การใช้สารปรับปรุงดินจากโรงบำบัดขยะทางกลและชีวภาพของเทศบาลนครอุดรธานีในการปลูกดาวเรือง

Main Article Content

อรรจนา ด้วงแพง
ดรุณี พวงบุตร
โฉมยง ไชยอุบล
เยาวพล ชุมพล
วชิราวุธ พิศยะไตร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการหมักสารปรับปรุงดินด้วยจุลินทรีย์ EM และระดับการใส่สารปรับปรุงดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ลูกผสมเทวี วางแผนการทดลองแบบ Factorial in Randomized Complete Block Design (RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ ทำการทดลองในสภาพกระถาง และกำหนดให้ปัจจัย A คือ การหมักสารปรับปรุงดินด้วยจุลินทรีย์ EM มี 2 ระดับ : 1) การหมักสารปรับปรุงดินด้วยจุลินทรีย์ EM และ 2) การไม่หมักสารปรับปรุงดิน ปัจจัย B คือ อัตราการใส่สารปรับปรุงดินในดินผสม มี 2 ระดับ : 1) อัตราการใส่สารปรับปรุงดิน 200 ก. ต่อดินผสม 5 กก. และ 2) อัตราการใส่สารปรับปรุงดิน 400 ก.ต่อ ดินผสม 5 กก. และทรีตเมนต์ควบคุม คือ ดินผสม 5 กก. จากการศึกษาพบว่าสารปรับปรุงดินจากโรงบำบัดขยะทางกลและชีวภาพของเทศบาลนครอุดรธานีมีลักษณะคล้ายคลึงกับปุ๋ยอินทรีย์ มีปริมาณอินทรียวัตถุค่อนข้างสูง มีปริมาณธาตุอาหารหลักเป็นไปตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมพัฒนาที่ดิน สารปรับปรุงดินจากโรงบำบัดขยะทางกลและชีวภาพของเทศบาลนครอุดรธานีสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปลูกดาวเรืองได้ ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นดาวเรืองในทุกลักษณะทำให้ต้นสูงขึ้น ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น มีจำนวนกิ่งแขนงเพิ่มขึ้น และเพิ่มผลผลิตให้กับดาวเรือง ทำให้จำนวนดอกต่อต้นมากขึ้น ดอกขนาดใหญ่ขึ้น น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งเฉลี่ยต่อดอกสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับทรีตเมนท์ควบคุม การนำสารปรับปรุงดินมาใช้ประโยชน์ในการปลูกดาวเรืองนั้นไม่จำเป็นต้องหมัก สามารถนำไปใส่ได้เลย อัตราการใส่สารปรับปรุงดินที่เหมาะสม คือ อัตรา 200 ก. ต่อดินผสม 5 กก. หรือประมาณ 2,000 กก.ต่อไร่ เป็นระดับที่เพียงพอต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตให้กับดาวเรือง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2547). คู่มือการทำปุ๋ยหมักจากขยะมูลฝอย. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 16 หน้า.

กรมควบคุมมลพิษ. (2552). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2552. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 4, 268 หน้า.

กรมพัฒนาที่ดิน. (ม.ป.ป.). มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง) ของกรมพัฒนาที่ดิน. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566, จาก http://www1.ldd.go.th/ldd/Fertilizer/organic_Fertilizer.pdf.

กรีนเอิร์ธ. (ม.ป.ป.). สารปรับปรุงดิน. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.greenearthinnovation.com.

ทวีพงศ์ สุวรรณโร, เอกวัฒน์ จันทรวงศ์ และ เรณู ดอกไม้หอม. (2545). การปลูกดาวเรือง. กรมส่งเสริมการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 19 หน้า.

ธงชัย มาลา. (2546). ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ. ภาควิชาปฐพีวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

นพมาศ นามแดง, เลิศพงษ์ มั่นวงศ์, ธิติมา มั่นวงศ์ และ อารีรัตน์ ลุนผา. (2565). อิทธิพลของปุ๋ยเคมี ปุ๋ยมูลม้า และปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยมูลม้าต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตดอกดาวเรือง. น. 54-64. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ.วิจัย ครั้งที่ 16. 11-12 กรกฎาคม 2565. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.ubu.ac.th/web/files_up/00008f2022090117165337.pdf.

นวลปรางค์ ไชยตะขบ และ ธงชัย มาลา. (2548). ผลของปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุเหลือทิ้งของโรงงานผงชูรสที่มีต่อการเจริญเติบโตของดาวเรือง. น. 507-515. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 43, สาขาพืช, วันที่ 1-4 กุมภาพันธ์ 2548, กรุงเทพฯ.

พัชรี สิริตระกูลศักดิ์, กาญแก้ว แซ่จ้าว, สกุลกานต์ สิมลา, มงคล วงศ์สวัสดิ์, และ สำเร็จ สีเครือดง. (2561). ผลของปุ๋ยหมักเติมอากาศต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของดาวเรือง. แก่นเกษตร, 46(ฉบับพิเศษ 1), 1211-1216.

ยงยุทธ โอสถสภา. (2543). ธาตุอาหารพืช. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รัตนชาติ ช่วยบุดดา และ บุศรินทร์ แสวงลาภ. (ม.ป.ป.). คู่มือการวิเคราะห์ดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน. เอกสารวิชาการสำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน, กรมพัฒนาที่ดิน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566, จาก https://e-library.ldd.go.th/library/Ebook/bib10134.pdf.

ศิราณี วงศ์กระจ่าง. (2560). ผลของการใช้ปุ๋ยหมักวัสดุอินทรีย์จากป่าพรุต่อการเจริญเติบโตของดาวเรือง. การเกษตรราชภัฏ, 16(1), 54-59.

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (อุดรธานี). (2565). รายงานผลการศึกษาการคัดแยกขยะมูลฝอย สถานที่กำจัดขยะเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.mnre.go.th/reo09/th/information/ more/425.

อรรณพ คณาเจริญพงษ์, อรวรรณ ฉัตรสีรุ้ง, สุรเทพ เทพลิขิตกุล, ใจศิลป์ ก้อนใจ และ สมพร ชุนห์ลือชานนท์. (2546). ผลของวัสดุปลูกต่อการเติบโตและผลผลิตของดอกดาวเรือง. วารสารเกษตร, 19(2), 153-159.

Owen, W. G., Henry, J., and Whipker, B. E. (2019). Nutritional Monitoring: Marigolds (Tagetes erecta & T. patula). e-GRO Alert, Retrieved November 13, 2023 from https://www.e-gro.org/pdf/2017_641.pdf.