การศึกษาเอกลักษณ์ของพืชสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคผิวหนังทางการแพทย์แผนไทย

Main Article Content

ศิริพักตร์ จันทร์สังสา
นวรัตน์ วิริยะเขษม
ศิวพงษ์ ตันสุวรรณวงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบเอกลักษณ์ของพืชสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคผิวหนังทางการแพทย์แผนไทย จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ โกฐกะกลิ้ง ทองพันชั่ง ชุมเห็ดเทศ พลู และราชพฤกษ์ ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่สามารถเพาะปลูกหรือหาได้ในท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย โดยมีวิธีการวิจัย คือ 1) การตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของพืชสมุนไพรตามหลักการพิจารณาตัวยา 5 ประการ ได้แก่ ชื่อ รูป สี กลิ่น และรส 2) การตรวจสอบเอกลักษณ์ทางเคมีของพืชสมุนไพรโดยเทคนิคโครมาโตรกราฟีแบบบาง เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลสำหรับพัฒนาต้นแบบสายพันธุ์สมุนไพรท้องถิ่นที่มีคุณภาพ


ผลการศึกษาลักษณะทางกายภาพของพืชสมุนไพร พบว่า (1) เมล็ดโกฐกะกลิ้ง มีลักษณะกลมแบนคล้ายกระดุมขอบนูน สีขาวนวลแกมเทา ไม่มีกลิ่นและมีรสขมเมาเบื่อ (2) ใบทองพันชั่ง เป็นใบเดี่ยวรูปรี ปลายและโคนใบแหลม ใบสีเขียว มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีรสเบื่อเอียน (3) ใบชุมเห็ดเทศ เป็นใบประกอบขนนก ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปรี ปลายและโคนใบกลม สีเขียวอ่อน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีรสเบื่อเอียน (4) ใบพลู เป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจ สีเขียวเข้ม มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีรสเผ็ดร้อน (5) ใบราชพฤกษ์ เป็นใบประกอบขนนก ใบย่อยรูปไข่ ปลายแหลม สีเขียวเข้ม ไม่มีกลิ่นและมีรสฝาด เมื่อนำสมุนไพรมาตรวจสอบเอกลักษณ์ทางเคมีซึ่งแสดงภาพโครมาโทแกรมภายใต้แสงขาว แสงยูวี 254 นาโนเมตร และแสงยูวี 366 นาโนเมตร และคำนวณค่า Rf ของแถบสารที่ตรวจพบในแต่ละคลื่นแสงดังนี้ (1) เมล็ดโกฐกะกลิ้ง ไม่พบแถบแยกที่แสงขาวและแสงยูวี 254 นาโนเมตร ขณะที่ความยาวคลื่น 366 นาโนเมตร มีค่า Rf 2 แถบ (2) ใบทองพันชั่ง มีค่า Rf จำนวน 7, 14, 19 แถบ ตามลำดับ (3) ใบชุมเห็ดเทศ มีค่า Rf จำนวน 11, 17, 15 แถบ ตามลำดับ (4) ใบพลู มีค่า Rf จำนวน 8, 16, 18 แถบ ตามลำดับ และ (5) ใบราชพฤกษ์ มีค่า Rf จำนวน 7, 10, 13 แถบ ตามลำดับ ผลการศึกษานี้ถือเป็นแนวทางการตรวจสอบพันธุ์พืชสมุนไพรในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเป็นต้นแบบพันธุ์สมุนไพรที่มีคุณภาพและเพิ่มมูลค่าพืชสมุนไพรไทยให้กับชุมชนท้องถิ่นต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์วุฒิสภา. (2554). รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่องปัญหาของพืชสมุนไพร. สำนักกรรมาธิการ 1, สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, กรุงเทพฯ. 78 หน้า.

ซาฟาวี มะแม, นัสรีย์ แวมะ, มูฮําหมัดเปาซี คาเร็ง, อนัส เบ็ญจมาตร, ศิริรัตน์ ศรีรักษา และ พิรุณรัตน์ แซ่ลิ้ม. (2565). การศึกษาความคงตัวและฤทธิ์เบื้องต้นของสารสกัดจากตํารับสมุนไพรไทยในการต้านเชื้อจุลชีพที่ก่อโรคบนผิวหนัง. วารสารหมอยาไทยวิจัย, 8(1), 115-128.

