อิทธิพลของน้ำส้มควันไม้ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของเมล่อน

Main Article Content

โฉมยง ไชยอุบล
เยาวพล ชุมพล
วชิราวุธ พิศยะไตร
วีระชัย ทองดี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอิทธิพลของน้ำส้มควันไม้ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของเมล่อนสายพันธุ์จันทร์ฉาย แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์(Completely Randomized Design: CRD) จำนวน 6 ซ้ำ ปลูกเมล่อนสายพันธุ์จันทร์ฉายลงในถุงพลาสติกดำ ซึ่งกำหนดให้อัตราส่วนผสมของน้ำส้มควันไม้ต่อน้ำเป็นทรีตเมนต์ ซึ่งมี 4 ทรีตเมนต์ ได้แก่ ทรีตเมนต์ที่ 1 รดต้นเมล่อนด้วยน้ำเปล่า (T1) คือ ชุดควบคุม ทรีตเมนต์ที่ 2 รดด้วยน้ำส้มควันไม้ต่อน้ำในอัตราส่วน 1:100 (T2) ทรีตเมนต์ที่ 3 รดด้วยน้ำส้มควันไม้ต่อน้ำในอัตราส่วน 1:200 (T3) และทรีตเมนต์ที่ 4 รดด้วยน้ำส้มควันไม้ต่อน้ำในอัตราส่วน 1:300 (T4) ซึ่งทำการรดต้นเมล่อนด้วย 4 ทรีตเมนต์นี้ ทุกสัปดาห์หลังย้ายปลูก จากนั้นวัดการเจริญเติบโตของต้นเมล่อนในด้านต่าง ๆ ทุกสัปดาห์ ได้แก่ ด้านความสูง จำนวนใบ ความกว้างใบ ความยาวใบ และความยาวก้านใบ สำหรับความกว้างผล ความยาวผล น้ำหนักผล และค่าความหวาน จะทำการตรวจวัดที่อายุเก็บเกี่ยวเมล่อนครบ 6 สัปดาห์ จากผลการทดลอง พบว่า การรดต้นเมล่อนด้วยทรีตเมนต์ที่ 2 (1:100) และทรีตเมนต์ที่ 3 (1:200) เมื่อต้นเมล่อน มีอายุ 1, 2 และ 6 สัปดาห์หลังย้ายปลูก มีผลทำให้ความสูงของต้นเมล่อนมีค่าสูงที่สุดและมีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตในด้านจำนวนใบ ความยาวก้านใบ ความยาวใบ และความกว้างของใบเมล่อน อีกทั้งยังไม่มีผลต่อความยาวผล ค่าความหวาน และน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยของผลเมล่อน ในการวิจัยครั้งนี้อาจสรุปได้ว่าน้ำส้มควันไม้ในอัตราส่วนผสมต่อน้ำที่ 1:100 และ 1:200 มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของเมล่อนในด้านความสูงของลำต้นในช่วงอายุ 1-6 สัปดาห์ หลังย้ายปลูก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คริษฐ์สพล หนูพรหม, ศรายุทธ แก้วอาภรณ์, ศรัณยู เนียมรินทร์ และ อดิศักดิ์ สิงสุด. (2559). ผลของน้ำส้มควันไม้ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของบรอคโคลี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 24(3), 469-478.

รัชนี พุทธา และ รัตติกาล เสนน้อย. (2562). ผลของชนิดน้ำส้มควันไม้และขนาดหัวต่อปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ของหัวแก่นตะวัน. แก่นเกษตร, 47(ฉบับพิเศษ 1), 611-616.

สุจิตรา สืบนุการณ์. (2560). ผลของความเข้มข้นและระยะเวลาที่เหมาะสมของการแช่เมล็ดด้วยน้ำส้มควันไม้ต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของผักคะน้า.การเกษตรราชภัฏ, 16(2), 53-60.

อิสมะแอ เจ๊ะหลง และ ลักขณา รักขพันธ์. (2558). ผลของความเข้มข้นน้ำส้มควันไม้ต่อการเจริญเติบโตและมวลชีวภาพของกล้ายางพาราพันธุ์ RRIM 600 (Hevea brasiliensis Mull. Arg). แก่นเกษตร, 43(3), 585-590.

Abdolahipour, B., & Haghighi, M. (2019). The effects of pine wood vinegar on the germination, growth and photosynthetic characteristics of cucumber. Iran Agricultural Research, 38(2), 83-90.

Benzon, H. R. L., & Lee, S. C. (2016). Potential of wood vinegar in enhancing fruit yield and antioxidant capacity in tomato. Korean Journal of Plant Resources, 29(6), 704-711.

Chalermsan, Y., & Peerapan, S. (2009). Wood vinegar: by-product from rural charcoal kiln and its role in plant protection. Asian Journal of Food and Agro-Industry, 2(Special Issue), 189-195.

Mu, J., Uehara, T., & Furuno, T. (2003). Effect of bamboo vinegar on regulation of germination and radicle growth of seed plants. Journal of wood science, 49, 262-270.

Mungkunkamchao, T., Kesmala, T., Pimratch, S., Toomsan, B., & Jothityangkoon, D. (2013). Wood vinegar and fermented bioextracts: Natural products to enhance growth and yield of tomato (Solanum lycopersicum L.). Scientia horticulturae, 154, 66-72.

Pan, X., Zhang, Y., Wang, X., & Liu, G. (2017). Effect of adding biochar with wood vinegar on the growth of cucumber. In IOP Conference Series: Earth and Environmental Science (Vol. 61, No. 1, p. 012149). IOP Publishing.

Zulkarami, B., Ashrafuzzaman, M., Husni, M. O., & Ismail, M. R. (2011). Effect of pyroligneous acid on growth, yield and quality improvement of rockmelon in soilless culture. Australian Journal of Crop Science, 5(12), 1508-1514.

Zhu, K., Gu, S., Liu, J., Luo, T., Khan, Z., Zhang, K., & Hu, L. (2021). Wood vinegar as a complex growth regulator promotes the growth, yield, and quality of rapeseed. Agronomy, 11(3), 510. doi: 10.3390/agronomy11030510.