การพัฒนาระบบสนับสนุนการจัดทดสอบและการประเมินผลออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Main Article Content

เสาวนีย์ ปรัชญาเกรียงไกร
จุฑามาส ศิริอังกูรวาณิช
สุปราณี ห้อมา

บทคัดย่อ

            การพัฒนาระบบสนับสนุนการจัดทดสอบและการประเมินผลออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการใช้งานระบบ 2) ออกแบบและพัฒนาระบบ และ 3) ประเมินคุณภาพของระบบที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลความต้องการ 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน และ 4) แบบประเมินความเกี่ยวข้องกับระบบโดยตัวแทนสถานศึกษาวิธีการพัฒนาระบบ 5 ขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจัดทำระบบเป็นเว็บแอปพลิเคชันด้วย MySQL, PHP V.8.1.25, JavaScript, jQuery, Ajax, HTML5, Laravel Framework และ Bootstrap 5.0 ผลการศึกษาความต้องการจากอาจารย์และนักศึกษา 10 คน ต้องการระบบข้อสอบแบบตัวเลือกและแบบเติมคำ ป้องกันการทุจริตการสอบได้ มีการรายงานผลคะแนนสอบ มีการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ ค่าความยากง่าย และค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบได้ผลการออกแบบและพัฒนาระบบ ประกอบด้วย ระบบสร้างข้อสอบ ระบบจัดการข้อมูลทั่วไปของระบบ ระบบจัดการข้อมูลผู้ใช้ และระบบออกรายงาน ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.73, S.D.=0.35) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้โดยอาจารย์ 11 คน อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.46, S.D.=0.62) การทำงานของระบบสอดคล้องกับความต้องการของอาจารย์ ร้อยละ 83.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้โดยนักศึกษา 20 คน อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=3.74, S.D.=0.76) การทำงานของระบบสอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษา ร้อยละ 100.00 และผลการประเมินความเกี่ยวข้องกับระบบด้านความสามารถในการทำงานโดยตัวแทนสถานศึกษา 6 คน เห็นว่าระบบมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของสถานศึกษา ร้อยละ 100.00 และมีความพึงพอใจในการใช้งานระบบอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.68, S.D.=0.57) จึงสรุปได้ว่าระบบที่พัฒนาสามารถนำไปใช้งานได้จริงในสถานศึกษาที่มีการเรียนการสอนในระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กวินธร รัฐอาจ. (2559). การพัฒนาคลังข้อสอบออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://satit.msu.ac.th/th/data/file_up/20160822121116.pdf.

ชรินทร์ญา หวังวัชรกุล, พิมพ์พิชชา ประภาวิรัลพัชร์ และ ดานุกา นามวงศ์ษา. (2566). การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อยกระดับธุรกิจและเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสำหรับธุรกิจ SME ในจังหวัดเลย : กรณีศึกษา ห้าง ส.ทวีภัณฑ์สโตร์ จังหวัดเลย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 11(3), 1-15.

พระครูใบฎีกาศรีธนญชัย ธนญฺชยเมธี (สูกรรัตนวงศ์). (2561). การพัฒนาระบบทดสอบออนไลน์เพื่อการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และ อัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

วรรธนัย ตั้งศรีโรจน์กุล. (2564). แนะนำ 7 ภาษา Programming Language มาแรง น่าเรียนในปี 2021-2022. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566, จาก https://blog.skooldio.com/top-7-programming-language/.

วิจารณ์ พานิช. (2558). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 1(2), 3-14.

สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา. (2561). แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี พ.ศ.2561 – 2580. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

เสาวนีย์ ปรัชญาเกรียงไกร และ ฐัศแก้ว ศรีสด. (2562). ระบบบริหารจัดการข้อมูลการใช้ประโยชน์จากต้นจาก. สักทอง: วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สทวท). 6(1), 21-28.

AWS. (n.d.). เว็บแอปพลิเคชันคืออะไร. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566, จาก https://aws.amazon.com/th/what-is/web-application/.

Amini, M., Rahmani, A., Abedi, M., Hosseini, M., Amini, M., Amini, M., Research Group, M. (2021). Mahamgostar.com as a case study for adoption of laravel framework as the best programming tools for PHP Based Web development for small and medium enterprises. Journal of Innovation & Knowledge, Special Issue, 100-110.

Shukla, A., & Binawade, V. (2022). Online Examination System. International Journal For Science Technology And Engineering, 10(5), 1440-1443. Doi: 10.22214/ijraset.2022.42596.

Angeline Ranjithamani, D., Sowmiya, S., Nambi Natchiyar, K., Subalakshmi, K., Sujitha, M., & AandalGayathiri, R. (2023). Secured online examination system using laravel framework. In: Proceedings of the International conference on intelligent computing techniques in electrical energy system (ICICTEES), 22 May, 2023, Tirunelveli, India.

Khan, M. A., Vivek, V., Khojah, M., Nabi, M. K., Paul, M., & Minhaj, S. M. (2021). Learners’ perspective towards e-exams during COVID-19 outbreak: Evidence from Higher Educational Institutions of India and Saudi Arabia. International Journal of Environmental Research and Public Health, 18(12), 1-18.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijsresearch, 2(2), 49–60.