ณัฐชยา ด้วงรัก และ ธงชาติ ทรัพย์จอมทอง. (2560). คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพของสมุนไพรกำแพงเจ็ดชั้น. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 59(2), 94-103.

ธิดารัตน์ บุญรอด, อภิรักษ์ ศักดิ์เพ็ชร และ ภูริทัต รัตนสิริ. (2551). คุณภาพของวัตถุดิบและยาขมิ้นชันและฟ้าทะลายโจรที่ใช้ในโรงพยาบาลภูมิภาค. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 6(1), 32-42.

ธิดาพร ธีระพงค์, สุรัสวดี ใจขาน, รัตนาภรณ์ ตรัยสถิตย์ และ ประไพรัตน์ สีพลไกร. (2564). เทคนิคโครมาโทกราฟีแบบผิวบางสำหรับการจัดจำแนกเห็ดซางฮวงป่า. น. 23-33. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม ครั้งที่ 3 ประจำปี 2564 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อชุมชน”. วันที่ 26 มีนาคม 2564. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, เลย.

ปนัดดา พัฒนวศิน, อุทัย โสธนะพันธุ์, ลาวัลย์ ศรีพงษ์, จันคนา บูรณโอสถ, จริยา อัครวรัณธร และ อรัญญา นันทนาภรณ์. (2561). โครมาโทกราฟแบบชั้นบางและการวิเคราะห์เชิงภาพเพื่อการวิเคราะห์เชิงปริมาณ. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, 13(1), 79-92.

พรพรรณ ก้อใจ, ศิวพงษ์ ตันสุวรรณวงค์ และ ยิ่งยง เทาประเสริฐ. (2562). ภูมิปัญญาในการตรวจสอบพืชสมุนไพรอย่างร่วมสมัย. น. 840-845. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6, วันที่ 20 กรกฎาคม 2562. มหาวิทยาลัยภาคะวันออกเฉียงเหนือ, ขอนแก่น

มนัสนันท์ นพรัตน์ไมตรี, สิรวิชญ์ ศรีตุลานนท์, สรัณกร คูณขาว, รภัทร์ คนชาน, ออมสิน สระโพธิ์ทอง, สรณฐ โชตินิพัทธ์, ภูธฤทธิ์ วิทยาพัฒนานุรักษ์ รักษาศิริ, จินดา กลิ่นอุบล, ชาญชัย อรรคผาติ และ อรวรรณ เชาวลิต. (2564). วิธีการวัดสีของภาพถ่ายเป็นเครื่องมือทางเลือกสำหรับการประเมินสีเนื้อไก่. สัตวแพทย์มหานครสาร, 16(1), 147-158.

วัชรมาศ ม่วงแก้ว, ธิตินันท์ กิติสิน, สันต์ สุวรรณมณี, ยุวดี มหาคุณกิจเจริญ และ นัฏฐเนศวร์ ลับเลิศลบ. (2558). ความสามารถของไนซินต่อการยับยั้งจุลชีพ. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 22(2), 15-23.

วิชัย โชควิวัฒน. (2557). คุณภาพของสมุนไพร. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 2(2), 84-91.

ศิวพงษ์ ตันสุวรรณวงค์, นภาพร ณ อุโมงค์, พรพรรณ ก้อใจ และ จินตนา นันต๊ะ. (2566). การตรวจสอบมาตรฐานพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ยาที่ดี กรณีศึกษาเมล็ดชุมเห็ดไทย. วารสารหมอยาไทยวิจัย, 9(1), 115-130.

สำนักงานปลัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่องหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการจัดหลักสูตรสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อ วันที่ 27 ตุลาคม 2566, จาก https://cwie.mhesi.go.th.

สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กองประกอบโรคศิลปะ. (2541). ตำรายาแพทย์แผนโบราณ สาขาเภสัชกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย.

สุนันทา ศรีโสภณ, จันคนา บูรณะโอสถ และ อุทัย โสธนะพันธุ์. (2559). การพิสูจน์เอกลักษณ์ของเครื่องยาจันทน์ชะมดด้วยวิธีโครมาโทกราฟีแบบชั้นบาง. วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์, 11(1), 47-57.

อัจฉรา ดลวิทยาคุณ, สุรีย์ ชมภู และ จุฑารัตน์ ผิวเหลือง. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เจลลี่เสาวรสผสมฟักข้าว. วารสารการเกษตรราชภัฏ, 16(1), 41-47.