การจัดชั้นคุณภาพและช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวที่มีผลต่อลักษณะทางกายภาพ และคุณภาพผลพุทราพันธุ์นมสด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดชั้นคุณภาพ และช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวที่มีผลต่อลักษณะทางกายภาพและคุณภาพผลพุทราพันธุ์นมสดในพื้นที่อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ในปี พ.ศ. 2561/2562 โดยทำการศึกษาในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตปี ดำเนินการในสวนพุทราของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ วางแผนการทดลองแบบ completely randomized block design (RCBD) โดยการจัดชั้นคุณภาพผลดำเนินการสุ่มผลในเดือนธันวาคม 2561 แบ่งออกเป็น 4 ชั้นคุณภาพ ได้แก่ ขนาดใหญ่พิเศษ (Jumbo), ขนาดใหญ่ (A), ขนาดกลาง (B) และขนาดเล็ก (C) และศึกษาผลของช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวในชั้นคุณภาพผล A, B และ C ใน 3 ช่วงเวลา คือ เดือนธันวาคม 2561, มกราคม 2562 และกุมภาพันธ์ 2562 ผลการศึกษา พบว่าพุทรามีผลชั้นคุณภาพ Jumbo น้อยที่สุด (3.28%) แต่มีผลชั้นคุณภาพ C มากที่สุด (47.13%) ซึ่งการเปรียบเทียบลักษณะทางกายภาพพบว่า ผลชั้นคุณภาพ Jumbo มีน้ำหนักผล เนื้อผล และเมล็ด มากกว่าผลชั้นอื่นๆ แต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติของเปอร์เซ็นต์ส่วนที่รับประทานได้ ส่วนผลชั้นคุณภาพ C มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (total soluble solid, TSS) ต่ำที่สุด (P<0.05) แต่ผลชั้นคุณภาพ Jumbo มีปริมาณกรดที่ไตเตรทได้ (titratable acid, TA) สูงที่สุด (P<0.05) ทำให้ผลชั้นคุณภาพ Jumbo มีสัดส่วน TSS/TA ต่ำที่สุด (P<0.01) ส่วนการศึกษาด้านช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวพบว่าในทุกชั้นคุณภาพพุทราที่มีการเก็บเกี่ยวในช่วงต้นฤดูกาล (เดือนธันวาคม)
มีคุณภาพผลดีกว่าช่วงเดือนอื่นๆ
Article Details
References
กรมพัฒนาที่ดิน. (2563). แผนนที่กลุ่มชุดดิน มาตราส่วน 1:25,000 ค้นเมื่อ ธันวาคม 2564. http://eis.ldd.go.th/SoilView.aspx.
จรรยา สัตตานุสรณ์, ไชยธีระ พันธุ์ภักดี และ สุกัลยา เชิญขวัญ. (2563). ลักษณะทางสังคมนิเวศที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกพุทราในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารเกษตรพระวรุณ. 17(2): 333-348.
สุภัทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา, รำไพ นามพิลา และ สมยศ มีทา. (2563). การจัดการธาตุอาหารและน้ำตามความต้องการของพุทราอย่างแม่นยำ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, กรุงเทพฯ.
Abdel-Sattar, M., Almutairi, K. F., Al-Saif, A. M., & Ahmed, K. A. (2021). Fruit properties during the harvest period of eleven Indian jujube (Ziziphus mauritiana Lamk.) cultivars. Saudi Journal of Biological Sciences, 28, 3424–3432.
Anjum, M. A., Rauf, A., Bashir, M. A., & Ahmad, R. (2018). The evaluation of biodiversity in some indigenous Indian jujube (Zizyphus mauritiana) germplasm through physico-chemical analysis. Acta Scientiarum Polonorum Hortorum Cultus 17(4), 39–52.
A.O.A.C. (1990). Official Methods of Analysis. 15th edition, Arlington, Virginia, Association of Official Agricultural Chemists, Inc.
Azam-Ali, S., Bonkoungou, E., Bowe, C., deKock, C., Godara, A, & Williams, J. T. (2006). Ber and other jujubes, In: Williams, J., T., Smith, R.W., Haq, N., & Dunsiger, Z. (2006). Fruits for the Future. 2 Edition, International Centre for Underutilized Crops, University of Southampton, Southampton, UK.
Galindo, A., Noguera-Artiaga, L., Cruz, Z., Burl´o, F., Hern´andez, F., Torrecillas, A., & Carbonell-Barrachina, ´A. (2015). Sensory and physico-chemical quality attributes of jujube fruits as affected by crop load. LWT - Food Science and Technology, 63, 899–905.
Isarangkool Na Ayutthaya, S., Kawphaitoon, S., & Techawongstien, S. (2019). Effect of crop load on fruit size and nutrients in fruit parts of mango ‘Num Dok Mai Sithong’. Acta Horticulturae. 1244: 101-107.
Islam, M. N., Molla, M. M., Nasrin, T. A. A., Uddin, A. S. M. M., & Kobra, K. (2015). Determination of maturity indices of ber (Zizyphus mauritiana Lam.) var. barikul-2. Bangladesh. Journal of Agricultural Research, 40(1), 163–176.
Ma, Y., Zhang, D.;Wang, Z., Song, L. & Cao, B. (2021). Fruit Morphology Measurements of Jujube Cultivar ‘Lingwu Changzao’ (Ziziphus jujuba Mill. cv. Lingwuchangzao) during Fruit Development. Horticulturae, 7, 26.
Niyanut, S., Nampila, R., Techawongstien, S., Isarangkool Na Ayutthaya. S., & Meetha, S. (2021). The impact of harvest time on the quality of Indian jujube ‘Nomsod’ produced in northeastern Thailand. Acta Horticulturae, 1312, 493-497.