ปริมาณฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์รวม ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดส่วนใบและเหง้าว่านสาวหลง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสรวมทั้งวิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิกรวมและปริมาณฟลาโวนอยด์รวมของสารสกัดเอทานอลจากว่านสาวหลง โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนใบและส่วนรากหรือเหง้าของว่านสาวหลง การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระทำโดยวิธี 2,2–diphenyl–1–picrylhydrazyl (DPPH assay) การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสด้วยวิธี Dopachrome method การวิเคราะห์ปริมาณ ฟีนอลิกรวมด้วยวิธี Folin-Ciocalteu assay และการวิเคราะห์ปริมาณ ฟลาโวนอยด์รวมทำโดยวิธี Aluminum chloride colorimetric assay จากการศึกษา พบว่า สารสกัดเอทานอลจากใบว่านสาวหลง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด (IC50= 2,085.64 ± 2.86 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) นอกจากนี้ยังพบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสมากที่สุด (IC50= 262.02 ± 5.89 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) ปริมาณสารฟีนอลิกรวม เท่ากับ 21.92 ± 0.79 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมสารสกัด และปริมาณสารฟลาโวนอยด์รวม เท่ากับ 14.12 ± 0.12 มิลลิกรัมสมมูลของเควอซิทินต่อกรัมสารสกัด การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดใบว่านสาวหลงเป็นแหล่งของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่น่าสนใจ ซึ่งอาจเป็นสมุนไพรทางเลือกในการนําไปใช้ประโยชน์ทางด้านเวชสำอาง ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และวิจัยต่อยอดด้านเภสัชวิทยาเพื่อการพัฒนาเป็นสารออกฤทธิ์ทางยาต่อไป
Article Details
References
รัตนา อินทรานุปกรณ์. (2547). การตรวจสอบและการสกัดแยกสารสำคัญจากสมุนไพร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลัดดาวัลย์ พะวร, คงศักดิ์ บุญยะประณัย, อรอุมา จันทร์เส, มินตรา อานนท์, สุพจน์ ทับทิมให และ อนุสรา อันพิมพ์. (2022). ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส และอีลาสเตสของผัก 10 ชนิด ในจังหวัด นครราชสีมา. Journal of Science & Technology MSU, 41(6), 277-284.
ศิริพรรณ สุขขัง, สมนึก พรมแดง และ สายน้ำอ้อย สว่างเมฆ. (2560). ผักพื้นบ้านรสเปรี้ยวในการเปนแหล่งของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ. ใน เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 55 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (หน้า 288-295). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
สนั่น ศุภธีรสกุล และ กชกร มุสิกพงษ์. (2557). ผลต่อการผ่อนคลายในอาสาสมัครของน้ำมันหอมระเหยจากว่านสาวหลง. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 7, 17-25.
Chan, E. W. C., Lim, Y. Y., Wong, L. F., Lianto, F. S., Wong, S. K., Lim, K. K., & Lim, T. Y. (2008). Antioxidant and tyrosinase inhibition properties of leaves and rhizomes of ginger species. Food chemistry, 109(3), 477-483.
Chang, Q., Zuo, Z., Harrison, F., & Chow, M. S. S. (2002). Hawthorn. The Journal of Clinical Pharmacology, 42(6), 605-612.
Chu, Y. H., Chang, C. L., & Hsu, H. F. (2000). Flavonoid content of several vegetables and their antioxidant activity. Journal of the Science of Food and Agriculture, 80(5), 561-566.
Ebanks, J. P., Wickett, R. R., & Boissy, R. E. (2009). Mechanisms regulating skin pigmentation: the rise and fall of complexion coloration. International journal of molecular sciences, 10(9), 4066-4087.
Halliwell, B., & Gutteridge, J. (2007). Free Radicals in Biology and Medicine. 4th ed. New York: Oxford University Press.
Hongsiri, A., & Duanyai, S. (2022). Antioxidant Activity, Total phenolic and Essential Oil from Amomum biflorum Jack: ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสารประกอบฟีนอลิกและองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยว่านสาวหลง. Advanced Science Journal, 22(2), R36-R47.
Kim, Y. J., & Uyama, H. (2005). Tyrosinase inhibitors from natural and synthetic sources: structure, inhibition mechanism and perspective for the future. Cellular and molecular life sciences. 62, 1707-1723.
Polsena, P. (2007). Khoa Hin Son Botanic Gardens (Complete version). Bangkok, Thailand: Jetanaromphan Printing. (in Thai)
Singleton, V. L., & Rossi, J. A. (1965). Colorimetry of total phenolics with phosphomolybdic-phosphotungstic acid reagents. American journal of Enology and Viticulture, 16(3), 144-158.
Singtothong, C., Gagnon, M. J., & Legault, J. (2013). Chemical composition and biological activity of the essential oil of Amomum biflorum. Natural Product Communications, 8(2), 265-267.
Srisook, K., Salee, P., Charoensuk, Y., & Srisook, E. (2010). In vitro anti-oxidant and anti-tyrosinase activities of the rhizomal extracts from Amomum biflorum Jack. Thai Journal of Botany, 2, 143–150.
Uthairung, A., Rattarom, R., & Mekjaruskul, C. (2020). Cosmeceutical applications of essential oils of Amomum biflorum Jack from whole plant and rhizome. Thai Journal of Science and Technology, 9(5), 680-692.