ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณฟีนอลิกรวมของสารสกัดหยาบจากส่วนต่าง ๆ ของดอกบัวหลวงสีชมพู
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณฟีนอลิกรวมของสารสกัดจากดอกบัวหลวงสีชมพู ซึ่งเป็นพืชที่ปลูกมากในจังหวัดพิจิตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่สามารถเพิ่มมูลค่าในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือเครื่องดื่มที่ช่วยลดอนุมูลอิสระในร่างกาย การวิจัยนี้ทำการสกัดส่วนต่าง ๆ ของดอกบัวหลวงสีชมพู ได้แก่ กลีบดอก, เกสร, และรังไข่ ทั้งในรูปแบบสดและอบแห้ง โดยใช้ตัวทำละลายเอทานอลบริสุทธิ์และเอทานอลผสมน้ำ (1:1 โดยปริมาตร) จากนั้นนำสารสกัดหยาบมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และวัดปริมาณฟีนอลิกรวมด้วยวิธี Folin-Ciocalteu ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดจากส่วนต่าง ๆ ของบัวหลวงในรูปแบบอบแห้งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าสารสกัดจากบัวหลวงสด โดยเฉพาะสารสกัดจากเกสรอบแห้งที่ใช้ตัวทำละลายเอทานอลผสมน้ำ ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH สูงสุด (IC50 = 9.31±1.45 µg/mL) เมื่อเปรียบเทียบกับรังไข่และกลีบดอกอบแห้ง นอกจากนี้ การสกัดด้วยเอทานอลผสมน้ำยังให้ปริมาณฟีนอลิกรวมสูงที่สุด โดยสารสกัดจากเกสรอบแห้งมีปริมาณฟีนอลิกรวมสูงสุด (209.70± 2.17 mg GAE/g DW)
Article Details
References
กรรณิการ์ พิมพ์รส, เกศริน ฑีฆายุ และ พิรดา สุดประเสริฐ. (2563). ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ Pseudomonas aeruginosa ของสารสกัดจากพะยอม (Shorea roxburghii G. Don). วารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ, 8(1), 15-27.
กุสุมา จิตแสง และ บรรลือ สังข์ทอง. (2560). ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณฟีนอลิกรวมจากส่วนต่าง ๆ ของบัวหลวง 2 พันธุ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย มหาสารคาม, 36(2), 154-160.
จันทกานต์ นุชสุข. (2561). ฤทธิ์การต้านอนุมลู อิสระของสารสกัดหยาบจากปลีกล้วยไข่กล้วยน้ำว้า และกล้วยหอม. วารสารวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์, 10(12), 1-10.
จิรภัทร เล่ห์สิงห์, ธัญญะ พรหมศร, กริยาภา หลายรุ่งเรือง และ เจมส์ พึ่งผล. (2567). การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและการวิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิกรวมจากสารสกัดยาอายุวัฒนะ. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 18(1), 79-91.
ชนัญ ผลประไพ และ ศรัณยู อุ่นทวี. (2562). การพัฒนากระบวนการเตรียมสารสกัดสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ. Thai Journal of Science and Technology, 8(5), 479-492.
พนิดา แสนประกอบ และ เกศศิรินทร์ แสงมณี. (2562). การประยุกต์ใช้สารสกัดกระเจี๊ยบแดงในบลัชครีม. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 11 วันที่ 27-28 มีนาคม 2562, 3(ST.101), 1-5.
วรรณิสา แก้วบ้านกรูด, รินทร์ลดา มหาสถิตย์, กนิษฐา ส้วนโนลี และ วรงค์พร รัตนบุญ. (2567). บาล์มทำความสะอาดเครื่องสำอางจากสารสกัดเปลือกมะเขือเทศราชินี. วารสารวิจัย มทร.กรุงเทพ, 18(1), 90-99.
สุริยา ทุดปอ และ จิตรา สิงห์ทอง. (2560). สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของแก่นตะวันที่มีอายุการเก็บเกี่ยวต่างกัน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิยาลัยอุบลราชธานี, 19(3), 45-57.
อรอุมา คำแดง, รัตนาภรณ์ มะโนกิจ และ เกรียงศักดิ์ สิงห์แก้ว. (2565). คุณภาพทางกายภาพ เคมี และประสาทสัมผัสของเครื่องดื่มกุหลาบเสริมรากบัวหลวงแบบสดและแบบอบ แห้ง. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 1(1), 8-21.
Abubakar, A. R., & Haque, M. (2020). Preparation of Medicinal Plants: Basic Extraction and Fractionation Procedures for Experimental Purposes. Journal of Pharmacy and Bioallied Sciences, 12(1), 1-10.
Adwas, A. A., Elsayed, A., Azab, A. E., & Quwaydir, F. A. (2019). Oxidative stress and antioxidant mechanisms in human body. Journal of Applied Biotechnology & Bioengineering, 6(1), 43-47.
Meda, A., Lamien, C. E., Romito, M., Millogo, J., & Nacoulma, O. G. (2005). Determination of the total phenolic, flavonoid and proline contents in Burkina Fasan honey, as well as their radical scavenging activity. Food chemistry, 91(3), 571-577.
On-nom, N., Thangsiri, S., Inthachat, W., Temviriyanukul, P., Sahasakul, Y., Chupeerach, C., & Suttisansanee, U. (2023). Seasonal effects on phenolic contents and in vitro health-promoting bioactivities of sacred lotus (Nelumbo nucifera). Plants, 12(7), 1441.
Shirwaikar, A., Shirwaikar, A., Rajendran, K., & Punitha, I. S. R. (2006). In vitro antioxidant studies on the benzyl tetra isoquinoline alkaloid berberine. Biological and Pharmaceutical Bulletin, 29(9), 1906-1910.
Singleton, V., & Rossi, J. (1965). Colorimetry of Total Phenolic Compounds with Phosphomolybdic-Phosphotungstic Acid Reagents. American Journal of Enology and Viticulture, 16, 144-158.
Zhu, K. X., Lian, C. X., Guo, X. N., Peng, W., & Zhou, H. M. (2011). Antioxidant activities and total phenolic contents of various extracts from defatted wheat germ. Food Chemistry, 126(3), 1122-1126.