ความชุกและปัจจัยของการติดพยาธิในเลือดในโคนมพื้นที่สหกรณ์โคนวาริชภูมิ จำกัด

Main Article Content

ธีระกุล นิลนนท์
ปราณปรียา ทอดทอง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยของการติดพยาธิในเลือด รวมถึงตรวจประเมินค่าเม็ดเลือดแดงอัดแน่นในโคนม ออกแบบการศึกษาด้วยวิธีการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (cross sectional study) สุ่มเก็บตัวอย่างเลือดโคนม จำนวน 275 ตัว จากทั้งหมด 55 ฟาร์ม ในพื้นที่สหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จำกัด อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ตรวจหาการติดพยาธิในเลือดด้วยวิธีทำฟิล์มเลือดบาง (Thin blood smear) ย้อมสีด้วย Giemsa-stained หาค่าเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (packed cell volume; PCV) ด้วยวิธี Hematocrit centrifugation technique ผลการศึกษา พบโคติดพยาธิในเม็ดเลือดจำนวน 107 ตัว (38.90%) แบ่งเป็น Anaplasmaspp 75 ตัว คิดเป็น (79.09%) จำแนกเป็น A.marginale 40 ตัว คิดเป็น (53.33%), 
A.centrale 35 ตัว (46.67%) Babesiaspp 32 ตัว (29.90%) ได้แก่ B.bigemina และพบการติดพยาธิมากกว่า 1 ชนิด จำนวน 12 ตัว คิดเป็น (11.21%) โดยไม่พบการติดพยาธิชนิด Trypanosomespp,Theileriaspp.โคที่ติดพยาธิในเลือดจำนวน 107 ตัว พบค่า PCV อยู่ในช่วง 16% - 35% และมีค่าเฉลี่ยของ PCV เท่ากับ 27.07% โดยโคกลุ่มติดเชื้อที่มีค่า PCV ต่ำกว่าค่าปกติ จำนวน 13 ตัว (12.15%) ฟาร์มที่เคยมีประวัติติดโรคพยาธิในเลือดมีความเสี่ยงติดพยาธิในเลือดซ้ำ 5.02 เท่า (OR = 5.02) เมื่อเทียบกับฟาร์มที่ไม่เคยมีประวัติการติดพยาธิในเลือด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) การศึกษาครั้งนี้บ่งชี้ว่า สถานการณ์การติดพยาธิในเลือดในโคนม ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 มีความชุกระดับปานกลางและก่อให้เกิดภาวะโลหิตจางในปานกลาง 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ สิงห์อาสา, สุชวัล พรสุขอารมณ์, ดลฤทัย ศรีทะ, จเร อุดมยิ่ง, ยุวดี คงภิรมย์ชื่น, ธนกฤต จันทร์คง, ปองพล ทองเสงี่ยม, และ ณัฐกมล ช่างศรี. (2563). การศึกษาหาความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้ออนาพลาสมาและบาบีเซียในแพะเนื้อและโคเนื้อในพื้นที่พรมแดนไทย-กัมพูชา. สัตวแพทย์มหานครสาร, 15(1), 1-11.

มาณวิกา ผลภาค, และ สาทิส ผลภาค. (2556). การติดเชื้อทริปปาโนโซมา อีแวนซายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ, 8(2), 32-55.

รุริรัตน์ วรสิงห์, และ สุธี รัตนะ. (2548). ปรสิตในทางเดินอาหารและในเลือดโคที่ตรวจพบในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. น. 329-338. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 45, สาขาสัตว์และสัตวแพทยศาสตร์. วันที่ 30 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550, กรุงเทพมหานคร.

Fadly, R. S. (2012). Prevalence of blood parasites of some farm animals at Behera province. Assiut Veterinary Medical Journal, 58(134), 316-322.

Fielder, S. E. (2022). Hematology Reference Ranges. MSD veterinary manual. Retreved March 31, 2023 from https://www.msdvetmanual.com/special-subjects/reference-guides/serum-biochemical-analysis-reference-ranges.

Mamoudou, A., Payne, V. K., and Sevidzem S. L. (2015). Hematocrit alterations and its effects in naturally infected indigenous cattle breeds due to Trypanosoma spp. on the Adamawa Plateau – Cameroon. Veterinary World, 8(6), 813–818.

Simking, P., Yatbantoong, N., Saetiew, N., Saengow, S., Yodsri, W., Chaiyarat, R., Wongnarkpet, S., Jittapalapong, S. (2014). Prevalence and risk factors of Babesia infections in cattle trespassing natural forest areas in Salakpra Wildlife Sanctuary, Kanchanaburi Province. The Journal of Tropical Medical and Parasitology, 37, 10-9.

Tabor, A. E. (2022). Anaplasmosis in Ruminants. MSD veterinary manual. Retrieved April 1, 2023 from https://www.msdvetmanual.com/circulatory-system/blood-parasites/anaplasmosis-in-ruminants.