ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลชีพก่อโรคผิวหนัง ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดหยาบโลดทะนงแดง
Main Article Content
บทคัดย่อ
โลดทะนงแดงเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่มีสรรพคุณถอนพิษ แก้พิษงู แก้ฟกช้ำ เคล็ดบวม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ยับยั้งจุลชีพก่อโรคทางผิวหนัง ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส และหาปริมาณสารฟลาโวนอยด์และสารฟีนอลิกของสารสกัดรากโลดทะนงแดง โดยการทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งจุลชีพด้วยวิธี broth microdilution และการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี 2, 2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) ผลการทดลองพบว่าสารสกัดเอทานอลจากรากโลดทะนงแดงมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลชีพก่อโรคผิวหนังโดยสามารถยับยั้งเชื้อจุลชีพได้ทั้ง 3 สายพันธุ์ โดยยับยั้งเชื้อ Candida albicans ATCC10231 ได้ดีที่สุด (MIC: 31.25 mg/mL, MBC: 31.25 mg/mL) รองลงมา คือการยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus ATCC25923 และ Pseudomonas aeruginosa ATCC27853 (MIC: 250 mg/mL, MBC: 500 mg/mL) ดังนั้นสารสกัดที่ได้จากรากโลดทะนงแดงสามารถนำมาใช้เป็นสารยับยั้งและฆ่าเชื้อโรคที่ก่อโรคผิวหนังได้ และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมีค่า IC50 เท่ากับ 623.28±7.37 µg/mL เปรียบเทียบกับสารมาตรฐานกรดแอสคอร์บิก และยังสามารถยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสได้ โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 809.63±65.22 µg/mL เปรียบเทียบกับสารมาตรฐานกรดโคจิกซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) และสารสกัดโลดทะนงแดงยังมีปริมาณสารสำคัญในสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ เท่ากับ 18.66±0.07 mg QE/g extract และมีปริมาณของสารกลุ่มฟีนอลิก เท่ากับ 10.22±0.13 mg GAE/g extract งานวิจัยนี้จึงเป็นการรายงานผลของสารสกัดโลดทะนงแดงที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพสามารถนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอางบำรุงผิวได้และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้สมุนไพรในท้องถิ่นนำไปเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรทางเลือกให้กับผู้บริโภคและสร้างมูลค่าทางเชิงพาณิชย์ได้
Article Details
References
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2561). สมุนไพรแก้แมลงสัตว์กัดต่อย. วารสารกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 1(4), 1-10.
กรมควบคุมโรค. (2556). ตำราวัคซีนและการสร้างเสริมภูมคุ้มกันโรค. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
กรมวิชาการ. (2542). คัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ. องค์การค้าคุรุสภา.
จินดาพร คงเดช. (2551). การผลิตสารยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส และสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชเพื่อใช้ในเครื่องสำอาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี).
ดวงแก้ว ปัญญาภู และ กฤษณะ คตสุข. (2561). โลดทะนงแดงสมุนไพรแก้พิษงู. วารสารกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 1(4), 11-20.
พรรณี หนูซื่อตรง, ดวงเดือน เมฆสุริเยนทร์ และ บุญรัตน์ จันทร์ทอง. (2551). กลไกความเป็นพิษของสารสกัดโลดทะนงแดงในเซลล์เอ็มบริโอพีสิบเก้า. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรพิมล พลคำ, ศรินทร์ ทองธรรมชาติ, ทองสุข พละมา, มนชวัน วังกุลางกูร และ สุชนา วานิช. (2561). การศึกษาเปรียบเทียบแบบแผนโปรตีนของพืชสมุนไพรต้านพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ด้วยวิธี Electrophoresis. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
รัตนา อินทรานุปกรณ์. (2547). การตรวจสอบและการสกัดแยกสารสำคัญจากสมุนไพร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Balouiri, M., Sadiki, M., & Ibnsouda, S.K. (2016). Methods for in vitro evaluating antimicrobial activity: A review. Journal of Pharmaceutical Analysis, 6(2), 71-79.
Birben, E., Sahiner, U.M., Sackesen, C., Erzurum, S., & Kalayci, O. (2012). Oxidative Stress and Antioxidant Defense. World Allergy Organ Journal, 5(1), 9–19.
Carlsen, M. H., Halvorsen, B. L., & Holte, K. (2010).The total antioxidant content of than 3100 foods, beverages, spices, herbs and supplements used worldwide. Nutrition Journal, 9(3), 1-11.
Chan, E. W. C., Lim, Y. Y., Wong, L. F., Lianto, F. S., Wong, S. K., Lim, K. K., Joe, C. E. & Lim, T. Y. (2008). Antioxidant and tyrosinase inhibition properties of leaves and rhizomes of ginger species. Food Chemistry, 109, 477–483.
Chang, Q., Zuo, Z., Harrison, F., & Chow, M. S. S. (2002). Hawthorn. Journal of Clinical Pharmacology, 42(6), 605-612.
Chu, Y.H., Chang, C. L., & Hsu, H. F. (2000). Flavonoid content of several vegetables and their antioxidant activity. Journal of the Science of Food and Agriculture, 80, 561-566.
Itah, A. & Essien, J. (2005). Growth profile and hydrocarbon clastic potential of microorganisms isolated from Tarballs in the Bight of Bonny, Nigeria. World Journal of Microbiology and Biotechnology, 21(7), 1317-1322.
Jayasuriya, H., Zink, D. L., Borris, R. P. Nanakorn, W., Beck, H. T., Balick, M. J., Goetz, M. A., Gregory, L., Shoop, W. L., & Singh, S. B. (2004). Rediocides B-E, potent insecticides from Trigonostemon reidioides. Journal of Natural Products, 67(2), 228-231.
Kaemchantuek, P., Chokchaisiri, R., Prabpai S., Kongsaeree, P., Chunglok, W., Utaipan, T., Chamulitrat, W., & Suksamrarn, A. (2017). Terpenoids with potent antimycobacterial activity against Mycobacterium tuberculosis from Trigonostemon reidioides roots. Tetrahedron, 73(12), 1594-1601.
Pandey, A. & Tripathi, S. (2014). Concept of standardization, extraction and pre phytochemical screening strategies for herbal drug. Journal of Pharmacognosy and Phytochemistry, 2(5), 115-119.
Peters, B.M., Jabra-Rizk, M.A., Scheper M.A., Leid, J. G., Costerton, J. W., & Shirtliff, M. E. (2010). Microbial interactions and differential protein expression in Staphylococcus aureus - Candida albicans dual-species biofilms. FEMS Immunology and Medical Microbiology, 59(3), 493–503.
Sangdee, A., Sangdee, K., Bunchalee, P., & Seephonkai, P. (2021). Antibacterial activity and mechanism of action of trigonostemone against Staphylococcus aureus and Bacillus cereus. Tropical Biomedicine, 38(4), 484-490.
Sharma, B. R., Kumar, V., Gat, Y., Kumar, N., Parashar, A., Pinakin, D. J. (2018). Microbial maceration: a sustainable approach for phytochemical extraction. 3 Biotech, 8(9), 401. doi: 10.1007/s13205-018-1423-8.
Singleton, V. L. & Rossi, J. A. (1965). Colorimetry of total phenolics with phosphomolybdic phosphotungstic acid reagents. American Journal of Enology and Viticulture, 16, 144.
Utsintong, M., Talley, T. T., Taylor, P. W., Olson, A. J., & Vajragupta, O. (2009). Virtual Screening Against α-Cobratoxin. Journal of Biomolecular Screening, 14(9), 1109–1118.