การวิเคราะห์ธาตุองค์ประกอบและลักษณะสัณฐานของรอยเปื้อนแป้งผัดหน้าบนผ้าที่แตกต่างกันโดย SEM/EDS สำหรับงานด้านนิติวิทยาศาสตร์

Main Article Content

ศุภิสรา นรนิ่ม
ปริญญา สีลานันท์

บทคัดย่อ

ในงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ วัตถุสิ่งของที่สัมผัสแลกเปลี่ยนกันบริเวณหนึ่งสามารถนำมาตรวจเปรียบเทียบและเชื่อมโยงกับพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะระหว่างผู้เสียหายกับผู้กระทำผิด เครื่องสำอางเป็นวัตถุที่แลกเปลี่ยนระหว่างบุคคลได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเครื่องสำอางประเภทแป้งผัดหน้าที่ทำการจำลองเป็นรอยเปื้อนบนพื้นผิวผ้าฝ้ายและโพลีเอสเทอร์ วิเคราะห์ลักษณะและธาตุองค์ประกอบด้วย Scanning Electron Microscope ร่วม Energy Dispersive Spectroscopy (SEM/EDS) ผลการวิจัย พบว่า ลักษณะและธาตุองค์ประกอบของผงแป้งจะแตกต่างกันตามชนิดและส่วนผสมของแต่ละผลิตภัณฑ์ แป้งกลุ่มทัลคัมทั้ง 3 ตัวอย่าง มีลักษณะเป็นแผ่นเหลี่ยมขนาดจากเล็กไปใหญ่เป็น 38.6 ± 4.5 µm 42.2 ± 3.5 µm และ 44.3 ± 8.9 µm ผงแป้งกลุ่มซิลิกามีลักษณะทรงกลมขนาด 8.2 ± 1.2 µm ส่วนแป้งกลุ่มไมกาพบเป็นแผ่นทรงเหลี่ยมมีขนาด 12.5 ± 1.1 µm และพบอนุภาคทรงกลมขนาด 13.5 ± 2.2 µm ผสมอยู่ ปริมาณธาตุองค์ประกอบแป้งแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน แป้งกลุ่มทัลคัมมีธาตุหลัก C, O, Mg, และ Si และพบธาตุ Zn ในตัวอย่างที่ตรงกับส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ แป้งชนิดซิลิกาจะพบธาตุหลัก C, O, และ Si ส่วนแป้งชนิดไมกาจะพบธาตุ C, O, Si และ Mg เป็นหลัก มีธาตุ Al และ K ที่เป็นองค์ประกอบเฉพาะจากแร่ไมกา จากผล การวิจัย รอยเปื้อนแป้งผัดหน้าบนพื้นผิวผ้ามีลักษณะสัณฐานและธาตุองค์ประกอบที่สอดคล้องกับผงแป้งแต่ละชนิด สามารถใช้ตรวจเปรียบเทียบชนิดของแป้งผัดหน้าจากรอยเปื้อนแป้งได้ อีกทั้งมีประโยชน์ในการตรวจพิสูจน์และเป็นฐานข้อมูลสนับสนุนงานด้านนิติวิทยาศาสตร์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ศิริณญา อยู่สุข. (2557). การวิเคราะห์แป้งผัดหน้าโดยเทคนิค Gas Chromatography (GC) และ X-Ray Diffraction (XRD) สำหรับประยุกต์ใช้ทางนิติวิทยาศาสตร์. รายงานการประขุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 5 กลุ่มระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์ วันที่ 25-26 มีนาคม 2557, 5(1), 181-189. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Chophi, R., Sharma, S., Sharma, S., & Singh, R. (2019). Trends in the forensic analysis of cosmetic evidence. Forensic Chemistry, 14, 100165.

Ezegbogu, O. M., & Osadolor, B. H. (2019). Comparative Forensic Analysis of Lipsticks Using Thin Layer Chromatography and Gas Chromatography. International Scholarly and Scientific Research & Innovation, 13(5), 231-235.

Gardner, P., Bertino, F. M., & Hazelrigg, E. (2013). Analysis of lipsticks using Raman spectroscopy. Forensic Science International, 232(1), 67-72.

Gordon, A., & Coulson, S. (2004). The Evidential Value of Cosmetic Foundation Smears in Forensic Casework. Journal of Forensic Science, 49(6), 1244-1252.

Najjar, K., Blackledge, D. R., & Bridge, C. (2022). Leading Edge Techniques in Forensic Trace Evidence Analysis. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.

Nickell, J., & Fischer, J. F. (2014). Crime science: methods of forensic detection. University of Kentucky: University Press of Kentucky.

Richard, S. (2009). Forensic Science: From the Crime Scene to the Crime Lab. New Jersey: Pearson: Prentice Hall.

Steiling, W., Almeida, J. F., Assaf Vandecasteele, H., Gilpin, S., Kawamoto, T., O’Keeffe, L., Pappa, G., Rettinger, K., Rothe, H., & Bowden, M. A. (2018). Principles for the safety evaluation of cosmetic powders. Toxicology Letters, 297, 8-18.

Thongpagde, W., & Saksiri, N. (2022). Developing the Forensic Evidence and Problem in Murder Prosecution. Journal of Criminology and Forensic Science, 8(2), 186-203.