การพัฒนาระบบตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็กอัจฉริยะ สำหรับภายในและภายนอกอาคาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาระบบตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็กในระดับ PM 2.5 ที่สามารถวัดและรายงานค่าฝุ่นละอองได้ตามเวลาจริงในสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกอาคาร ผลการทดสอบการวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในอากาศเฉลี่ยต่อเนื่อง 24 ชั่วโมงเป็นเวลา 16 วัน ด้วยเครื่องมือวัดฝุ่นที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น พบว่ามีแนวโน้มของกราฟแสดงปริมาณฝุ่นที่ใกล้เคียงกันหรือไปในทิศทางเดียวกันกับอุปกรณ์มาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษที่ติดตั้ง ณ ศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าโอทอป ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีค่าความแตกต่างของปริมาณฝุ่นละอองเฉลี่ย 6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ผลวิจัยชี้ว่า เครื่องต้นแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้งานได้ นอกจากนี้ระบบตรวจวัดฝุ่นสามารถเรียกดูค่าปริมาณฝุ่นย้อนหลังได้ตามช่วงวันและเวลาต่างๆ ได้ ทั้งในรูปแบบของกราฟและตาราง ผ่านทางเว็บไซต์ที่สามารถเข้ากันได้กับทั้งเว็บเบราว์เซอร์ในคอมพิวเตอร์และสมาร์ตโฟน พร้อมทั้งมีระบบแจ้งเตือนค่าฝุ่นละอองผ่านระบบแจ้งเตือนทางแอปพลิเคชันไลน์ เมื่อมีปริมาณของฝุ่นละอองที่เกินค่ามาตรฐาน
Article Details
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2561). โครงการศึกษาแหล่งกำเนิดและแนวทางการจัดการฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2566, จาก https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2020/06/pcdnew-2020-06-05_02-34-12_147817.pdf.
กรมควบคุมมลพิษ. (2565). ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่องกำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศโดยทั่วไป พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2566, จาก https://www.pcd.go.th/laws/26439.
กรมควบคุมมลพิษ. (2565). รายงานสถานการณ์และการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศและเสียงของประเทศไทย ปี 2565. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2566, จาก https://www.pcd.go.th/publication/30447.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แนวทางมาตรการ การเฝ้าระวังสุขภาพ และสื่อสารความเสี่ยง เพื่อสร้างความรอบรู้ที่เกี่ยวข้องกับฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM2.5). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2566, จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1287120220815094919.pdf.
กรมอนามัย. (2565). ประกาศกรมอนามัย เรื่องค่าเฝ้าระวังคุณภาพอากาศภายในอาคารสาธารณะ พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2566, จาก https://laws.anamai.moph.go.th/th/practices/211864.
กลุ่มเฝ้าระวังฝุ่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2562). เรียนรู้ อยู่กับฝุ่น PM2.5. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.chula.ac.th/protect-yourself-from-pm2-5-air-pollution-and-hazardous-dust/.
ชัยวุฒิ วุทธิสิทธิ์. (2560). ระบบเฝ้าระวังคุณภาพอากาศสำหรับประเมินผลกระทบต่อสุขภาพโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ทของทุกสรรพสิ่ง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 2(1), 1-9.
ชาคริต โชติอมรศักดิ์ และ ดวงนภา ลาภใหญ่. (2561). ปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาที่สัมพันธ์ต่อการเกิดปัญหามลพิษทางอากาศในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 9(2), 237-249.
ฐิฏาพร สุภาษี, พานิช อินต๊ะ, เสริมเกียรติ จอมจันทร์ยอง และ เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล. (2561). การวิเคราะห์ปริมาณฝุ่นละออง เชิงมวล PM2.5 และ PM10 ในบรรยากาศด้วยเครื่อง ตรวจวัดฝุ่นละอองไร้สายในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา, 2(1), 69-83.
ลัดดาวัลย์ จำปา. (2565). การพัฒนาเครื่องวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนที่ใช้เซนเซอร์วัดปริมาณฝุ่นละอองและแจ้งเตือนผ่านทางแอปพลิเคชัน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 24(2), 48-55.