกาวลาเท็กซ์ที่มีผลต่อการขึ้นรูปเป็นกระถาง ค่าการดูดซับน้ำของกระถางเพาะชำจากเศษหญ้า ค่าความต้านทานแรงกดของกระถางเพาะชำจากเศษหญ้า และการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของกระถางเพาะชำจากเศษหญ้า จากการศึกษาอัตราส่วนผสมเศษหญ้ากับกาวลาเท็กซ์ที่มีผลต่อการขึ้นรูปเป็นกระถางเพาะชำจากเศษหญ้า พบว่า อัตราส่วน 6 : 4 และ 7 : 3 สามารถขึ้นรูปได้ดี แต่อัตราส่วน 9 : 1 ไม่สามารถขึ้นรูปได้ อัตราส่วนผสมเศษหญ้ากับกาวลาเท็กซ์ที่มีผลต่อค่าการดูดซับน้ำของกระถางเพาะชำจากเศษหญ้า ในระยะเวลา 1 ชั่วโมง พบว่า อัตราส่วน 9 : 1 มีค่าการดูดซับน้ำมากที่สุดร้อยละ 329.37 สำหรับอัตราส่วนผสมเศษหญ้ากับกาวลาเท็กซ์ที่มีค่าความต้านทานแรงกดของกระถางเพาะชำจากเศษหญ้า พบว่า อัตราส่วน 6 : 4 มีความสามารถทนแรงกดได้ดีที่สุด ที่ 1.00 เมกะปาสคาล มีความยืดหยุ่นในการกดที่ 4.0 มิลลิเมตร และผลการคำนวณปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกระถางเพาะชำจากเศษหญ้า พบว่า อัตราส่วน 6 : 4 ปลดปล่อย 3.271 kgCO2eq มีค่าน้อยที่สุด หากมีการลดการเดินทางจะเหลือการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 0.502 kgCO2eq
Article Details
References
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม. (ม.ป.ป.). ลดการเผาฟางข้าวและตอซังและเศษวัสดุทางการเกษตร ลดภาวะโลกร้อน. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2567, จาก http://www.chamai.go.th/fileupload.
กิตติชัย โสพันนา, วิชชุดา ภาโสม, กนกวรรณ วรดง และ อนันตสิทธิ์ ไชยวังราช. (2554). กระถางเพาะชำชีวภาพ. (รายงานวิจัย). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
กิติยา โต๊ะทอง และ ธิดามาศ ขำสว่าง. (2562). กระถางปลูกต้นไม้จากฟางข้าวและเศษใบไม้แห้ง. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม, 5(1), 1-14.
เตือนใจ ปิยัง, วรรณวิภา ไชยชาญ และ กันตินาฏ สกุลสวัสดิพันธ์. (2561). การผลิตกระถางต้นไม้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากกากตะกอนน้ำปาล์ม และวัสดุเหลือทิ้งจากการเพาะเห็ด. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชคลศรีวิชัย, 10(3), 497-511.
ปทุมทิพย์ ต้นทับทิมทอง, มาริสา จินะดิษฐ์, วราภรณ์ ธนะกุลรังสรรค์, สุรัตน์ บุญพึ่ง, จิรพล กลิ่นบุญ, ไชยยันต์ ไชยยะ และ ฉันทมณี วังสะจันทานนท์. (2548) กระถางต้นไม้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
ภัทรียา นวลใย. (2562). ทำไมต้องเผาอ้อย?. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2567, จาก https://www.prachachat.net/columns/news-314852?fbclid.
วรลักษณ์ แย้มวงค์. (2563). การพัฒนาชุดวัสดุปลูก Green Clean Set ที่ย่อยสลายได้สำหรับการผลิตผัก. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
วรรณวิภา ไชยชาญ และ เอนก สาวะอินทร์. (2561). การผลิตและสมบัติของกระถางเพาะชำชีวภาพจากกากาแฟผสมปูนขาวจากเปลือกหอย. การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 28. ประจำปี 2561. 8-9 พฤษภาคม 2561. โรงแรมบีพี สมิหลา บีช. สงขลา. 48-59.
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). (2563). ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor) รวบรวมมาจากข้อมูลทุติยภูมิ สำหรับการประเมินคาร์บอนฟุตพรินท์ขององค์กร. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2567, จาก chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/http://localcfo.tgo.or.th/uploads/docs/20200311130041.pdf.
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). (2565). “Emission Factor (CFP)”. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2567, จาก https://thaicarbonlabel.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=Y0hKdlpIVmpkSE5mWlcxcGMzTnBiMjQ9.
Ioannidou, O. & Zabaniotou, A. (2007). Agricultural residues as precursors for activatedcarbon production: A review. Renewable and Sustainable Energy Reviews, 11, 1966-2005.
THAITEX. (2561). “คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์”. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2567, จาก https://www.thaitex.com/th/sustainability_standard/คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์-cfp.