การเจริญเติบโตของยอดเปราะภูอ่างขาง (CAULOKAEMPFERIA APPENDICULATA K.LARSEN & TRIBOUN) พืชเฉพาะถิ่นของไทยในสภาพปลอดเชื้อ

Main Article Content

บัณฑิตา เพ็ญสุริยะ
น้ำฝน ชาชัย
มนัสชนก เกตกลางดอน
พงศกร นิตย์มี
เรวัตร จินดาเจี่ย
สุรสิทธิ์ วงษ์สัจจานันท์
จรรยา มุ่งงาม
เตชิตา ปิ่นสันเทียะ
ปราโมทย์ ไตรบุญ
จักรกฤษณ์ ศรีแสง

บทคัดย่อ

เปราะภูอ่างขางเป็นพืชหายากและพืชถิ่นเดียวของไทย มีดอกที่สวยงาม เป็นหนึ่งในสมาชิกของพืชสกุลเปราะภูที่มีความหลากหลายมากกว่า 30 ชนิด การขยายพันธุ์พืชสกุลเปราะภูในสภาพธรรมชาติส่วนมากจะขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อ และกระจายพันธุ์ด้วยเมล็ด การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถเพิ่มปริมาณต้นพันธุ์พืชเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างรวดเร็ว การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์เปราะภูอ่างขางในสภาพปลอดเชื้อ โดยดำเนินการฟอกฆ่าเชื้อเมล็ดเปราะภูอ่างขางในสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ที่ความเข้มข้น 5 และ 10 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เพาะเมล็ดบนอาหารสังเคราะห์สูตร Murashige and Skoog (MS) ดัดแปลง ศึกษาการเจริญเติบโตของยอดเปราะภูอ่างขางที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม Benzyladenine (BA) ความเข้มข้น 0, 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0 มก./ล. เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ผลการศึกษา พบว่า อาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 1.5-2.0 มก./ล. ชักนำยอดเปราะภูอ่างขางได้สูงสุด 5.05-6.00 ยอด/ต้น ความยาวรากและจำนวนรากมีแนวโน้มลดลงเมื่อเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้นสูงขึ้น โดยจากการทดลองนี้ พบว่า การขยายพันธุ์เปราะภูอ่างขางในสภาพปลอดเชื้อสามารถเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA 1.5-2.0 มก./ล. 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิราภรณ์ ผุดผ่อง, สุรพล แสนสุข และ ปิยะพร แสนสุข. (2558). การขยายพันธุ์เปราะราศี (Kaempferia larsenii Sirirugsa) ในหลอดทดลองเพื่อการอนุรักษ์พืชหายากในประเทศไทย. วารสารวิจัย มข, 43(4), 673–687.

สุรพล แสนสุข. (2554). พืชถิ่นเดียวและพืชหายากวงศ์ขิง-ข่าในประเทศไทย. วารสารวิจัย มข, 16(3), 306–330.

สุมนทิพย์ บุนนาค, ปิยะดา ธีระกุลพิศุทธิ์, ประวีณา มณีรัตนรุ่งโรจน์, ดวงกมล ตั้งพงษ์ และ จิรภัทร จันทะพงษ์. (2549). การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเปราะภู (Caulokaempferia thailandica Larsen). วารสารวิจัย มข, 11(2), 97–102.

ดวงกมล ทองอร่าม, วุฒิพงศ์ มหาคำ และ คทาวุธ นามดี. (2548). การจำแนกพืชสกุล Caulokaempferia K.Larsen (พืชวงศ์ขิง) โดยการวิเคราะห์สายสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการจากข้อมูลทางชีววิทยาระดับโมเลกุล. วารสารวิจัย มข, 10(1), 5–12.

บัณฑิตา เพ็ญสุริยะ, น้ำฝน ชาชัย, มนัสชนก เกตกลางดอน, พงศกร นิตย์มี, พงษ์ศักดิ์ แก้วศรี, ภัทรา ประทับกอง, ปราโมทย์ ไตรบุญ และ จักรกฤษณ์ ศรีแสง. (2565). การเจริญเติบโตในสภาพปลอดเชื้อของยอดเปราะภูภูหลวง (Caulokaempferia phuluangensis Picheans. & Mokkamul) พืชถิ่นเดียวของไทย. น. 43–46. ใน: งานประชุมวิชาการนวัตกรรมการเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ ครั้งที่ 1. 18-19 สิงหาคม 2565. คณะทรัพยากรธรรมชาติ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Chaiyoot, A. (2007). Morphology and molecular study of the genus Caulokaempferia in Thailand and Laos. (Master Thesis, Khon Kaen University).

Larsen, K. (2002). Three new species of Caulokaempferia (Zingiberaceae) from Thailand with a discussion of the generic diversity. Nordic Journal of Botany, 22(4), 409–417.

Larsen, K., Suksathan, P., & Triboun, P. (2004). Further studies in the genus Caulokaempferia (Zingiberaceae) in Thailand with the description of two new species. Nordic Journal of Botany, 23(4), 401–406.

Murashige, T., & Skoog, F. (1962). A revised medium for rapid growth and bioassays with tobacco tissue cultures. Physiologia Plantarum, 15(3), 473–497.

Ngamriabsakul, C. (2008). Caulokaempferia sirirugsae sp. nov. (Zingiberaceae) from Southern Thailand. Nordic Journal of Botany, 26, 325–328.

Phokham, B., Intharapichai, K., Wongsuwan, P., & Picheansoonthon, C. (2015). Caulokaempferia pubescens (Zingiberaceae) - A new species from Northern Thailand. Taiwania, 60(2), 77–80.

Picheansoonthon, C., & Koonterm, S. (2008). Three new species of the yellow-flowered Caulokaempferia (Zingiberaceae) from Northeastern Thailand. Taiwania, 53(3), 248–257.

POWO. (2023). Caulokaempferia larsenii Suksathan & Triboun. Retrieved February 18, 2023 from https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names: 60431190-2.

Rai, P. K., & Lalramnghinglova, H. (2010). Lesser known ethno medicinal plants of Mizoram, North East India: An Indo-Burma hotspot region. Journal of Medicinal Plants Research, 4(13), 1301–1307.

Saensouk, P., Saensouk, S., & Pimmuen, P. (2018). In vitro propagation of Globba schomburgkii Hook. f. via bulbil explants. Walailak Journal of Science and Technology, 15(10), 701–710.

Suksathan, P., & Triboun, P. (2004). A new species of Caulokaempferia (Zingiberaceae) from Thailand. Edinburgh Journal of Botany, 60(3), 513–516.

Wang, Y., Zhang, D., Renner, S. S., & Chen, Z. (2004). A new self-pollination mechanism. Nature, 431, 39–40.

Wongsuwan, P., Phokham, B., Yupparacha, P., & Picheansoonthon, C. (2020). A new Caulokaempferia (Zingiberaceae) from Northeast Thailand. Journal of Japanese Botany, 95(6), 321–326.